degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

อาการของฮีตสโตรก

  • หน้ามืด
  • มึนงง
  • หายใจเร็ว
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ช็อก หมดสติ ชัก เกร็ง
  • เพ้อ กระสับกระส่าย
  • ตัวร้อน อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อยๆ จนเกิน 40 องศาเซลเซียส

ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจเสี่ยงทำให้เสียชีวิตได้

6 กลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยง "โรคฮีตสโตรก"

  1. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ และผู้สูงอายุ
  2. ผู้ที่ทำงาน หรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ผู้ที่ทำงานก่อสร้างหรือออกกำลังกาย
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง
  4. ผู้ที่มีภาวะอ้วน
  5. ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งผู้ที่มีภาวะอ้วน และนอนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อกลไกควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
  6. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก โดยฤทธิ์ของแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และเกลือแร่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม โดยในสภาพอากาศที่ร้อนจัด แอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจให้สูบฉีดเลือดเร็ว มีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น อาจทำให้ช็อก และเสียชีวิตได้

วิธีลดความเสี่ยงภาวะฮีตสโตรก

  1. ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  2. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี
  3. ลด หรือเลี่ยงทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้งนานๆ
  4. สวมแว่นกันแดด กางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง
  5. ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชดเชยการเสียน้ำในร่างกายจากเหงื่อออก
  6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  7. อย่าทิ้งเด็ก ผู้สูงอายุ หรือสัตว์เลี้ยงไว้ในรถที่จอดไว้กลางแจ้ง เนื่องจากอุณหภูมิภายในรถจะสูงกว่าภายนอก
  8. ผู้ที่ออกกำลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อนมาก และเป็นเวลาที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม หากสงสัยผู้มีอาการเจ็บป่วยจากภาวะอากาศร้อน ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น อโดยให้ดื่มน้ำเย็น และเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น ให้อยู่ในที่ระบายอากาศที่ดี ถ้ามีอาการรุนแรง หรือหมดสติควรรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม