degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (Total Hip Replacement)

ข้อสะโพกเสื่อม (Hip Osteoarthritis) เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุมากขึ้น การได้รับยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน สูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก เคยได้รับบาดเจ็บที่ข้อสะโพก หรือข้อเสื่อมจากการใช้งานหนัก

อาการข้อสะโพกเสื่อม ได้แก่ ข้อสะโพกติดขัด ก้มตัวลำบาก หรือเจ็บปวดเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

แพทย์จะทำผ่าตัดโดยการนำข้อสะโพกเดิมที่มีปัญหาออก แล้วแทนที่ด้วยข้อสะโพกเทียม โดยสามารถทำผ่าตัดเปลี่ยนหัวข้อสะโพกเทียมอย่างเดียว (Hip Hemiarthroplasty) หรือเปลี่ยนทั้งส่วนหัวและเบ้าข้อสะโพก (Total Hip Replacement)

โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก และกลับไปใช้ชีวิตได้เป็นปกติอย่างเดิม

ผู้ป่วยที่เหมาะสมจะผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

  • เจ็บปวดข้อสะโพกมาก จนจำกัดความสามารถในการเคลื่อนไหวและทำกิจวัตรประจำวัน
  • ต้องรับประทานยาแก้ปวดต่อเนื่องทุกวัน
  • รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด ฉีดยา หรือทานยาอย่างเต็มที่แล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  1. งดสูบบุหรี่ก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และภาวะแทรกซ้อนจากระบบไหลเวียนเลือด การติดเชื้อของแผลและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
  2. ควบคุมโรคประจำตัวให้ดี เช่น โรคเบาหวานซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ หรือโรคความดันโลหิตสูงซึ่งอาจทำให้เลือดออกมากในระหว่างผ่าตัด
  3. ปรึกษาแพทย์เพื่องดทานยาบางชนิด ได้แก่ ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ยารักษารูมาตอยด์ ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ รวมทั้งสมุนไพรและอาหารเสริมต่างๆ เพราะว่ายาเหล่านี้อาจส่งผลต่อการผ่าตัด เช่น เลือดแข็งตัวช้า เลือดออกมาก หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลังผ่าตัด หรืออาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้


© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม