degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

ผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีผลแทรกซ้อนทางตา สามารถส่งผลร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้ ภาวะเบาหวานที่ส่งผลกระทบกับดวงตานี้เรียกว่า “เบาหวานขึ้นจอตา”

เบาหวานขึ้นจอตา Diabetic Retinopathy

ผู้ที่เป็น "เบาหวานที่มีผลแทรกซ้อนทางตา สามารถส่งผลร้ายแรงถึงขั้นตาบอดได้" ภาวะเบาหวานที่ส่งผลกระทบกับดวงตานี้เรียกว่า เบาหวานขึ้นจอตา ส่วนใหญ่จะขึ้นตาเมื่อเป็นเบาหวานนานเกิน 5 ปี และถ้าเป็นมา 20 ปีจะขึ้นตาเกือบทุกราย

ปัจจัยเสี่ยงขึ้นอยู่กับ

  • ระยะเวลาที่เป็นเบาหวานยิ่งนานโอกาสขึ้นตายิ่งมาก
  • ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงและแกว่งตัวค่อนข้างมาก
  • โรคทางกาย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคไต ฯลฯ
  • ตั้งครรภ์จะทำให้เบาหวานขึ้นตาเร็วขึ้น

อาการ และการรักษา

  • ในระยะที่ยังไม่รุนแรง ถ้าตายังไม่มัวให้มาตรวจกับจักษุแพทย์เป็นระยะทุก 6 เดือน ถ้าตามัวจากจอประสาทตาส่วนกลางให้ฉีดยา Steroid หรือ Bevacizumab หรือ ฉายเลเซอร์
  • ในระยะที่เป็นรุนแรง จะมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 3 อย่าง ดังนี้
    1. เลือดออกในน้ำวุ้น เห็นเลือดสีแดงลอยไปมาจากการแตกของเส้นเลือดเกิดใหม่
    2. พังผืดดึงจอตา อาจทำให้จอตาฉีกขาดเป็นรู
    3. จอตาลอกตัว

ถ้ามีอาการในข้อ 2,3 ต้องผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายน้ำวุ้น เลาะพังผืด และฉายเลเซอร์

การรักษาเบาหวานขึ้นจอตาในระยะแรกๆ จะได้ผลดีกว่าปล่อยให้เป็นมากแล้วรักษา ผู้ป่วยจะต้องมีความตั้งใจ อดทนและมาตามแพทย์นัด

ในส่วนของโรงพยาบาลขอนแก่นราม จะมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยที่ช่วยการตรวจและรักษา ได้แก่

  • Indirect Ophthalmoscopy
  • Digital Fundus Camera
  • Fundus Fluorescein Angiogram (FFA)
  • Argon Laser 532 Carl Zeiss
  • Accurus Vitrectomy
  • Optical Coherence Tomogram (OCT)
  • Binocular Indirect Ophthalmomicroscope with Wide Field Lens

ภาวะเบาหวานขึ้นจอตา สามารถวินิจฉัย และรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเครื่องมือการตรวจ และการรักษาที่มีในปัจจุบัน ดังนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานทุกคนควรได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยที่สุดปีละ 1 ครั้ง

หากแพทย์ตรวจพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นที่จอตา แพทย์จะนัดตรวจติดตามต่อเนื่อง หรือพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมตามระยะโรคที่ตรวจพบ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้




แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม