degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)

การขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Circumcision)

การขริบหนังหุ้มปลาย เป็นเรื่องของการรักษาสุขอนามัยอวัยวะเพศได้ง่ายขึ้น เพราะปกติผิวหนังส่วนนี้จะมีการลอกของเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าขี้เปียก หากดูแลความสะอาดได้ไม่ดีอาจมีการหมักหมม และก่อให้เกิดการอักเสบที่ปลายอวัยวะเพศ หรือบางรายอาจมีการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

การขริบหนังหุ้มปลายสามารถทำได้ทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ หรือผู้ที่มีข้อบ่งชี้ด้านศาสนา เช่น ศาสนาอิสลาม และผู้ที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เช่น ผู้ที่หนังหุ้มปลายไม่เปิดหรือตีบ หนังหุ้มปลายหดรัดองคชาตจนทำให้บวมและเจ็บ ผู้ที่ปัสสาวะลำบาก หนังหุ้มปลายโป่งพองขณะปัสสาวะ หรือผู้ที่มีหูด เนื้องอก มีแผลและหนังหุ้มปลายอักเสบ เป็นต้น

ทำไม ผู้ชายทุกคน ควรขริบ ?

  • ดูแลรักษาความสะอาดได้สะดวกขึ้น
  • ป้องกันการเกิดภาวะหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตีบตัน
  • ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น มะเร็งองคชาต ปลายอวัยวะเพศอักเสบ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ลดการแพร่เชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเชื้อที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

วิธีการขริบหนังหุ้มปลาย

1.ขริบแบบดั้งเดิม

แพทย์จะฉีดยาชา แล้วใช้อุปกรณ์ผ่าตัดแบบปกติ คือกรรไกร หรือมีด รวมทั้งเครื่องจี้ไฟฟ้าเปิดหนังหุ้มปลายออก และทำการเย็บติดกัน ใช้เวลา 30 นาที - 1 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บเนื่องจากใช้เวลานาน และใช้เวลาพักฟื้นนาน

2.ขริบไร้เลือด (Stapler Circumcision)

เป็นเทคนิคการขริบแบบใหม่ที่ทำได้ง่าย มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานสูงในปัจจุบัน โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะฉีดยาชาที่องคชาต (ฉีดเข้าผิวหนัง) แล้วใช้เครื่องมือตัดอัตโนมัติ (Disposable Circular Stapler) ซึ่งสามารถทำการตัด เย็บ และห้ามเลือดได้ในเวลาเดียวกัน

การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะดีกว่าแบบดั้งเดิมคือ ใช้เวลาผ่าตัดที่เร็ว 15-20 นาที ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่เสียเลือด รอยการผ่าตัดสวยงามเรียบร้อย ลดอาการเจ็บได้มาก และสามารถทำแผลได้ง่ายจนผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากแผลได้เร็วใน 1 สัปดาห์


ขั้นตอนขลิบไร้เลือด

การเตรียมตัวก่อนขริบไร้เลือด

  • ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร
  • ดูแลสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศ
  • แจ้งโรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา และยาที่ใช้ประจำ
  • สวมใส่กางเกงที่ใส่สบาย ไม่รัดรูปมากเกินไป

การปฏิบัติตัวหลังขริบไร้เลือด

  • อย่าให้แผลโดนน้ำในช่วง 3 วันแรก หากแผลเปียกน้ำให้รีบเช็ดให้แห้งทันที
  • งดมีเพศสัมพันธ์ และงดกิจกรรมที่ต้องกดทับอวัยวะเพศ เช่น ขี่จักรยาน ในช่วง 1-2 เดือนแรก
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีหนองหรือเลือดไหล ปัสสาวะลำบาก แผลบวมขึ้น ควรกลับมาพบแพทย์ทันที

หมายเหตุ - ราคาตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธ.ค. 2567

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม