degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า

เป็นการตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าในเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยอาการทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น อาการชาที่มือ ที่เท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง และแม่นยำต่อไป

โรคที่แนะนำในการตรวจ

  1. โรคพังผืดกดรัดเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ทำให้มือชา (Carpal tunnel syndrome ; CTS)
  2. การบาดเจ็บของเส้นประสาทจากอุบัติเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อออ่อนแรง (Nerve injury, Brachial plexus injury)
  3. โรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ ทำให้มีอาการชามือ ชาเท้า (Polyneuropathy, GBS, CIDP)
  4. โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับรากประสาท (Radiculopathy)
  5. โรคของกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้อฝ่อ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis ; MG)
  6. โรคเส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ หรือใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
  7. โรคกระดูกสันหลังส่วนคอหรือส่วนหลังเสื่อม
  8. โรคของไขสันหลังส่วน Anterior horn cell เช่น โรค ALS
  9. โรคของเส้นประสาทที่คอ และหลัง
  10. โรคเส้นประสาทพิการแต่กำเนิด
  11. และโรคทางระบบประสาท และกล้ามเนื้ออื่นๆ

วิธีการตรวจ

วิธีการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

1.ตรวจการนำไฟฟ้าของเส้นประสาท (Nerve Conduction Study ; NCS) เป็นการตรวจโดยปล่อยกระแสไฟฟ้าในขนาดที่ปลอดภัย กระตุ้นตามแนวทางเดินของเส้นประสาท ที่แพทย์สงสัยว่ามีความผิดปกติ โดยแพทย์จะวิเคราะห์ผลจากการแสดงกราฟทางหน้าจอ เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของเส้นประสาท

2.ตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (Needle Electromyographic Study ; EMG ) แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กตรวจรับสัญญาณผิดปกติในกล้ามเนื้อ เพื่อระบุตำแหน่งของรอยโรคที่ชัดเจนยิ่งขึ้น จากนั้นแพทย์จะนำข้อมูลจากการตรวจทั้ง 2 ส่วนมาประกอบกันเพื่อใช้วินิจฉัยโรค และแนะนำการรักษาที่ถูกต้อง ตรงจุดต่อไป


การเตรียมตัว

  1. ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร
  2. แจ้งแพทย์กรณีใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ รวมถึงโรคประจำตัวและยาที่รับประทาน เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยารักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี
  3. งดใส่เครื่องประดับทุกชนิด เพื่อความสะดวกต่อการใช้เครื่องมือ

การดูแลตัวเองหลังการตรวจ

หลังการตรวจกลับบ้านได้ ไม่มีผลข้างเคียง อาจมีอาการเจ็บรอยเข็มเล็กน้อย สามารถรับประทานยาแก้ปวดหรือพักตามอาการ หากมีอาการผิดปกติเช่น บวมแดง ให้กลับมาพบแพทย์

* ราคาตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธ.ค. 2567

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม