degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้

มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งมักจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้

วิธีการตรวจ

  1. ตรวจด้วยวิธี Pap smear เป็นวิธีตรวจแบบดั้งเดิม โดยสูตินรีแพทย์จะใช้เครื่องมือทำการป้ายเก็บเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกนำส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งได้

  2. หรือปัจจุบันตรวจด้วยวิธี Liguid-base cytology : LBC (Thin prep หรือ Liquid prep) พัฒนามาจากวิธีแปปสเมียร์ ซึ่งมีประสิทธิภาพและแม่นยำมากขึ้น ให้ผลละเอียดกว่าการตรวจด้วยวิธีแปปเสมียร์ วิธีนี้สูตินรีแพทย์จะใช้แปรงขนาดเล็กป้ายเก็บเซลล์เยื่อเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูก แล้วใส่ลงในน้ำยารักษาสภาพเซลล์ จากนั้นนำเข้าเครื่องอัตโนมัติเพื่อเตรียมเซลล์บนสไลด์แก้ว วิธีนี้จะใช้น้ำยามาช่วยกำจัดสิ่งปนเปื้อนหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่ไม่ใช่เซลล์มะเร็งออกไป หรือลดการซ้อนทับกันของเซลล์ที่หนาแน่นเกินไป ช่วยให้สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น

  3. ตรวจด้วยวิธีหา DNA สารพันธุกรรมของเชื้อ HPV เป็นการตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจคัดกรองมากขึ้น โดยบอกได้ว่ามีการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 หรือไม่ ซึ่งถ้าไม่มีการติดเชื้อก็สามารถมั่นใจได้ถึง 99% ว่าในช่วง 1-2 ปีที่รับการตรวจโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกจะน้อยมาก

“แนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป และผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกคน ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และตรวจภายในเพื่อค้นหาความผิดปกติต่างๆ ในอุ้งเชิงกรานอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV vaccine)”

ป้องกันด้วยวัคซีน HPV

การฉีดวัคซีนเอชพีวี (HPV vaccine) นอกจากจะป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้ว ยังสามารถป้องกันหูดหงอนไก่ มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งช่องปากและลำคอได้อีกด้วย

แม้ว่าจะได้รับวัคซีน HPV แล้ว ก็ยังแนะนำให้ตรวจภายใน และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ


การเตรียมตัว

  • ควรนัดตรวจมะเร็งปากมดลูกในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
  • ห้ามสวนล้างช่องคลอดก่อนการตรวจ
  • ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอดก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
  • งดมีเพศสัมพันธ์ก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง

* ราคาตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธ.ค. 2567

หมายเหตุ

  • ราคาตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธ.ค. 2567
  • อาจมีการเปลี่ยนแปลงราคาโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกสูตินรีเวช ชั้น G อาคาร 2 โทร. 043 002 002 ต่อ 1932 หรือศูนย์บริการข้อมูลสุขภาพ ต่อ 1905

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม