ระบบต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยฮอร์โมนจะถูกสร้างจากต่อมไร้ท่อและเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง อวัยวะในระบบต่อมไร้ท่อได้แก่ สมองส่วนไฮโปธาลามัส ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ตับอ่อน รังไข่ และอัณฑะ
โรคของต่อมไร้ท่อ ได้แก่
- โรคเบาหวานชนิดต่างๆ รวมถึงภาวะเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์
- โรคไทรอยด์ ได้แก่ ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำผิดปกติ ก้อนที่ต่อมไทรอยด์และมะเร็งไทรอยด์
- โรคอ้วน
- โรคไขมันในเลือดสูง
- โรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีอายุน้อย ผู้ที่มีความดันโลหิดสูงรุนแรง หรือพบร่วมกับภาวะเกลือแร่ผิดปกติ
- โรคกระดูกพรุนและความผิดปกติของแคลเซียม
- ความผิดปกติของฮอร์โมนทั้งการสร้างฮอร์โมนที่มากผิดปกติหรือภาวะพร่องฮอร์โมน ได้แก่ ฮอร์โมนต่อมใต้สมอง ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ฮอร์โมนจากตับอ่อน และฮอร์โมนเพศ
- ประเมินภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน รวมทั้งวิธีป้องกันโรคเบาหวาน
- ให้การรักษาและควบคุมระดับน้ำตาล เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
- ส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรักษาโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น
- ตรวจวินิจฉัยและรักษาเบาหวานขึ้นจอประสาทตา : Diabetic retinopathy โดยจักษุแพทย์ ด้วยการยิงเลเซอร์ : Panretinal photocoagulation ; PRP
- รักษาแผลที่เท้าจากเบาหวานโดยแพทย์ด้านศัลยกรรม
- ตัดรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
- อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคทางระบบประสาท โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
- ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน
- ให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับโรคเบาหวาน
- ให้บริการตรวจสุขภาพตามโปรแกรมสำหรับคัดกรองโรคเบาหวาน
- ตรวจระดับฮอร์โมนไทรอยด์และให้การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนหรือฮอร์โมนทดแทน
- อัลตร้าซาวด์ต่อมไทรอยด์และส่งตรวจทางเซลล์วิทยาด้วยเข็มขนาดเล็กในรายที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์
- ส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้
- ติดตามการรักษาหลังผ่าตัดต่อมไทรอยด์หรือการรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีน
- ตรวจวินิจฉัยสาเหตุของโรคอ้วน ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วนและให้การรักษา
- ให้ความรู้และคำแนะนำในการปรับอาหาร การปฏิบัติตัวและการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก
- ให้การรักษาด้วยยาลดน้ำหนักทางการแพทย์
- ติดตามการรักษาผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดลดน้ำหนัก
- ประเมินความเสี่ยงและตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน โดยการส่งตรวจมวลกระดูก
- ตรวจระดับแคลเซียม สมดุลเกลือแร่ในร่างกาย ระดับวิตามินดีสะสม หรือระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในรายที่มีข้อบ่งชี้
- ให้การรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยา
- ส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการผ่าตัดในกรณีที่มีข้อบ่งชี้
- ตรวจหาสาเหตุของความดันโลหิตสูงในผู้ที่มีอายุน้อย ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงรุนแรง หรือความดันโลหิตสูงที่พบร่วมกับภาวะเกลือแร่ผิดปกติโดยการส่งตรวจฮอร์โมน
- รักษาโรคความดันโลหิตสูงตามสาเหตุที่ตรวจพบด้วยการให้ยาลดความดันโลหิตหรือส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการผ่าตัดในกรณีที่มีข้อบ่งชี้
- ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของระดับฮอร์โมน
- ให้การรักษาด้วยยาต้านฮอร์โมนหรือฮอร์โมนทดแทน
- ให้คำแนะนำและส่งต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาโดยการผ่าตัดเมื่อมีข้อบ่งชี้
เบอร์โทร
โทร : 043-002-002 ต่อ 1500, 1501
เวลาทำการ
เปิดบริการ ทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น.
สถานที่ตั้ง
อาคาร 1 ชั้น G
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
โปรแกรมตรวจสุขภาพ Basic
อายุน้อยกว่า 25 ปี
โปรแกรมตรวจสุขภาพ Complete
อายุน้อยกว่า 30 ปี
ตรวจสุขภาพ Executive
อายุน้อยกว่า 35 ปี
ตรวจสุขภาพ ชาย Advance
ชาย อายุมากกว่า 35 ปี
ตรวจสุขภาพ หญิง Advance
หญิง อายุมากกว่า 35 ปี
ตรวจสุขภาพ ชาย Premium
ชาย อายุมากกว่า 45 ปี
ตรวจสุขภาพหญิง Premium
หญิง อายุมากกว่า 45 ปี
วัคซีนผู้ใหญ่
เมื่อซื้อร่วมกับ โปรแกรมตรวจสุขภาพ 9 โปรแกรม