degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย หรือส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก


ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก Colonoscopy

คือการใช้กล้องส่องลำไส้ใหญ่ที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กยาว และโค้งงอได้ โดยแพทย์จะส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ส่วนกลาง ส่วนต้น และลำไส้เล็กส่วนปลาย ซึ่งภาพจะปรากฏบนจอทีวี และสามารถเก็บรายละเอียดภายในลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด จึงให้ความถูกต้องแม่นยำในการตรวจรักษา

แพทย์สามารถดำเนินการตรวจรักษาได้หลายอย่างผ่านทางกล้องนี้ เช่น การตัดติ่งเนื้องอกผ่านทางกล้อง การสะกิดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์ หรือการหยุดเลือดที่ออกจากลำไส้ใหญ่ผ่านกล้อง

ใครบ้าง ควรทำการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ?

1.ผู้ที่มีอาการผิดปกติดังนี้
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
  • ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก
  • มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
  • มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
2.ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่
3.ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้

การเตรียมตัวส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทำอย่างไร ?

ก่อนการตรวจ

  • แพทย์จะเป็นผู้ออกบัตรนัดและการเตรียมตัวส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เรื่องการรับประทานอาหารและยาระบาย เพื่อให้ลำไส้สะอาดพร้อมสำหรับการส่องกล้องตรวจ
  • ให้พาญาติมาด้วย และหลังจากส่องกล้องไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยขับรถเอง เนื่องจากผู้ป่วยจะได้รับยาระงับความรู้สึก ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง

ระหว่างการตรวจ

  • ผู้ป่วยจะรู้สึกตึงๆ แน่นท้อง มวนท้องได้ระหว่างที่แพทย์ใส่กล้องเข้าไปในลำไส้ ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่มาก ในบางรายแพทย์จะให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการในระหว่างนั้น
  • โดยทั่วไประยะเวลาในการตรวจประมาณ 30 นาที

หลังการตรวจ

  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถรับประทานอาหารและทำกิจกรรมได้ตามปกติ
  • หลังการตรวจอาจจะมีลมและแน่นในท้องเล็กน้อย จากการที่แพทย์ใส่ลมไปในลำไส้ระว่างการตรวจ ซึ่งจะระบายลมออกหมดเองภายในเวลาไม่กี่นาที
  • ในผู้ป่วยที่ได้รับยานอนหลับระหว่างตรวจ จะได้รับการดูแลจนตื่นเป็นปกติ แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้
  • ห้ามขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • ให้สังเกตอุจจาระอาจมีเลือดปนเล็กน้อย ถ้ามีเลือดออกมากผิดปกติ หรือมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก ท้องแข็ง มีไข้สูง ให้รีบกลับไปพบแพทย์ทันทีไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม