เตือน !! โรคพิษสุนัขบ้า “หมาว้อ” โรคติดต่ออันตราย เสี่ยงตายอย่างทรมาน
“โรคพิษสุนัขบ้า” “โรคกลัวน้ำ”หรือ “โรคหมาว้อ” (ภาษาอีสาน) เป็นโรคติดเชื้อจาก Rabies virus เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี กระรอก กระแต เสือ หมี หนู ค้างคาว รวมถึงคนด้วย ในประเทศไทยพบมากที่สุดในสุนัขกว่า 95% รองลงมา คือ แมวและวัว
คนสามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ หากถูกสัตว์ที่เป็นโรค กัด ข่วน หรือเลียบาดแผล,รอยถลอก โดยโรคนี้มีระยะการระบาดได้ตลอดทั้งปี
อาการโรคพิษสุนัขบ้า
- ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีการอักเสบที่สมองและเยื่อสมองในระยะ 2-3 วันแรก อาจปวดเมื่อยตัว มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คันหรือปวดแสบบริเวณที่ถูกกัด
- อาการทางระบบประสาท จะเริ่มหงุดหงิด กระสับกระส่าย อาละวาด ไม่อยู่สุข จะมีอาการเช่นนี้ประมาณ 2-3 วัน จากนั้นจะเริ่มซึมเศร้า และมีอาการกลัว ทั้งไม่ชอบแสงสว่าง ลม เสียงดัง กลัวน้ำ
- ระยะสุดท้าย มีอาการเอะอะมากขึ้น สงบสลับกับชัก บางรายอาจเป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด
วิธีปฏิบัติเมื่อถูกสัตว์กัดหรือข่วน
- รีบลางแผลด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำสะอาด และสบู่หลายๆครั้ง
- เช็ดแผลด้วยแอลกฮอล์ 70% หรือด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
- กักสัตว์ไว้เพื่อดูอาการ
- ไปเข้าพบแพทย์ และรับการรักษาที่โรงพยาบาล
โรงพยาบาลขอนแก่นราม มีวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และทีมรักษาตามขั้นตอนที่ได้มาตรฐาน
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
- อย่าให้ถูกสุนัข หรือแมวกัด และอย่าให้สัตว์เลียมือเท้า เพราะคนมักติดเชื้อจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค
- พาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
- ควบคุมปริมาณสุนัขด้วยการทำหมันสุนัขทั้งตัวผู้ และตัวเมีย
ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉินและรถพยาบาล (ER)
วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ

ศูนย์อายุรกรรม
ให้บริการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคด้วยการใช้ยาในผู้ใหญ่ รวมถึงการบริการให้คำปรึกษา การป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้การดูแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ ได้แก่ ทีมอายุรแพทย์ ทีมแพทย์เฉพาะทาง และบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ พร้อมด้วยอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แม่นยำและรวดเร็ว เพื่อการรักษาที่ได้มาตรฐานและเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
อ่านเพิ่มเติม