degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

การออกกำลังกายทางกายภาพบำบัด ในผู้ป่วยเบาหวาน

โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือการดื้อต่อฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ ส่งผลให้มีน้ำตาลตกค้างอยู่ในกระแสเลือดในปริมาณมาก หากไม่มีการดูแลรักษาก็จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย

ผลดีต่อผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  1. ลดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสม
  2. เพิ่มความแข็งแรงของระบบหัวใจหลอดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจ
  3. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี
  4. ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง
  5. ลดระดับไขมันและความดันโลหิต
  6. ลดปริมาณไขมันในช่องท้องและใต้ผิวหนัง
  7. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  8. ช่วยควบคุมน้ำหนัก และลดน้ำหนัก
  9. ลดความเครียด

ข้อควรระวัง

  1. ตรวจเท้าตัวเองทุกครั้งก่อนและหลังออกกำลังกายเสร็จ
  2. สวมรองเท้าให้พอดีไม่คับเกินไป และเหมาะสมกับกีฬา
  3. ควรพกน้ำตาลหรือของหวานติดตัวขณะออกกำลังกาย เพื่อป้องกันกรณีมีน้ำตาลในเลือดต่ำ
  4. หากมีอาการผิดปกติให้หยุดออกกำลังกาย
  5. ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ไม่ควรออกกำลังกาย

C:\Users\User\Desktop\16478353743831.jpg

ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายแบบไหน ?

การออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย การออกกำลังกายที่แนะนำ ได้แก่

  • ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เป็นกิจกรรมเคลื่อนไหวต่อเนื่องโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ และเล็ก เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน รำมวยจีน เป็นต้น จะช่วยทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น กระตุ้นระบบไหลเวียนของหัวใจและปอด ทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ แข็งแรงขึ้น
  • ออกกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น ยกน้ำหนัก เกร็งกล้ามเนื้อ โดยเลือกกล้ามเนื้อมัดใหญ่

ควรใช้เวลาในการออกกำลังกายประมาณ 20-60 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ ข้อแนะนำคือ ควรออกกำลังกายวันเว้นวัน เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาพักปรับตัวและฟื้นตัวจากการเมื่อยล้า

แต่ถ้าต้องการออกกำลังกายทุกวัน ควรลดเวลาให้เหลือเพียง 30-40 นาทีต่อวัน

  • ท่าบริหาร ในผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะมีอาการชามือและเท้า จึงควรบริหารเพิ่มความแข็งแรงและช่วยลดอาการชาได้ โดยมีท่าบริหารเท้าดังนี้

ท่าที่ 1 นอนยกเท้าสูงจากพื้นเล็กน้อย กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง พร้อมกันสองข้าง 20 ครั้ง

C:\Users\User\Desktop\กายภาพ-เบาหวาน-011.jpg

ท่าที่ 2 กระดกนิ้วเท้าขึ้น-ลง พร้อมกันสองข้าง 20 ครั้ง

ท่าที่ 3 หมุนข้อเท้าเข้า-ออกสลับกัน อย่างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 4 ยืนกางขาเล็กน้อย เท้าด้านหนึ่งยกส้นเท้าลอย วางปลายเท้าติดพื้น หมุนส้นเท้าเข้า-ออกเป็นวงกลม ทำสลับกันสองข้าง ข้างละ 20 ครั้ง

ท่าที่ 5 ยืนวางเท้าลงบนผ้าขนหนู แล้วใช้ปลายนิ้วเท้าหยิบผ้าขนหนูขึ้น ทำสลับกันสองข้าง ข้างละ 20 ครั้ง

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง จะทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพที่ดี สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

กภ.กุลญาณ์ภาส์ เคนคำภา

กภ.นภิสา ธรานนท์

กภ.สาวิตรี ห่วงรัตน์

กภ.ปณิตา ธรรมนิธิศ

กภ.พิรุณวรรณ สิริวชิรชัย

กภ.ณัฐมล สาตมุณี




© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม