degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

เป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยสอดเข้าไปทางรูจมูก ไม่มีแผลจากภายนอก

การรักษาไซนัส ด้วยวิธีการผ่าตัด แบบ Full House Fess



เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องเอนโดสโคป ซึ่งเป็นกล้องขยายที่มีขนาดเล็ก ดูบริเวณรอยโรคในโพรงจมูกและไซนัส แพทย์ผู้ผ่าตัดจึงเห็นบริเวณผ่าตัดได้ชัดเจน และใช้เครื่องมือผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น Microdebrider ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อการผ่าตัดนี้ สามารถตัดเนื้อเยื่อที่เป็นโรคที่ต้องการตัดได้ดี และเนื่องจากเป็นการผ่าตัดผ่านรูจมูกจึงไม่มีแผลผ่าตัดที่ผิวหนัง ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดน้อย เลือดออกน้อย หลังผ่าตัดเจ็บแผลน้อย สามารถหายใจทางจมูกได้ดี ฟื้นตัวเร็ว

C:\Users\User\Desktop\ไซนัส.jpg

การเตรียมตัวและขั้นตอนการผ่าตัด

  1. ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวก่อนผ่าตัด 1 วัน และนอนพักในรพ.หลังผ่าตัดประมาณ 1-2 วัน
  2. เป็นการผ่าตัดโดยการดมยาสลบ หรือฉีดยาชาเฉพาะที่ ซึ่งดูแลโดยวิสัญญีแพทย์และทีม
  3. การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1–3 ชั่วโมง ขึ้นกับความรุนแรงของโรค
  4. หลังการผ่าตัดแพทย์จะใส่วัสดุห้ามเลือดไว้ภายในโพรงจมูกประมาณ 24-48 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจต้องหายใจทางปาก
  5. หลังการผ่าตัด 24-48 ชั่วโมงแรก ควรนอนศีรษะสูง เพื่อลดอาการบวมและเลือดออกบริเวณที่ทำผ่าตัด
  6. หลังจากนำวัสดุห้ามเลือดในโพรงจมูกออก แพทย์จึงอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้

C:\Users\User\Desktop\ทบทวน ศูนย์ คลินิก ใหม่\ผ่าตัดไซนัส2.jpg

นอกจากการผ่าตัดส่องกล้องผ่านโพรงจมูกเพื่อรักษาโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้ว ยังรักษาโรคต่างๆ ในโพรงจมูกและไซนัสอื่นๆ ได้แก่ โรคริดสีดวงจมูก ผนังกั้นจมูกคด เนื้องอกของโพรงจมูก โรคที่ต้องผ่าตัดเพื่อลดความดันในกระบอกตา เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ซึ่งการผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคปจะช่วยให้เห็นภาพได้โดยตรง และชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้การประเมินพยาธิสภาพ และการรักษาโดยการผ่าตัดภายในโพรงจมูกและไซนัสเป็นไปได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำมากขึ้น

http://www.khonkaenram.com/system/comfy/cms/files/files/000/000/601/original/Microdebrider.jpg

เครื่องมือผ่าตัด Microdebrider


© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม