degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

ส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ Cystoscopy

เป็นหัตถการเพื่อตรวจด้านในของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นเนื้อเยื่อที่อยู่ในทางเดินปัสสาวะ โดยใช้ Cystoscope เป็นท่อยาวที่มีกล้องและไฟอยู่ที่ปลายท่อ ซึ่งจะมีช่องพิเศษที่สามารถใส่อุปกรณ์ชิ้นเล็กเพื่อเข้าไปทำหัตถการภายในเพื่อวินิจฉัย หรือแก้ไขปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะได้

วิธีการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ

การส่องกล้องเพื่อการตรวจวินิจฉัยนี้จะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ทาบริเวณท่อปัสสาวะก่อนทำ จากนั้นจะทำการหล่อลื่นบริเวณกล้องด้วยเจลชนิดพิเศษ ก่อนจะสอดเข้าไปทางท่อปัสสาวะ และเข้าไปเรื่อยๆ ตามทางเดินปัสสาวะจนถึงกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นใช้น้ำกลั่นผ่านเข้าไปทางกล้องและเข้าในกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้โป่งออก ระหว่างที่ทำการตรวจ คุณจะต้องอธิบายว่ารู้สึกอย่างไรเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการของคุณ น้ำกลั่นจะไปทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะขยายออกเพื่อให้แพทย์เห็นภาพภายในกระเพาะปัสสาวะได้ดียิ่งขึ้น เมื่อกระเพาะปัสสาวะขยายออกเต็มที่ คุณจะรู้สึกอยากปัสสาวะ แต่คุณจะต้องรอจนกว่าจะถอดกล้องออก โดยทั่วไปแล้วหัตถการนี้ใช้เวลา 5-20 นาที และเนื่องจากมีการใช้ยาชาทำให้คุณไม่รู้สึกเจ็บ อาจมีแค่ความรู้สึกไม่ค่อยสบายเท่านั้น หลังการตรวจแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการส่องกล้อง แต่ถ้าทำการส่องกล้องเพื่อการรักษามักเลือกใช้การดมยาสลบ เช่น การขบนิ่วในท่อไต การใส่สายระบายในท่อไต การขบนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ การตัดเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ การตัดต่อมลูกหมาก เป็นต้น หลังการส่องกล้องแล้วต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล

ระหว่างการส่องกล้อง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินปัสสาวะจะสามารถใส่เครื่องมือเข้าไปเพื่อนำนิ่วออกมาภายนอก ทำการตัดชิ้นเนื้อในกระเพาะปัสสาวะ และเก็บตัวอย่างปัสสาวะจากท่อปัสสาวะ เพื่อนำไปตรวจเพิ่มเติม หรือฉีดยา หรือสารทึบรังสี เพื่อใช้ร่วมกับการฉายภาพรังสีวินิจฉัย

ประโยชน์ของการส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ

  1. ช่วยระบุสาเหตุของอาการทางระบบปัสสาวะ เช่น
  2. ปัสสาวะมีเลือดปน
  3. ปวดท้องน้อย
  4. มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อย
  5. กลั้นปัสสาวะไม่ได้
  6. ปัสสาวะไม่ออก ไม่พุ่ง หรือออกกระปริดกระปรอย
  7. ใช้หาสาเหตุของการพบเซลล์ผิดปกติที่พบในการตรวจปัสสาวะ
  8. อาการอื่นๆ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะไม่สุด
  9. ช่วยตรวจหาหรือติดตามโรคระบบทางเดินปัสสาวะที่เป็นอยู่ หรือสงสัยว่าจะเป็น เช่น
  10. ท่อปัสสาวะตีบหรืออุดตัน
  11. เนื้องอกหรือมะเร็งในทางเดินปัสสาวะ
  12. นิ่วในท่อไตหรือกระเพาะปัสสาวะ
  13. ต่อมลูกหมากโต


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม