จากข้อมูลกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-18 พ.ค. 63
มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศ 13,006 ราย เสียชีวิต 10 ราย โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบอัตราป่วยสูงสุด กลุ่มอายุที่พบอัตราป่วยมากสุดคือ 10-14 ปี (อัตราป่วย 69.81 ต่อประชากรแสนคน) รองลงมาคือ 5-9 ปี (54.20) และ 15-19 ปี (50.84)
ส่วนจังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ ระยอง ชัยภูมิ ขอนแก่น อ่างทอง และราชบุรีตามลำดับ
สังเกตอาการต่อไปนี้ อาจเป็นไข้เลือดออก
- มีไข้สูงลอย เกินกว่า 2 วัน หน้าแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร
- อาการเลือดออก เช่น จุดเลือดออกตามตัว เลือดออกตามไรฟัน ถ่ายดำ
- ตับโต กดเจ็บใต้ชายโครงขวา
- ภาวะช็อก มักเกิดช่วงไข้ลด มีอาการปวดท้อง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
- ป้องกันยุงกัด โดยนอนในมุ้ง ทายากันยุง สวมเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว
- ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเก็บบ้านให้สะอาด เก็บขยะใส่ถุงก่อนนำไปทิ้งลงถังขยะ ปิดฝาตุ่มน้ำ คว่ำภาชนะและกลบหลุมบ่อที่มีน้ำขัง ใช้ทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ศูนย์อายุรกรรม
ให้บริการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคด้วยการใช้ยาในผู้ใหญ่ รวมถึงการบริการให้คำปรึกษา การป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้การดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ ทีมอายุรแพทย์ ทีมแพทย์เฉพาะทาง และบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ พร้อมด้วยอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แม่นยำและรวดเร็ว เพื่อการรักษาที่ได้มาตรฐานและเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
อ่านเพิ่มเติมบทความสุขภาพ
- ไข้เลือดออกภัยร้ายจากยุงลาย
- ปริมาณเชื้อ COVID-19 ที่ไหนเยอะสุด?
- แนะนำการไอ จามที่ถูกวิธี
- COVID-19 VS ไข้หวัดใหญ่ อาการต่างกันอย่างไร?
- 6 ขั้นตอน ล้างมือให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันไวรัสโคโรนา
- กินอย่างไร เมื่อเป็นโรคเกาต์ ?
- ไข้หวัดใหญ่ - Influenza
- การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)
- "มะเร็ง" คืออะไร ? อะไรคือ "มะเร็ง"
- โรคอุจจาระร่วง
- รู้ทันโรคเบาหวาน
- โรคหลอดเลือดสมอง
- วัคซีนในผู้ใหญ่ ฉีดไว้เพิ่มภูมิคุ้มกัน
- โรคหัดเยอรมัน
- วิธีการสวมใส่ "หน้ากากอนามัย" ให้ถูกวิธี