degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

โรคครู้ป

ครู้ป (Croup) หมายถึง การอักเสบของเยื่อทางเดินหายใจตั้งแต่กล่องเสียงลงไปที่หลอดลม ทำให้มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายได้เอง พบบ่อยในอายุ 3–6 เดือน พบน้อยในเด็กอายุเกิน 6 ปี แต่บางครั้งก็พบจนถึงอายุ 12–15 ปีได้

สาเหตุ

มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่หลายชนิด ที่พบบ่อยสุดได้แก่ ไวรัส parainfluenza นอกจากนี้อาจเกิดจากไวรัส adenovirus / ไวรัส RSV / ไวรัสหัด เป็นต้น

ส่วนไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (infiuenza A) มักทำให้เกิดอาการรุนแรง และพบบ่อยในเด็กอายุ 3-7 ปี โดยโรคนี้ติดต่อผ่านทางเดินหายใจแบบเดียวกับไข้หวัด

อาการ

แรกเริ่มมีอาการไข้หวัด คือ มีไข้ เจ็บคอเล็กน้อย น้ำมูกไหล ไอ 1-2 วัน ต่อมามีเสียงแหบและไอเสียงก้อง และอาจได้ยินเสียงฮื้ดๆ ตอนหายใจเข้า มักเกิดตามหลังการไอ เด็กบางรายอาจมีการหายใจลำบากร่วมกัน

อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นฉับพลันทันที และเป็นมากในช่วงกลางคืนจนอาจสะดุ้งตื่น อาการจะทุเลาในช่วงกลางวัน ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 3-7 วัน แต่บางรายอาจนานถึง 2 สัปดาห์

การรักษา

  • ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อย คือ มีไข้ ไอเสียงก้องมีเสียงฮื้ดเป็นบางครั้งเฉพาะเวลาร้องไห้หรือเคลื่อนไหวร่างกาย โดยที่เด็กยังรู้สึกร่าเริง กินได้ไม่อาเจียน ก็รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ให้ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ให้ความชื้นโดยวางอ่างน้ำไว้ข้างตัวเด็ก
  • ขณะมีอาการกำเริบให้เด็กสูดไอน้ำอุ่นๆ เช่น เปิดน้ำจากก๊อกน้ำในห้องน้ำ แล้วนำเด็กเข้าไปอยู่ในนั้นนาน 10 นาทีและปิดประตู หรือใช้ผ้าขนหนูจุ่มน้ำอุ่นให้หมาดๆ แล้วนำมาจ่อใกล้ปากและจมูกเด็ก สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดทุกวัน ส่วนใหญ่มักจะหายได้เองภายใน 3–7 วัน
  • นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว ถ้ามีอาการเสียงฮื้ดขณะที่พักอยู่นิ่งๆ หายใจลำบาก ซี่โครงและลิ้นปี่บุ๋ม ปากเขียว เล็บเขียว กลืนลำบาก กินไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ กระสับกระส่ายหรือซึม

อาการที่ควรกลับมาพบแพทย์ทันที

  • ไข้สูง กระสับกระส่าย หายใจเร็วและแรงหรือหายใจลำบากเด็กครู้ปจะหายใจเสียงดังแต่ไม่มีหายใจลำบาก
  • เด็กมีอาการหายใจเบา หายใจแบบกระหายอากาศ (พะงาบ พะงาบ)
  • เด็กมีอาการตัวเขียว
  • เมื่อเด็กนอนไม่ได้ต้องนั่งอยู่ตลอดเวลา


© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม