ในร่างกายของคนเราระบบทางเดินอาหารประกอบด้วย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี และตับอ่อน ซึ่งล้วนแล้วเป็นอวัยวะที่สำคัญ ถ้าเมื่อใดที่อวัยวะเหล่านี้มีความผิดปกติ โรคที่เป็นนั้นอาจเป็นโรคร้ายได้ ฉะนั้นต้องรีบรักษาก่อนที่จะสายเกินไป คลินิกโรคทางเดินอาหารและตับรพ.ขอนแก่น ราม เปิดให้บริการโดยมีทีมแพทย์เฉพาะทางไว้คอยให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยดังต่อไปนี้
- โรคระบบทางเดินอาหาร
- โรคตับ
- การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น)
- การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย (ลำไส้ใหญ่)
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารที่พบได้ เช่น
- โรคของหลอดอาหาร เช่น กรดไหลย้อน มะเร็งหลอดอาหาร
- โรคของกระเพาะอาหาร เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ แผลกระเพาะอาหาร เลือดออกในกระเพาะอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร
- โรคของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ เช่น แผลในลำไส้ ลำไส้อักเสบ ติ่งเนื้อในลำไส้ เลือดออกในลำไส้ ลำไส้แปรปรวน มะเร็งลำไส้ใหญ่
- โรคตับและทางเดินน้ำดี
- ตับอักเสบ จากสาเหตุต่างๆ เช่น สุรา ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี
- ตับแข็ง จากสาเหตุต่างๆ
- เนื้องอกในตับ มะเร็งตับ
- นิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในท่อน้ำดี ดีซ่าน ท่อน้ำดีอักเสบ
- มะเร็งท่อน้ำดี
การให้บริการของคลินิกโรคทางเดินอาหารและตับ
- ตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางเดินอาหาร
- ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
- ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนบน (Gastroscopy)
- ส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย (Colonoscopy)
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคไวรัสตับอักเสบเอ บี
เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษา
- การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย โดยการดื่มหรือฉีดสารทึบสี
- การตรวจ Barium swallowing เป็นการตรวจดูการกลืนและการสำลัก ตรวจดูความผิดปกติของหลอดอาหาร
- การตรวจ Upper GI เป็นการตรวจดูระบบการกลืนอาหาร หลอดอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารทั้งหมดและลำไส้เล็กส่วนต้น
- การตรวจ Long GI เป็นการตรวจดูระบบการกลืนอาหาร ตรวจดูกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กทั้งหมด ดูการอักเสบของลำไส้เล็กและความผิดปกติอื่นๆ
- การตรวจ BE : Barium Enema ตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่
- การทำอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)
เช่น อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนและส่วนล่าง ตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ภายในช่องท้อง ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ม้าม ไต การเตรียมตัวก่อนตรวจ ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
- การถ่ายภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan)
- การตรวจหาภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori
ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แผลกระเพาะอาหาร แผลลำไส้เล็กส่วนต้น และเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกระเพาะอาหาร ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น
5.1 Urea breath test
ซึ่งขั้นตอนการตรวจไม่ต้องส่องกล้อง แต่เป็นการเก็บลมหายใจเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ การเตรียมตัวคือ
- งดอาหารและเครื่องดื่มก่อนตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมงเพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง
- งดอาหารประเภทที่มีสารยูเรีย เช่น แอลกอฮอล์ น้ำอ้อย น้ำสับปะรด เป็นต้น
- งดสูบบุหรี่
- งดยาปฏิชีวนะก่อนตรวจอย่างน้อย 4 สัปดาห์ หรือตามคำสั่งแพทย์
5.2 Stool HP Ag โดยการตรวจอุจจาระ
5.3 ส่องกล้องกระเพาะอาหารตัดชิ้นเนื้อ ทดสอบเชื้อ H.pylori
- GI Endoscopy
การส่องกล้องหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและการรักษา (หยุดเลือดออกในทางเดินอาหาร)
- Gastroscopy
การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น) - Sigmoidoscopy
การส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย - Colonoscopy
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ - EVS,EVL (Endoscopic Variceal treatment)
การรักษาเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร โดยการฉีดยาหรือรัดเส้นเลือดขอดผ่านการส่องกล้อง - PEG (Percutaneous Endoscopic Gastrostomy)
การใส่สายให้อาหารผ่านทางหน้าท้องเข้ากระเพาะอาหารโดยการส่องกล้องเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าตัด
- FNA (Fine Needle Aspiration), Liver biopsy
การดูดหรือตัดชิ้นเนื้อที่ตับมาตรวจ กรณีมีฝีในตับ เนื้องอกในตับ หรือโรคตับอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุ