ต้อกระจก และเลนส์แก้วตาเทียม
รู้หรือไม่ ? ต้อกระจกเป็นสาเหตุการตาบอดอันดับ 1 ของประเทศ
ต้อกระจกคืออะไร ?
คือ เลนส์แก้วตาที่ขุ่นมัว จึงบดบังแสงที่จะเข้าไปยังประสาทตา ทำให้การมองเห็นไม่ชัดหรือมีอาการตาพร่ามัวนั่นเอง
สาเหตุของต้อกระจกคืออะไร ?
- ส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมตามวัย ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเป็นต้อกระจกแทบทุกรายไม่มากก็น้อย
- เป็นมาแต่กำเนิด
- กินหรือหยอดสเตียรอยด์บ่อยๆหรือนานๆ
- ได้รับรังสียูวี เอกซเรย์ อินฟราเรด
- อุบัติเหตุที่ตา ไฟฟ้าช็อต
- จากโรคเบาหวาน ต้อหินและอื่นๆ
อาการของต้อกระจกสังเกตอย่างไร ?
- ตาค่อยๆ มัวลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ
- เห็นแสงไฟแตกกระจาย เห็นภาพซ้อน
- มองเห็นในที่มืดชัดกว่าที่สว่าง ตาพร่ามัวเมื่อถูกแสงสว่าง
- สายตากลับ คืออ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใช้แว่นเหมือนก่อน
รักษาต้อกระจกได้อย่างไร ?
รักษาโดยการผ่าตัดนำเลนส์ที่ขุ่นออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่
ป้องกันต้อกระจกอย่างไร ?
- สวมแว่นกันแดดเป็นประจำ
- ตรวจสุขภาพตากับจักษุแพทย์เป็นประจำเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือเมื่อมีอาการสายตาผิดปกติ
ต้อกระจกไม่ผ่าตัดจะหายหรือไม่ ?
ไม่หาย
การสวมแว่นกันแดดในผู้ป่วยบางรายจะช่วยลดอาการตามัวลงได้ การตรวจวัดสายตาและใส่แว่นสายตาในผู้ป่วยต้อกระจกระยะแรกจะช่วยให้มองเห็นดีขึ้น
การรักษาต้อกระจกมีกี่แบบ ?
มี 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 การผ่าตัดแผลใหญ่ (ECCE)
เป็นการผ่าตัดเปิดแผลกว้างและนำเลนส์ตาที่ขุ่น เสื่อมสภาพออก จากนั้นค่อยใส่เลนส์ตาเทียมชนิดแข็งแทนที่เลนส์เดิม วิธีนี้อาจทำให้เกิดสายตาเอียงได้เพราะต้องเย็บแผล เป็นวิธีที่ไม่สามารถใช้เลนส์พรีเมียม (Premium) หลายระยะ หรือเลนส์แก้เอียงได้
แบบที่ 2 การสลายต้อด้วยอัลตร้าซาวด์ (Phacoemulsification)
เป็นเทคนิคที่ทันสมัย มีความปลอดภัยสูง โดยการเปิดแผลเล็ก 2-3 มม.แล้วใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสลายต้อกระจกที่ขุ่น หรือเสื่อมสภาพให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วดูดออก จากนั้นก็ใส่เลนส์แก้วตาเทียมชนิดนิ่มเข้าไปแทน วิธีนี้สายตาจะใช้งานได้เร็วในวันรุ่งขึ้น ทำกิจกรรมได้ตามปกติ เป็นวิธีที่สามารถใช้เลนส์พรีเมียม Premium หลายระยะ หรือเลนส์แก้เอียงได้ดี
การผ่าตัดต้อกระจกเจ็บปวดหรือไม่ ?
โดยทั่วไปการผ่าตัดแผลใหญ่จะใช้การฉีดยาชา หรือวางยาสลบ ส่วนการสลายต้อด้วยอัลตร้าซาวด์ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ โดยทั่วไปไม่ต้องฉีดยาชาแต่ใช้ยาชาหยอดแทน
เลนส์แก้วตาเทียมคืออะไร ?
คือวัสดุที่ใส่เข้าไปในลูกตาทดแทนเลนส์แก้วตาธรรมชาติหลังการผ่าตัดต้อกระจก และอยู่ในตาได้อย่างถาวร
เลนส์แก้วตาเทียมจะมี 2 แบบ คือ
- ชนิดแข็ง ผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์ เป็นเลนส์แก้วตาเทียมชนิดแรกๆ ที่เริ่มมีการใช้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.0-6.5 มิลลิเมตร มักใช้สำหรับการผ่าตัดแผลใหญ่
- ชนิดนิ่ม ตัวเลนส์สามารถพับครึ่งได้จึงเหมาะสำหรับการสลายต้อด้วยอัลตร้าซาวด์ เพราะสามารถใส่เลนส์ผ่านแผลขนาดเล็กมากได้
เลนส์แก้วตาเทียม ได้มีการพัฒนาจนมีประสิทธิภาพขนาดที่สามารถใช้งานทดแทนเลนส์แก้วตาธรรมชาติของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมไม่เพียงแต่ได้รับการรักษาต้อกระจกเท่านั้น แต่ยังสามารถแก้ไขสายตาสั้น ยาว เอียงที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดได้อีกด้วย ทำให้สามารถกลับมามองเห็นได้อย่างรวดเร็ว
รูปตาและการมองเห็น
เลนส์แก้วตาเทียมแก้ไขการมองได้กี่ระยะ ?
ปัจจุบันเลนส์แก้วตาเทียมถูกพัฒนาให้แก้ไขการมองได้หลายระยะโฟกัส หมายถึงทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดทั้งในระยะใกล้และเวลามองระยะไกล
ตัวอย่างกิจกรรมและระยะการมอง
ระยะใกล้ ~30 ซม. |
ระยะกลาง~40 ซม. |
ระยะไกล |
|
|
|
เลนส์แก้วตาเทียมมีหลายชนิดให้เลือกดังนี้
- เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับมองระยะไกล แต่ยังต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ
- เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับมองระยะกลางและระยะไกล
- เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับมองระยะใกล้และระยะไกล หรือเลนส์สองระยะ พัฒนาขึ้นมาเพื่อไม่ต้องใช้แว่นอ่านหนังสือ ส่วนใหญ่สามารถขับรถ อ่านหนังสือได้
- เลนส์แก้วตาเทียม 3 ระยะ สำหรับมองระยะไกล ระยะสำหรับทำงานคอมพิวเตอร์ และมองระยะใกล้สำหรับอ่านหนังสือ
ในคนที่มีสายตาเอียงร่วมด้วยสามารถแก้ไขได้หมด ขึ้นกับว่าจะใช้เลนส์ตาเทียมแก้ไขการมองกี่ระยะ ไกลอย่างเดียวหรือใกล้ด้วย หรือทั้ง 3 ระยะ
รูปเลนส์แก้วตาเทียม
เลือกเลนส์แก้วตาเทียมชนิดไหนดี ?
การเลือกเลนส์แก้วตาเทียม ขึ้นอยู่กับผลการตรวจ ความต้องการใช้งาน และค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ การตรวจวัดเลนส์แก้วตาเทียมด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ได้เลนส์แก้วตาเทียมที่ถูกต้อง
คุกกี้และความเป็นส่วนตัว
เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย