degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

โรคหัด (Measles)

โรคหัด (Measles / Rubella) คือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนัง พร้อมเป็นไข้ร่วมด้วยสามารถแพร่เชื้อ และติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศ หรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง

เชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย โรคหัดถือเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเด็กเล็กรวมทั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก แม้จะมีวัคซีนป้องกันโรคแล้วก็ตาม

สาเหตุ

โรคหัด จัดเป็นโรคติดต่อที่มีโอกาสติดเชื้อได้สูง การติดเชื้อเกิดจากการรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ

การสัมผัสละอองน้ำลายและน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งช่วง 4 วันทั้งก่อน และหลังเกิดผื่นนั้นถือเป็นระยะเวลาของการแพร่เชื้อ

โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจ และแพร่ไปทั่วร่างกายทำให้ 90% ของผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันหัดมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัดหากอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรค

การรักษา

การรักษายังไม่มีตัวยาหรือวิธีทางการแพทย์ได้รับการระบุว่าสามารถรักษา และกำจัดเชื้อไวรัสโรคหัดอย่างเฉพาะเจาะจงแต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองให้อาการทุเลาลงได้ด้วยการดื่มน้ำวันละ 6–8 แก้ว และพักผ่อนให้เพียงพอ อาจให้วิตามินเสริมกับร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคหัดที่เริ่มมีผื่นขึ้น ควรอยู่ในบ้าน ไม่ไปโรงเรียนทำงาน หรือพบปะผู้คนตามที่สาธารณะเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 วันหลังจากผื่นเริ่มปรากฏ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนรอบข้าง

ภาวะแทรกซ้อนของโรค

  1. ท้องเสียและอาเจียน ซึ่งจะนำไปสู่อาการขาดน้ำ
  2. หูชั้นกลางติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดหู
  3. ติดเชื้อที่ตา ก่อให้เกิดอาการตาแดงเยิ้มแฉะ
  4. กล่องเสียงอักเสบ
  5. ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและปอด

อาการสำคัญที่ต้องมาพบแพทย์

  1. มีไข้สูง กินยาลดไข้ไม่ลด
  2. อาการซึม หรือไม่รับประทานอาหาร หรือร้องกวนตลอดเวลา
  3. มีอาการไอมาก
  4. หายใจหอบเหนื่อย หายใจเร็ว


© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม