คลินิกมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลขอนแก่น ราม ให้บริการรักษาโรคมะเร็งเริ่มตั้งแต่การป้องกัน การตรวจคัดกรอง การวินิจฉัย การรักษา การติดตามผลการรักษา การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และการดูแลในวาระสุดท้าย
เราใส่ใจดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดครบทุกด้าน มีการวางแผนร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และทีมสหวิชาชีพโดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
คลินิกมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลขอนแก่นราม มีทีมแพทย์เฉพาะทาง เครื่องมือที่ทันสมัย และการรักษาใหม่ๆ ที่พร้อมจะดูแลให้ท่านมีความปลอดภัยสูงสุด และสามารถมีความสุขกับคนในครอบครัวได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี โรคมะเร็งที่พบได้บ่อย เช่น
- มะเร็งปอด
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งลำไส้
- โรคมะเร็งปากมดลูก
- โรคมะเร็งตับ
- โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
- โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
- โรคมะเร็งท่อน้ำดี
- โรคมะเร็งผิวหนัง
- โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- โรคมะเร็งกระดูก เป็นต้น
อาการผิดปกติต่างๆ ดังต่อไปนี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันที
- มีเลือดออกผิดปกติบริเวณตำแน่งต่างๆ เช่น ทวารหนัก ปากมดลูก
- เริ่มรู้สึกว่ากลืนอาหารลำบาก หรือรู้สึกเสียดแน่นท้องบ่อยๆ
- เมื่อปัสสาวะสีแดงปนเลือด
- ถ่ายอุจจาระสีดำ หรือมีมูกเลือดปน
- เสียงเริ่มแหบ และไอเรื้อรัง
- ไอเป็นเลือด
- เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นในร่างกายแล้วแผลหายช้า หรือเป็นแผลเรื้อรัง
- เมื่อคลำพบก้อนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- เมื่อไฝ หูด หรือปานในร่างกายตามส่วนต่างๆ เริ่มเปลี่ยนแปลง เช่น ใหญ่ขึ้น หรือสีเปลี่ยน
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ทานอาหารได้น้อย
การบริการของเรา
1. การตรวจคัดกรองมะเร็ง
1.1 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม มีวิธีการตรวจคัดกรองดังนี้
- การตรวจโดยวิธีคลำโดยแพทย์ผู้ชำนาญ ตรวจปีละ 1 ครั้ง
แต่หากก้อนที่เต้านมขนาดเล็กอาจไม่สามารถตรวจพบได้ - การตรวจโดยใช้เครื่องดิจิตอลแมมโมแกรม (Digital Mammogram)
เป็นการตรวจโดยใช้การถ่ายภาพรังสีเต้านมโดยเฉพาะ โดยจะมีการถ่ายภาพเต้านมในหลายๆ ด้าน แล้วนำมาประมวลผล ซึ่งผลการตรวจแมมโมแกรมจะสามารถแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติภายในเต้านม เช่น ก้อนเนื้อ เยื่อพังผืด แม้แต่หินปูนขนาดเล็ก ซึ่งอาจแสดงถึงการเกิดมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้นได้
การเตรียมตัวก่อนการตรวจแมมโมแกรม
- เวลาที่เหมาะสมควรหลีกเลี่ยงการตรวจแมมโมแกรมในช่วงสัปดาห์ก่อนที่จะมีประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่หน้าอกคัดตึงและขยาย อาจช่วยให้เจ็บหน้าอกน้อยลง
- ผู้ที่มีการเสริมหน้าอกต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า
- การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรมควรเริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 45 ปี และควรทำประจำทุกๆ ปีในผู้ที่มีความเสี่ยงปกติ
1.2 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยการตรวจภายในและ Pap Smear
การตรวจ Pap Smear แพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะทำการนำเซลล์จากปากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติ หรือเซลล์ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้
ช่วงอายุที่ต้องมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- อายุ 21 – 29 ปี แนะนำให้ตรวจอย่างสม่ำเสมอทุกปี
- อายุ 30 – 69 ปี แนะนำให้ตรวจอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ปี
หากก่อนหน้าให้ผลปกติติดต่อกัน 3 ครั้ง - อายุ 70 ปีขึ้นไป อาจไม่มีความจำเป็นต้องตรวจคัดกรอง
เมื่อการตรวจ 3 ครั้งหลังและ 10 ปีที่ผ่านมาผลการตรวจปกติ
กลุ่มเสี่ยงที่ต้องตรวจภายในทุกปี
- มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย และเคยมีคู่นอนหลายคน
- มีคู่ขาที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและมีคู่นอนหลายคน
- เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งปากมดลูก
- เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก
- เป็นโรคหูดหงอนไก่
- สูบบุหรี่
- ติดเชื้อ HIV
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
- ควรนัดตรวจในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
- ห้ามสวนล้างช่องคลอดก่อนการตรวจ
- ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอดก่อนการตรวจ
- งดมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง
1.3 การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีวิธีการคือ
การตรวจโดยวิธีส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กโค้งงอ สามารถบันทึกภาพและเห็นความผิดปกติต่างๆ ในลำไส้ใหญ่ได้ เช่น ติ่งเนื้อ การอักเสบในลำไส้ เป็นต้น และหากพบความผิดปกติสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำมาวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการได้
การส่องกล้องตรวจควรทำในผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรัง
- ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน อาจเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ
- เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนัก และมีเลือดออก
- มีการแน่นอึดอัดท้อง ท้องอืด และปวดท้องร่วมด้วย
- ตรวจพบมีภาวะโลหิตจาง และมีภาวะขาดธาตุเหล็ก
- มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
- ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจโดยการส่องกล้องทุกๆ 10 ปี
การเตรียมตัวก่อนตรวจการตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
- 3 วันก่อนตรวจ ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย
- งดรับประทานผัก ผลไม้และอาหารที่มีเส้นใย
- รับประทานยาระบายให้ตรงตามจำนวน และเวลา ตามที่แพทย์สั่ง เพื่อเตรียมลำไส้ ก่อนทำการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
- คืนวันก่อนตรวจ งดอาหารและน้ำดื่มจนกว่าจะทำการตรวจ
ในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่นั้นสามารถทำได้ทั้งแบบผู้ป่วยนอกและนอนโรงพยาบาล ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยขณะนั้นและการวินิจฉัยจากแพทย์
1.4 การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก
ตรวจคัดกรองโดยการตรวจขนาดต่อมลูกหมากด้วยมือ ร่วมกับการตรวจค่า PSA จากเลือด ควรเริ่มตรวจในผู้ชายที่
- อายุระหว่าง 45 -75 ปี ร่วมกับค่า PSA สูงมากกว่า 3 ควรมีการเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด
- อายุมากกว่า 75 ปี และ มีค่า PSA สูงมากกว่า 4 ควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดและตรวจ
1.5 การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด
ตรวจคัดกรองโดยตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอด (CT Scan) โดยใช้ปริมาณความเข้มรังสีน้อย (Low dose CT) แนะนำให้ทำการตรวจในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงคือ
- อายุระหว่าง 55-74 ปี และ มีประวัติสูบบุหรี่มากกว่า 30 pack-year และหยุดสูบบุหรี่น้อยกว่า 15 ปี
- อายุมากกว่า 50 ปี และมีประวัติสูบบุหรี่มากกว่า 20 pack-year
แนะนำให้ตรวจด้วย CT Chest แบบใช้ปริมาณความเข้มของรังสีน้อย และปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้คำแนะนำและตรวจรักษาอย่างเหมาะสม