degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

รักษาและฟื้นฟู อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคซึมเศร้า ไมเกรน

ผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคซึมเศร้า ไมเกรน ย้ำคิดย้ำทำ นอนไม่หลับ โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก โรคพาร์กินสัน ส่วนใหญ่จะได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดควบคู่กัน ซึ่งผู้ป่วยดังกล่าวจำนวนหนึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีเดิมๆ บางรายยังมีอาการแขนขาอ่อนแรงอยู่ เป็นต้น

ปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า : Transcranial Magnetic Stimulation ; TMS มาใช้รักษาและฟื้นฟูการทำงานของสมองและระบบประสาท ควบคู่กับการรักษาแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ง่าย ไม่เป็นอันตราย ไม่เจ็บปวด ไม่ต้องดมยาสลบ และการรักษาจะได้ผลดียิ่งขึ้นหากผู้ป่วยรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์

หลักการรักษาด้วย TMS

เป็นการส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นสมอง ช่วยเร่งการเชื่อมต่อกันใหม่ของเซลล์สมอง และปรับการทำงานของสารสื่อประสาทในสมอง จึงทำให้เซลล์สมองสั่งการหรือทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังสามารถทำการกระตุ้นในระบบประสาทส่วนปลาย เช่น ไขสันหลัง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนการทำงานในส่วนนั้นๆ ได้เช่นกัน

TMS เหมาะกับผู้ป่วยโรคอะไร ? ต้องทำกี่ครั้ง ?

  1. โรคหลอดเลือดสมอง : Stroke ช่วยฟื้นฟูอาการดังนี้
    • ฟื้นฟูภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขา โดยช่วยให้อาการอ่อนแรงดีขึ้น และลดการเกร็ง
    • ฟื้นฟูอาการกลืนผิดปกติ ช่วยเพิ่มความสามารถในการกลืนได้ดีขึ้น จึงช่วยลดปัญหาการสำลัก
    • ฟื้นฟูอาการพูดลำบาก ช่วยเพิ่มความสามารถในการสื่อสารให้ดีขึ้น

แนะนำรักษาครั้งละ 30-60 นาที ความถี่ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์*

  1. โรคซึมเศร้า : Depression ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ช่วยลดอาการซึมเศร้า ลดความวิตกกังวล

แนะนำรักษาครั้งละ 15-30 นาที ความถี่ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 4-6 สัปดาห์*

  1. ไมเกรน : Migraine รักษาอาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวเรื้อรัง

แนะนำรักษาครั้งละ 30-60 นาที

  1. โรคอื่นๆ
    1. ย้ำคิดย้ำทำ
    2. นอนไม่หลับ
    3. โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก
    4. โรคพาร์กินสัน

*จำนวนครั้งต่อชุดการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ดังนั้นเพื่อให้ผลการรักษาที่ดี ควรทำการรักษาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์

ขั้นตอนการรักษา

  • แพทย์ด้านอายุรกรรมประสาทและสมอง จะทำการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการอย่างละเอียดก่อนทำการรักษา อาทิเช่น หาตำแหน่งและกำหนดค่าที่ใช้ในการกระตุ้น แนะนำข้อควรระวังในการรักษาแก่ผู้ป่วยและญาติ กำหนดความถี่ แนะนำความถี่ในการรักษาต่อเนื่องแก่ผู้ป่วย รวมถึงคอยติดตามเป็นระยะตลอดขั้นตอนการรักษา
  • แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรมอย่างเชี่ยวชาญ เมื่อทราบแผนการรักษาแล้ว จะนำหัวส่งสัญญาณแม่เหล็กมาวางที่ศีรษะ แขนขา หรือตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งขณะทำอาจมีการกระตุกของกล้ามเนื้อได้ แต่ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวด และสามารถกลับมาทำเป็นครั้งๆ โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

ข้อดีของการรักษาด้วย TMS

  • ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ไม่เจ็บปวด ไม่ต้องพักฟื้น
  • ช่วยลดปริมาณและผลข้างเคียงจากการกินยา
  • ผู้ป่วยจะรู้สึกอาการปวดลดลงทันทีหลังการรักษาครั้งแรก
  • เมื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง ความรุนแรงของอาการปวดหัวจะลดลงจนถึงหายสนิท และยังช่วยป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำ

ข้อห้ามในการรักษาด้วย TMS

  • ไม่ทำในผู้ป่วยที่เคยมีอาการชักมาก่อน
  • ไม่ทำในผู้ป่วยที่มีโลหะรูปวงแหวนฝังอยู่ในตัว
  • ไม่ทำในผู้ป่วยที่มีเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ฝังในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องหูเทียมไฟฟ้าชนิดฝังในตัว เป็นต้น

หมายเหตุ - ราคาตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธ.ค. 2567

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม