degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้นเหตุของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจโดยเฉพาะในเพศชาย พบมากในผู้มีอายุ 45 ปีขึ้นไป

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้นเหตุของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและโรคหัวใจโดยเฉพาะในเพศชาย พบมากในผู้มีอายุ 45 ปีขึ้นไป

โรคหลอดเลือดสมองมี 2 รูปแบบ คือ

  1. โรคหลอดเลือดสมองแตก พบประมาณ 20% ทำให้มีเลือดออกในสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ความดันโลหิตสูง หรือหลอดเลือดโป่งพอง
  2. โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน พบประมาณ 80% เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือดจนส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เช่น มีไขมันและหินปูนมาพอกตัวที่ผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากลิ่มเลือดจากที่อื่นมาอุดตัน เช่น ลิ่มเลือดจากหัวใจ โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์อัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและหรือการมองเห็น

หากมีอาการดังต่อไปนี้ต้องรีบมาโรงพยาบาลทันที ห้ามรอดูอาการ ยิ่งเร็วมากเท่าไหร่จะลดความพิการได้มากเท่านั้น

  1. มีอาการอ่อนแรงหรือชา ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
  2. ตามัวหรือมองไม่เห็นทันทีทันใด โดยเฉพาะเป็นข้างเดียว
  3. ปวดศีรษะฉับพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
  4. พูดตะกุกตะกัก ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด
  5. สับสน ถามตอบไม่เข้าใจ
  6. ชักเกร็งหมดสติ หายใจไม่สม่ำเสมอ ถ้าช่วยไม่ทันอาจเสียชีวิตได้

อาการเตือนของภาวะสมองขาดเลือดนี้ อาจเกิดขึ้นซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายหรือเกิดทั้ง 2 ซีกพร้อมกันได้ หรือใช้หลักการสังเกตอาการของโรคหลอดเลือดสมอง Stroke คือ F A S T

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

  1. ความดันโลหิตสูง
  2. การสูบบุหรี่
  3. โรคเบาหวาน
  4. โรคหัวใจ
  5. ไขมันในเลือดสูง
  6. อายุมาก
  7. ความเครียด
  8. ความอ้วน
  9. ขาดการออกกำลังกาย
  10. การดื่มสุรา

การตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

  1. ตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุต่างๆ
  2. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  3. เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง - CT Scan
  4. ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า - MRI

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

การรักษาขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรง ระยะเวลาที่มีอาการ ถ้ามารับการรักษาเร็วเท่าไหร่ความพิการ และอัตราตายจะลดลงเท่านั้น

เป้าหมายการรักษา

  1. ควบคุมความดันโลหิต ≤ 140/80 mmHg
  2. ควบคุมระดับไขมันในเลือด แอลดีแอล (LDL < 100 mg/dL)
  3. ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (Hb A1C) ≤ 7 %
    • ผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดจากการมีลิ่มเลือดมาอุดหลอดเลือดสมอง จะได้รับการรักษาดังนี้
      • รับยาที่ช่วยละลายลิ่มเลือด ยาจะช่วยเปิดเส้นเลือดให้หายอุดตัน
      • รับยาที่ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในอนาคต จะเป็นการป้องกันสมองขาดเลือดในอนาคต
    • ผู้ป่วยที่สมองขาดเลือดจากการที่หลอดเลือดสมองแตกทำให้มีเลือดออก จะได้รับการรักษาดังนี้
      • ต้องรับการรักษาเพื่อลดการเสียหายของเนื้อสมองจากการที่เลือดออกภายในและรอบๆ เนื้อสมอง
      • หยุดยาที่ทำให้เลือดออกง่าย หรือลดขนาดยาลง
      • ได้รับการผ่าตัดเพื่อเข้าไปซ่อมหลอดเลือดและหยุดเลือดออก (แต่อาจไม่สามารถทำได้ทุกราย)
    • การรักษาเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน เช่น รักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันในเลือดสูง
    • การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง หรือข้อติดแข็ง
    • การรักษาโรคแทรกซ้อนที่มักจะเกิดในผู้ป่วยอัมพาตและนอนบนเตียงนานๆ เช่น ปวดบวม แผลกดทับ ท้องผูก แผลในกระเพาะอาหาร

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และการป้องกันไม่ให้เกิดการกลับเป็นซ้ำ

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที ประมาณ 5 วันต่อสัปดาห์
  2. ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม อย่าให้อ้วน
  3. งดสูบบุหรี่และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  4. ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูง ถ้าพบปัจจัยเสี่ยงต้องรีบรักษา และมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  5. ในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้วต้องรักษาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
  6. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน ต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ไม่หยุดยาเองโดยเด็ดขาด
  7. รับประทานอาหารไขมันน้อย และรสไม่เค็ม เพื่อป้องกันไขมันในเลือดสูงและความดันโลหิตสูง ควรรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้น
  8. ควรศึกษาหาความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง อาการเตือน และแนวทางการเข้ารับการรักษาได้อย่างฃทันท่วงที
  9. ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้สูงอายุ ควรมีญาติหรือผู้ดูแลที่รู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองและวิธีการเข้ารับการรักษา เพราะถ้ามีอาการรุนแรงผู้ป่วยอาจไม่สามารถช่วยตัวเองได้
  10. ถ้ามีอาการให้รีบนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด


© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม