degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

การสลายนิ่วด้วยด้วยเลเซอร์ คืออะไร ?

การสลายนิ่วด้วยเลเซอร์ เป็นกระบวนการรักษานิ่วในท่อไต โดยการส่องกล้องเพื่อค้นหาก้อนนิ่ว ร่วมกับการใช้ลำแสงเลเซอร์ทำลายก้อนนิ่วให้แตกสลายเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วหยิบออกมา และนิ่วที่เหลือบางส่วนก็จะหลุดไหลออกมาพร้อมกับปัสสาวะ

การสลายนิ่วด้วยเลเซอร์ เป็นวิธีที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด ไม่ต้องเจาะเนื้อไต มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง เสียเลือดน้อย ความเจ็บปวดน้อยและฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น


การสลายนิ่วด้วยเลเซอร์ ใช้รักษานิ่วในส่วนไหนได้บ้าง ?

ใช้รักษานิ่วที่ติดอยู่ในท่อไต (ท่อไต คือท่อที่เชื่อมต่อระหว่างไตและกระเพาะปัสสาวะ) หรือนิ่วที่อยู่ใกล้กับกระเพาะปัสสาวะ

ขั้นตอนการสลายนิ่วด้วยเลเซอร์

  1. ก่อนการรักษาแพทย์จะใช้วิธีดมยาสลบ
  2. จากนั้นแพทย์จะส่องกล้องขนาดเล็ก (Ureteroscopy) ผ่านเข้าทางท่อปัสสาวะ เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะจนถึงท่อไต จนกว่าจะถึงก้อนนิ่ว แล้วใช้ลำแสงเลเซอร์ทำลายก้อนนิ่วให้แตกสลายเป็นชิ้นเล็กๆ
  3. หลังจากนั้นโดยส่วนใหญ่แพทย์จะใส่สายสวนท่อไต (Stent) ไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าไตจะสามารถระบายน้ำปัสสาวะและเศษนิ่วเล็กๆ ออกได้โดยสะดวก แล้วจึงนัดผู้ป่วยมาทำการถอดสายสวนท่อไตออกโดยวิธีการส่องกล้องกระเพาะปัสสาวะ
  4. ขั้นตอนการรักษาใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง หรืออาจนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของนิ่ว
  5. เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการสลายนิ่วแล้ว ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปที่ห้องพักฟื้นประมาณ 2 ชั่วโมง และย้ายขึ้นห้องพักผู้ป่วยต่อไป โดยนอนพักในรพ.ประมาณ 1-2 วัน แพทย์ก็จะพิจารณาให้กลับบ้านได้

ต้องเตรียมตัวยังไงก่อนสลายนิ่วด้วยเลเซอร์ ?

  • งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
  • แจ้งแพทย์กรณีมีโรคประจำตัว และงดรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนทำการรักษา

หลังสลายนิ่วด้วยเลเซอร์ ควรดูแลร่างกายอย่างไร ?

  • 1-2 วันแรก ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมที่หนักจนเกินไป
  • มาพบแพทย์ตามนัด
  • เมื่อมีอาการปัสสาวะไม่ออกหรือน้อยลงกว่าเดิม มีไข้ หรือหนาวสั่น ควรรีบมาพบแพทย์

การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการกลับเป็นนิ่วซ้ำ

  1. ดื่มน้ำสะอาดวันละ 2 –3 ลิตร
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสมและรับประทานผักให้มาก งดหรือลดการรับประทานเนื้อสัตว์หรือรับประทานเนื้อปลาทดแทน
  3. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ของหมักดอง เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักและไตทำงานลดลง
  4. อกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 20-30 นาทีทุกวัน จะช่วยป้องกันการตกตะกอนที่ทำให้เกิดนิ่วได้


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม