degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

Radial Shock Wave Cov2

ปวดเรื้อรัง ออฟฟิศซินโดรม เอ็นอักเสบ ไหล่ติด รองช้ำ นิ้วล็อค หายได้ ไม่ต้องผ่าตัด...ด้วย “Radial ShockWave”


แรง ลึก ถึงจุดเจ็บ โดยไม่ทำให้เจ็บแสบ หรือระบมที่ผิว..อย่างที่คุณคิด

คลื่นกระแทกยิงผ่านเสื้อผ้าได้ สะดวก ประหยัดเวลา แก้ปัญหาตรงจุด

เครื่องให้การรักษาด้วยคลื่นกระแทก หรือช็อคเวฟ (Radial shock wave Therapy) เกิดจากแรงอัดอากาศปริมาณสูง (Pneumatic compression or ballistic type) โดยคลื่นจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็วเหนือเสียง (Acoustic wave) ทำให้เกิดพลังกดอัดที่มีลักษณะเฉพาะ


ประโยชน์ของเครื่อง Radial shock wave

Radial shock wave จะส่งพลังงานผ่านชั้นผิวหนังลงไปถึงบริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อได้ลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร เมื่อผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อส่งผลให้เกิดผลทางชีวภาพในเนื้อเยื่อ (Biological effects) ได้แก่

  • กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • กระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และยับยั้งกระบวนการอักเสบ ส่งผลให้ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และจุดกดเจ็บเกิดการผ่อนคลาย
  • กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
  • ช่วยสลายหินปูนในเส้นเอ็น
  • เพิ่มและเร่งกระบวนการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น โดยเกิดการกระตุ้นการอักเสบใหม่ในผู้ป่วยที่มีภาวะปวดเรื้อรัง



shockwave1

รูปแสดงความลึกของ Shock Wave


อาการที่ควรได้รับการรักษาด้วยเครื่องช็อคเวฟ

  1. เส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อศอกอักเสบ-Tennis elbow, เอ็นหัวไหล่อักเสบ-Shoulder tendinitis, เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ-Plantar fasciitis, ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ-De-Quervain’s Tenosynovitis, เส้นเอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ-Tendon calcification
  2. กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เช่น ปวดบ่าเรื้อรัง ปวดหลังเรื้อรัง ออฟฟิศซินโดรม-Office syndrome, อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด Myofascial pain syndrome;MPS
  3. อื่นๆ ได้แก่ พังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ-Carpal tunnel syndrome;CTS, ข้อเสื่อมอักเสบ –Osteoarthritis, นิ้วล็อค-Trigger finger, ข้อไหล่ติดจากเยื่อหุ้มข้ออักเสบ-Capsulitis)
ข้อห้าม
  1. บริเวณที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจ-Pacemaker
  2. ผิวหนังที่เป็นแผล
  3. ผู้มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า-Hemophilia
  4. บริเวณที่มีเนื้องอกมะเร็ง
  5. ไม่ควรใช้ในเด็ก
  6. สตรีมีครรภ์
  7. ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก
ข้อควรระวัง
  1. ไม่ควรใช้เทคนิคแบบจ่อบริเวณปอด
  2. หลีกเลี่ยงบริเวณกล้ามเนื้อต้นคอและหลังใบหู เพราะอาจกระตุ้นให้เกิดภาวะหูอื้อได้

ผลข้างเคียง

อาจรู้สึกล้า หรือระบมในบริเวณที่ได้รับการรักษา ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการประคบเย็นหลังทำ




© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม