degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

ภูมิแพ้ตัวเอง : Autoimmune หมายถึง การที่ภูมิคุ้มกันร่างกายเข้าทำร้ายเนื้อเยื่อร่างกายของตัวเอง เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวสูญเสียความทรงจำ ไม่สามารถแยกแยะเนื้อเยื่อตัวเองออกจากสิ่งแปลกปลอม จึงหลงผิดเข้าจู่โจมและทำร้ายเนื้อเยื่อตนเอง ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนโครงสร้างของเนื้อเยื่อและอวัยวะถูกทำลายเสียหายและทำงานไม่ได้ในที่สุด บางครั้งเรียก โรคภูมิต้านตนเอง

สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัด โรคภูมิแพ้ตัวเองมีอยู่หลายชนิดขึ้นกับลักษณะการเกิดโรค อวัยวะที่ถูกทำลาย และอาการแสดงต่างๆ บางชนิดจะทำลายเฉพาะอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งเท่านั้น บางชนิดจะทำลายอวัยวะหลายระบบพร้อมกัน

คลินิกโรคข้อและภูมิแพ้ตัวเอง โรงพยาบาลขอนแก่นราม ให้บริการดูแลรักษาโดยอายุรแพทย์ด้านโรคข้อและรูมาติสซั่ม ซึ่งเชี่ยวชาญในการดูแลรักษาโรคกลุ่มภูมิแพ้ตัวเองที่เกิดกับหลายระบบพร้อมกัน เช่น โรคเอสแอลอี โรคหนังแข็ง โรคกล้ามเนื้ออักเสบ เป็นต้น

อาการของโรคข้อและโรคภูมิแพ้ตัวเอง

มีการอักเสบของข้อและร่างกายทั้งระบบ อาการได้แก่

  • ปวด บวม แดง ร้อน และกดเจ็บบริเวณข้อ
  • ข้อที่อักเสบได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ ข้อโคนนิ้วมือ ข้อนิ้วมือส่วนต้น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อโคนนิ้วเท้า
  • ฝืดขัดข้อ และขยับข้อลำบากในตอนเช้า
  • พบปุ่มรูมาตอยด์ร้อยละ 17-25
  • อาการอื่นๆ เช่น ไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตาอักเสบ ปากแห้ง ปอดเป็นพังผืด
  • อาการจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

เกิดจากภาวะที่มีกรดยูริกในร่างกายสูง และมีการตกผลึกของกรดยูริกภายในข้อและอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สังเกตอาการได้ดังนี้

  • มีอาการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณหลังข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อเข่า หรือข้ออื่นๆ อาการเป็นๆ หายๆ
  • ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสาเหตุต่างๆ เช่น ทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง หรือดื่มแอลกอฮอล์ ข้อที่อักเสบจะบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ถ้าไม่ได้รับการรักษา การอักเสบจะถี่ขึ้น จำนวนวันที่อักเสบนานขึ้น เป็นหลายข้อพร้อมกันและกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง ทำให้ข้อผิดรูปและข้อเสียอย่างถาวรได้
  • ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดนิ่วในไตได้ร้อยละ 20 และมีโอกาสไตวายได้ประมาณร้อยละ 10

เป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองชนิดที่พบบ่อยที่สุด อาการผิดปกติที่เข้าข่ายโรคเอสแอลอี ได้แก่

  • มีไข้ไม่ทราบสาเหตุเป็นเวลานาน
  • มีอาการปวดบวมตามข้อเรื้อรัง
  • มีผื่นแดงขึ้นบริเวณใบหน้า หรือมีผื่นคันบริเวณที่ถูกแสงแดด ผิวไวต่อแสงแดด
  • ผมร่วงมากผิดปกติ
  • มีบวมตามแขน ขา หรือมือ
  • รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนแรง ฯลฯ

เกิดจากการแข็งของผิวหนัง มีเนื้อเยื่อพังผืดแทรกอยู่ในชั้นผิวหนังและอวัยวะภายในมากผิดปกติ มีอาการได้แก่

  • ผิวหนังสีคล้ำและตึงขึ้น บางคนไม่สามารถกำแบมือได้เต็มที่
  • ปลายนิ้วมือมีสีม่วง หรือคล้ำเนื่องจากผิวหนังขาดออกซิเจนเมื่อสัมผัสความเย็น
  • ผู้ป่วยร้อยละ 80 มีอาการกลืนลำบาก เจ็บเวลากลืน หรือมีกรดไหลย้อน หรือหลอดอาหารอักเสบ
  • พบอัตราการเกิดโรคที่หัวใจได้ร้อยละ 30-80 กล้ามเนื้อหัวใจเกิดพังผืด
  • พบโรคไตร้อยละ 10-40 มีอาการปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง และหรือตามัวเฉียบพลัน

มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหลายมัดพร้อมกัน เช่น ต้นแขน ต้นขา กล้ามเนื้อหลอดอาหาร อาการสำคัญ ได้แก่

  • มักเริ่มต้นด้วยขาอ่อนแรง ตามด้วยกล้ามเนื้อแขนอ่อนแรง ทำให้ยกแขนหยิบของสูงไม่ได้ ถ้าเป็นที่กล้ามเนื้อต้นคอจะยกศีรษะจากหมอนลำบาก
  • อาจมีปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะหลังออกกำลังกาย กลืนอาหารลำบาก สำลักน้ำออกจมูก และสำลักอาหารเข้าปอดได้
  • ผื่นสีออกม่วงบริเวณรอบดวงตาโดยเฉพาะเปลือกตาบน พบได้ 50%
  • ปวดข้อ หรือข้ออักเสบหลายๆ ข้อ
  • อาจพบอาการหอบเหนื่อยได้จากการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อระหว่างซี่โครง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ

ยาที่ใช้รักษาโรคภูมิแพ้ตัวเอง แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ดังนี้

  1. ยาที่ใช้บรรเทาอาการ เช่น ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ : NSAIDs
  2. ยาที่ใช้ทดแทนฮอร์โมน หรือสารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้
  3. ยากดภูมิคุ้มกัน ใช้เพื่อควบคุมโรคไม่ให้อวัยวะของร่างกายถูกทำลายเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไป ตัวอย่างเช่น ยาสเตียรอยด์ที่ใช้ควบคุมไตอักเสบจากโรคเอสแอลอี

ตลอดขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น แพทย์จะนัดติดตามดูอาการและเจาะเลือดตรวจเป็นระยะ โดยแพทย์จะลดขนาดยาลงเมื่อเห็นว่าสามารถควบคุมโรคได้ดีแล้ว แต่จะต้องกินยาไปนานเพียงใดนั้น ขึ้นกับชนิดของโรคและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย


เบอร์โทร

โทร : 043-002-002 ต่อ 2720 , 2730

เวลาทำการ

เปิดบริการ ทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น.

สถานที่ตั้ง

อาคาร 2 ชั้น 2

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม
Terms And Conditions
Linea