เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ Tennis Elbow
เป็นการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างด้านนอก ทำให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณข้อศอกด้านนอกเวลาขยับหมุนข้อศอก สะบัดข้อมือขึ้นแรงๆ หรือกำสิ่งของในมือ เช่น ลักษณะของการตีลูกเทนนิสแบ็คแฮนด์ ส่วนใหญ่จึงพบในผู้ที่เล่นเทนนิส และอาชีพที่มีการกระดกข้อมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน
การป้องกัน Tennis Elbow
วิธีการป้องกันขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยป้องกันการบาดเจ็บในเบื้องต้นได้ดังนี้
- ออกกำลังกายบริหารข้อมือและแขนเป็นประจำ เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวแขนและข้อมือในอิริยาบถเดิมๆ เป็นเวลานาน ควรหยุดพักเป็นระยะ
- พยายามกระจายการใช้แรงไปยังหัวไหล่หรือต้นแขนที่มีกล้ามเนื้อมัดใหญ่กว่า หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
- ก่อนทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้แขนบ่อยๆ ควรอบอุ่นร่างกายและยืดกล้ามเนื้อทุกครั้งเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในระหว่างที่เล่นกีฬา
- เลือกอุปกรณ์การเล่นกีฬาที่เหมาะสม น้ำหนักเบา และใช้ท่าทางการเล่นที่ถูกต้อง
- ผู้ที่เคยมีอาการ Tennis Elbow ควรเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาเดิมๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวด หากไม่สามารถเลี่ยงได้ก็ควรเลือกวิธีที่สร้างแรงกดให้กับกล้ามเนื้อน้อยที่สุด
การรักษาโรคเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ Tennis Elbow ทางกายภาพบำบัด
เลเซอร์กำลังสูง
- ลดอาการ ปวด บวม อักเสบของเนื้อเยื่อ
- เร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ
- เพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่มีอาการ
นักกายภาพบำบัดกำลังใช้เครื่อง High Power Laser
อัลตร้าซาวด์
- ลดอาการ ปวด บวม อักเสบของเนื้อเยื่อ
- เร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ
- ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็ง
- เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อและข้อต่อในชั้นลึก
- เพิ่มการไหลเวียนเลือดในบริเวณที่ทำการรักษา
นักกายภาพบำบัดกำลังใช้เครื่อง Ultrasound
ประคบเย็น
- ทันทีเมื่อมีอาการ ความเย็นจะทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้ลดอาการปวดและอักเสบ
ประคบร้อน
- หลังมีอาการ 48-72 ชั่วโมง หรือเมื่อหายจากการอักเสบแล้ว
- ช่วยผ่อนคลายและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อ
- ลดอาการปวด
- หลอดเลือดขยายตัว กระตุ้นการไหลเวียนเลือดได้ดีขึ้น
- กระตุ้นการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อที่มีอาการบาดเจ็บ
- ออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความเข็งแรงของกล้ามเนื้อ และยืดกล้ามเนื้อกลุ่มเหยียดข้อมือ มีประโยชน์ดังนี้
- ลดอาการปวด
- ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- เพิ่มความยืดหยุ่นของเอ็นและกล้ามเนื้อ
- ทำให้กลับมาใช้งานแขนและข้อมือได้อย่างเป็นปกติ
ท่าออกกำลังกายที่ได้ผล สำหรับ Tennis Elbow
1. Eccentric Wrist Extension
2. Eccentric Hammer Supination
3. Wrist Extension Stretch
4. Rubber Band Finger Extension
หลักการบริหารกล้ามเนื้อสำหรับ Tennis Elbow
- ควรบริหารข้อมือ ข้อศอก ให้กล้ามเนื้อยืดเหยียดได้เต็มที่ก่อนการซ้อมหรือการเล่นทุกครั้ง
- บริหารกล้ามเนื้อแขนสม่ำเสมอทุกวัน เช่น บีบสปริงมืออย่างอ่อนๆ หรือบีบลูกบอลนิ่มๆ ยกดัมเบลขนาดเบาเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวและยืดเหยียดตัว และหมุนข้อมือให้แข็งแรง
- การบริหารต้องเริ่มต้นทีละน้อย ค่อยๆ เพิ่มขึ้นและสม่ำเสมอ ถ้ามีอาการผิดปกติระหว่างการบริหารต้องหยุดพัก
ท่าออกกำลังกาย สำหรับลดอาการปวดแขนท่อนล่าง Tennis Elbow

กภ.กุลญาณ์ภาส์ เคนคำภา

กภ.นภิสา ธรานนท์

กภ.สาวิตรี ห่วงรัตน์

กภ.ปณิตา ธรรมนิธิศ

กภ.พิรุณวรรณ สิริวชิรชัย

กภ.ณัฐมล สาตมุณี
คุกกี้และความเป็นส่วนตัว
เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย