degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

สะเก็ดเงินไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคเรื้อรัง พบได้บ่อยทั้งเพศชายและหญิง ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคเมื่ออายุยังน้อยจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคเมื่ออายุมาก และมีโอกาสที่จะมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้สูงอีกด้วย

โรคสะเก็ดเงิน Psoriasis

โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย ไม่ใช่โรคติดต่อแต่เป็นโรคเรื้อรัง พบได้บ่อยพอๆ กันทั้งเพศชายและหญิง อาการของโรคโดยเฉลี่ยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุ 27-29 ปี แต่อาจมีอาการเริ่มต้นของโรคได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อเข้าสู่วัยชรา ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคเมื่ออายุยังน้อยจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคเมื่ออายุมาก และมีโอกาสที่จะมีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วยสูง

สาเหตุ

  • ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด น่าจะเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกันได้แก่ พันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกันและปัจจัยกระตุ้นภายนอก
  • ปัจจัยแวดล้อมที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดโรค ได้แก่ การบาดเจ็บของผิวหนัง เช่น การขูดขีด การถู รอยถลอก หรือรอยแผลผ่าตัด หรือการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและเชื้อ HIV
  • การดื่มแอลกอฮอล์ทำให้ผื่นเห่อมากขึ้น ความเครียด การถอนยาสเตียรอยด์และยาหลายชนิดมีผลทำให้ผื่นกำเริบขึ้น เช่น ยาต้านมาเลเรีย ยาลดความดันชนิดต้านเบต้า ยาจิตเวช เช่น Lithium เป็นต้น

อาการ

  • พบความเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวหนัง เล็บ และข้อ
  • ลักษณะสำคัญคือ ผื่นขอบเขตชัดเจน มีขุยสีขาวหรือสีเงินหนาปกคลุมอยู่ใต้ขุย ผิวหนังมีสีแดงสม่ำเสมอกัน ขนาดของผื่นจะแตกต่างกันไป ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดจนถึงขนาดใหญ่มากปกคลุมทั้งลำตัว
  • อาจพบรอยโรคเป็นผื่นแดงทั่วตัว หรือตุ่มหนองเล็กๆ กระจาย และอาจรวมกันเป็นแผ่นหนองขนาดใหญ่
  • การเปลี่ยนแปลงของเล็บมีลักษณะเป็นรอยหลุมเล็กๆ และตื้นประมาณ 1 มม. ตัวเล็บแยกจากฐานเล็บ หรือใต้เล็บมี keratin หนา
  • มีข้ออักเสบได้ประมาณร้อยละ 5-8 ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินทุกชนิด

การรักษา

การรักษาเพื่อเป็นการควบคุมโรคให้สงบได้นาน ลดการอักเสบและผิวหนังที่ตกสะเก็ด ชะลอการเติบโตของเซลล์ผิวหนัง และขจัดผิวหนังที่เป็นแผ่นแข็ง ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางอาจรักษาด้วยการใช้ยาทาภายนอก กรณีอาการรุนแรงหรือมีอาการทางข้อร่วมด้วยแพทย์อาจรักษาด้วยการใช้ยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้น หรือการฉายแสงด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม