degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed


การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter monitor)

ในผู้ป่วยบางรายที่มารับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) แล้วไม่พบความผิดปกติ แต่ยังมีอาการที่น่าสงสัยว่าหัวใจอาจมีความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้ใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจชนิดติดตัว เมื่อติดตั้งเครื่อง Holter monitor เรียบร้อยแล้ว สามารถกลับไปพักที่บ้านหรือทำงานได้ตามปกติ เพื่อให้ทราบว่าการทำกิจกรรมต่างๆ ใน 24 ชั่วโมงของผู้ป่วย มีผลทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เมื่อครบตามกำหนดเวลาแล้วแพทย์จะนำข้อมูลไปวิเคราะห์ผลต่อไป

ใครควรตรวจ Holter monitor ?

  • ผู้ป่วยที่หมดสติโดยไม่มีสาเหตุ
  • มีอาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเป็นโรคหัวใจที่อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การเตรียมตัวก่อนตรวจ Holter monitor

ควรอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย เนื่องจากหลังติดเครื่องแล้วจะนำเครื่องออกไม่ได้จนกว่าการบันทึกจะเสร็จสิ้น

ขั้นตอนการตรวจ Holter monitor

  1. จนท.จะทำความสะอาดหรือโกนขนหน้าอกออกเพื่อติดแผ่นขั้วไฟฟ้า ซึ่งจะมีสายไฟเชื่อมต่อกับเครื่อง Holter monitor ขนาดประมาณ 3.5 x 2.5 นิ้ว
  2. เมื่อติดตั้งเครื่อง Holter monitor แล้ว แพทย์จะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะติดเครื่อง
  3. แพทย์จะนัดให้นำเครื่อง Holter monitor และบันทึกประจำวันที่ได้จดบันทึกไว้มามอบให้แก่แพทย์ เพื่อนำข้อมูลไปแปลผลประกอบการวินิจฉัยโรคต่อไป
ราคา 3,500 บาท *

*ราคานี้รวมค่าเครื่องมือและค่าแพทย์แล้ว
*ยังไม่รวมค่าบริการ

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม