degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

เกิดจากการตีบ และแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หากรุนแรงจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากการตีบ และแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงลดลงหรือไม่มีเลย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หากรุนแรงจะทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

อาการ

  • ไม่มีอาการเลย หรือเจ็บแน่นหน้าอก ลักษณะปวดแน่นๆ เหมือนถูกบีบ ถูกกดทับ อาจปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน คอ หรือจุกที่คอหอย ลิ้นปี่
  • ในรายที่มีกล้ามเนื้อหัวใจตาย อาการเจ็บหน้าอกจะรุนแรงมากขึ้น หายใจไม่ออก หอบเหนื่อย คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ หน้ามืด ใจสั่น หรือหมดสติได้

ปัจจัยเสี่ยง

  • อายุมากขึ้น มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกาย
  • เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

การตรวจวินิจฉัย

  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจร่วมกับเดินสายพาน
  • CT หลอดเลือดหัวใจ
  • อัลตร้าซาวด์หัวใจ
  • ตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจด้วยการฉีดสี : CAG ; Coronary Angiography

โดยการสอดสายสวนขนาดเล็กมากผ่านทางขาหนีบหรือข้อมือ เข้าไปถึงหลอดเลือดหัวใจ แล้วฉีดสารทึบรังสีเข้าไปเพื่อดูการไหลเวียนของเลือด และความผิดปกติต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีตรวจที่ถูกต้อง แม่นยำ แพทย์สามารถมองเห็นเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจได้โดยตรง ดูว่ามีการอุดตันมากน้อยเพียงใด อุดตันกี่แห่ง และจะรักษาโดยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนได้หรือไม่

ใช้เวลาตรวจ ½ - 1 ชม. ไม่ใช้ยาสลบ ใช้เฉพาะยาชาเฉพาะที่ นอนพักรพ. 1 วัน ขณะตรวจสามารถมองผ่านทางจอภาพได้ตลอดเวลา จึงทราบผลการตรวจทันที

การรักษา

  • รักษาด้วยยา
  • การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบโดยการใช้บอลลูน และขดลวด
  • ผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ

การป้องกัน

งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผ่อนคลายความเครียด รักษาภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้



การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบโดยการใช้บอลลูน และขดลวด

  1. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสอดสายสวนหัวใจชนิดบอลลูนไปยังตำแหน่งที่ตีบของหลอดเลือด
  2. บอลลูนพองตัว และดันผนังหลอดเลือดที่ตีบแคบให้ขยายออก จึงมีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น อาการเจ็บ จุกแน่นหน้าอกก็จะหายไป
  3. การขยายหลอดเลือดร่วมกับการใส่ “ขดลวด : Stent” จะช่วยลดการกลับมาตีบซ้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
  4. นอนพักรพ. 1-2 วัน ก็สามารถกลับบ้านได้
  5. ผลสำเร็จในการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดมีมากกว่า 90%




© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม