Patch Test คืออะไร ?
คือการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง โดยการแปะสารทดสอบลงบนผิวหนัง แล้วดูว่าสารที่แปะลงไป ตัวใดที่ทำให้เกิดการแพ้และเป็นผื่น สารที่ทำให้เกิดการแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่
- สารระคายเคืองต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ สารฟอกขาว สารกันบูด ยาฆ่าแมลง
- สารก่อภูมิแพ้ เช่น นิกเกิล น้ำหอม เครื่องสำอาง ครีมกันแดด สีย้อมผม ยากินบางชนิด และสารเคมีที่ใช้ประจำวัน เป็นต้น
ข้อแตกต่างการทดสอบภูมิแพ้ด้วยวิธีต่างๆ
ทางผิวหนัง : Allergy Skin Test , เจาะเลือด : Allergy Blood Test , แปะผิวหนัง : Patch Test
ใครทำ Patch Test ได้บ้าง
- ผู้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบเป็นระยะเวลานาน ซึ่งสงสัยว่าน่าจะเกิดจากการแพ้สารก่อภูมิแพ้
- ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะที่มือ เท้า ใบหน้า หรือเปลือกตา
- ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ แต่หาสาเหตุไม่พบ
- ผู้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบ และมีอาการผื่นแย่ลง
- ผู้ป่วยโรคผิวหนังอื่นๆ เช่น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นแพ้อักเสบชนิดต่างๆ โรคผิวหนังอักเสบ และโรคสะเก็ดเงิน ที่สงสัยว่าผื่นแย่ลงจากการมีภาวะผื่นแพ้สัมผัสร่วมด้วย
- ไม่ทดสอบในสตรีมีครรภ์
- ผู้ที่สงสัยว่าตนอาจมีปฏิกิริยาไวต่อสารก่อภูมิแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา
การเตรียมตัว
- ควรนำผลิตภัณฑ์หรือของใช้ที่สงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุของการแพ้ พร้อมบรรจุภัณฑ์และฉลากผลิตภัณฑ์มาด้วย เช่น เครื่องประดับ เครื่องสำอาง ยาสีฟัน สบู่ ครีม ยาทา เสื้อผ้า เป็นต้น
- งดใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ก่อนการทำทดสอบดังนี้
- ชนิดรับประทาน อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- ชนิดทาผิวหนังบริเวณที่จะทำการทดสอบ ได้แก่ แผ่นหลัง อย่างน้อย 1 สัปดาห์
- ห้ามอาบแดด หรือไม่ให้แผ่นหลังโดนแดดก่อนการทำทดสอบ ประมาณ 1 สัปดาห์
ขั้นตอนการทำ Patch Test
- แพทย์จะใส่สารทดสอบ 29 ชนิด (หรือสิ่งที่สงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุของการแพ้) เข้าไปในแผ่นทดสอบ แล้วนำไปแปะลงบนผิวหนังบริเวณแผ่นหลัง โดยจะแปะทิ้งไว้เป็นเวลา 48 ชม. เพื่อรอให้ผิวหนังมีปฏิกิริยาตอบสนองและนัดอ่านผล
- ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง
- วันที่ 1 แปะสารทดสอบบนผิวหนัง
- วันที่ 3 แพทย์นัดอ่านผลครั้งที่ 1 (ครบ 48 ชม.)
- ตลอดช่วงระยะเวลาการทดสอบ ต้องระวังไม่ให้ผิวหนังบริเวณทดสอบเปียกน้ำและเหงื่อ โดยงดเล่นกีฬา อบซาวน่า เป็นต้น และหากมีอาการคันห้ามเกา สามารถทานยาแก้แพ้ได้
- เมื่อสิ้นสุดการทดสอบ แพทย์จะแจ้งผลทดสอบให้ผู้ป่วยทราบว่า แพ้สารชนิดใด เป็นสารที่พบในของใช้ หรือผลิตภัณฑ์ใดบ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ
ตัวอย่าง
ผู้ป่วยแพ้นิกเกิล : Nickel ซึ่งเป็นธาตุที่อยู่ในโลหะผสมเพื่อทำให้แข็ง พบได้ในของใช้ เช่น ก๊อกน้ำ ลูกบิดประตู กุญแจ นาฬิกา สร้อยคอ ต่างหู ซิป ฯลฯ รวมทั้งมีในอาหาร เช่น ถั่วเหลือง หอมแดง หอยนางรม อาหารกระป๋อง ฯลฯ
ผลทดสอบแสดงดังรูปด้านล่าง ซึ่งผลการแพ้อาจจะแตกต่างกันเฉพาะบุคคล
สารทดสอบ (สารก่อภูมิแพ้) 29 ชนิด ได้แก่
1.Neomycin sulfate 20.0%
2.Potassium dichromate
3.Thiuram mix 1.0%
4.p -Phenylenediamine (PPD ) 1.0%
5.Formaldehyde 2.0%
6.Colophonium 20.0%
7.Peru balsam 25.0%
8.Lanolin Alcohol 30.0 %.
9.Mercapto mix 3.5 %
10.Epoxy resin, Bisphenol A 1.0%
11.4 - tert - Butylphenolformaldehyde resin (PTBP) 1.0%
12. Fragrance mix I 8.0%
13.Nickel (II) sulfate hexahydrate 2.5%
14.Textile dye mix 6.6%
15.Budesonide 0.01%
16.Quaternium-15 2.0%
17.Methylisothiazolinone + Methyl chloroisothiazolinone 0.215%
18.Imidazolidinyl Urea 2.0%
19.Tixocortol - 21 – pivalate 0.1%
20.Methyldibromo glutaronitrile 0.3%
21.Carba mix 3.0 %
22.Cobalt (II) chloride hexahydrate 1.0%
23.Compositae mix II 5.0%
24.Diazolidinyl urea 2.0%
25.Fragrance mix II 14.0%
26.Phenol formaldehyde resin (PFR 2) 1.0%
27.N - Isopropyl – N – phenyl – 4 - phenylenediamine (IPPD) 0.1%
28.Paraben mix 16.0%
29.Sesquiterpene lactone mix 0.1%
นีโอมัยซิน (Neomycin)
นีโอมัยซินสกัดมาได้จาก Streptomyces fradiae
- ใช้เป็นยาปฏิชีวนะในยาทา ยาหยอดตา ยาหยอดหู ยาอม ยาเหน็บ
- ในเครื่องสำอาง
พบเป็นสารก่อภูมิแพ้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ด้วย และมักเกิดจากยาทามากกว่าจากเครื่องสำอาง
ยาปฏิชีวนะที่โครงสร้างทางเคมีคล้ายกันและอาจทำให้เกิดการแพ้ข้ามกลุ่มได้ ซึ่งควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ Gentamicin, Tobramycin, Amikacin, Streptomycin, Framycetin, Kanamycin, Spectinomycin, Bacitracin
โครเมียม (Chromium), Potassium dichromate
เป็นโลหะชนิดหนึ่งซึ่งเกิดในธรรมชาติโดยเฉพาะในดิน ในร่างกายของคนพบเป็นธาตุสำคัญธาตุหนึ่ง สารสำคัญคือ เฮกซาเวเลนต์โครเมียม (Hexavalent chromium) และไทรเวเลนต์โครเมียม (Trivalent chromium) ซึ่งเป็นสารก่อภูมิแพ้ โดยที่เฮกซาเวเลนต์โครเมียมสามารถเข้าผ่านผิวหนังได้ดีกว่า
โครเมียมที่ก่อให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสพบใน
- ปูนซีเมนต์ เป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญที่สุดในช่างปูน และช่างก่อสร้าง
- ในหนัง โดยใช้โครเมียมเป็นสารฟอกหนังทำให้หนังแข็ง เช่น พบในรองเท้า เสื้อและกางเกงที่ทำจากหนัง
- ในบ้าน เช่น ในหัวไม้ขีดไฟ ผงซักฟอก น้ำยากันสนิม ผ้าสีเหลืองและสีเขียว หมึกในหนังสือพิมพ์ ถุงมือยาง สีทาบ้าน สีเขียวที่ใช้ในการสัก (tattoo)
- ในอุตสาหกรรม เช่น ในการย้อมผ้าเพราะทำให้สีย้อมติดผ้า การปั้นหม้อ การถ่ายรูป และการกัดแม่พิมพ์ด้วยการถ่ายรูป สีทาสีเหลือง หมึกและหมึกพิมพ์ อุตสาหกรรมฟอกหนัง น้ำยาล้างแก้วในห้องปฏิบัติการ การชุบหรือเคลือบโลหะ น้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันเครื่องต่างๆ จอโทรทัศน์ แถบแม่เหล็ก (Magnetic tape) สารฟอกขาว (Bleaching agent)
- ในสิ่งแวดล้อม เช่น พบโครเมียมในน้ำ ดิน หิน ซึ่งเป็นไทรเวเลนต์โครเมียม ส่วนเฮกซาเวเลนต์โครเมียมมักเกิดจากการเผาไหม้ของไม้ น้ำมัน กระดาษ ซึ่งจะลอยตัวอยู่ในอากาศ แต่เมื่อตกลงมาในดินและน้ำจะเปลี่ยนเป็นไทรเวเลนต์โครเทียม
- อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่แพ้โครเมียม
- มันฝรั่ง หอมแดง พริกไทยดำ กานพลู
- แอปเปิ้ล
- อาหารกระป๋อง ไข่
- เบียร์ ไวน์ ชา โกโก้ ช็อคโกแลต
3.ยางและยางสังเคราะห์ (Thiuram mix)
ยางธรรมชาติได้จาการกรีดต้นยาง ยางสังเคราะห์โดยใช้สารจากปิโตเลียม ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ซึ่งต้องเติมสารหลายอย่างเข้าไป ซึ่งสารเหล่านี้เองที่เป็นก่อภูมิแพ้ คือ
- ไธยูแรม (Thiurams)
- เมอร์แคปโทเบนโซไธอะโซล (Mercaptobenzothiazole)
- กวานิดีน (Guanidine)
- ไดไธคาร์บาเมต (Dithiocarbamate)
ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีกำมะถันอยู่ด้วยจะเป็นตัวเร่ง (Accelerator) ในการเชื่อมโยงของโมเลกุลโพลีเมอร์ (Vulcanization) ซึ่งทั้งหมดสามารถพบใน
- ใช้ทำรองเท้า ถุงมือ
- ถุงยางอนามัย ยางรัด หน้ากากยาง จุกนมเด็ก
- อิลาสติกแบนเดจ (Elastic bandage) Brassiere cup หมวกสวมว่ายน้ำ ของเล่นเด็กที่ทำจากยาง
- วัสดุทางการแพทย์ที่ทำจากยาง เช่น สายสวนปัสสาวะ
- อุปกรณ์ในการล้างไต
- เทปกาว
- น้ำยาในการล้างรูป
- ผงซักฟอก
- ยาฆ่าหมัดและเห็บในสัตว์
นอกจากสารตัวเร่งแล้วยังมีพวก แอนติออกซิเดนต์ เพื่อป้องกันออกซิเดชันที่ใช้ คือ กลุ่มพีพีดี (PPD, Paraphenylendiamine) สารที่ใช้ทดสอบคือพีพีดีผสม หรือเรียกในปัจจุบันว่ายางดำผสม (Black rubber mix)
พาราฟีนิลีนไดอะมีน
เป็นสีอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดแพ้บ่อย ใช้ใน
- การย้อมผ้า หนัง ผม พลาสติก และยาง
- ใช้ในเครื่องสำอาง เครื่องใช้ในครัวเรือน กระดาษชำระ อาหาร และยา ที่พบการแพ้บ่อยที่สุด คือในสีย้อมผม
- ใช้เป็นแอนติออกซิเดนต์ (Antioxidant) ในอุตสาหกรรมทำยางสีดำและน้ำมันสน
- พบในหมึกพิมพ์ การถ่ายรูป ในน้ำยาที่ใช้ในการถ่ายภาพเอกซเรย์และในการพิมพ์หิน
- อาจมีปฏิกิริยาข้ามกลุ่ม (Cross-react) กับยาบางชนิด เช่น
- ยาซัลฟา
- ยาเบาหวาน (Sulfonylurea)
- ยา Para-amino salicylic acid ในการรักษาวัณโรค
- ยาชา Benzocaine ชนิดทา
- ยาชา Procaine ชนิดฉีด
- ครีมกันแดดที่มีส่วนผสมของ Para-amino benzoic acid (PABA)
ฟอร์มาลดีไฮด์
เป็นสารที่ฆ่าเชื้อโรค ดังนั้นจึงนิยมใช้เป็นสารกันเสียในเครื่องสำอางหลายอย่าง ฟอร์มาลดีไฮด์ใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติก การปนเปื้อนของฟอร์มาลดีไฮด์ในพลาสติกที่บรรจุเครื่องสำอางทำให้เกิดการแพ้ฟอร์มาลดีไฮด์ในเครื่องสำอางได้ ปัจจุบันมีสารกันเสียที่นิยมใช้ในเครื่องสำอางแทนพาราเบน เช่น Imidazolidinyl urea, Quaternium-15 และ Bronopol ซึ่งปล่อยสารฟอร์มาลดีไฮด์ก็ทำให้เกิดการแพ้ได้
สารที่มีฟอร์มาลดีไฮด์พอสรุปได้ คือ
- ผ้าเกือบทุกชนิด นอกจากผ้าฝ้าย 100% ส่วนโพลีเอสเตอร์ เช่น ดาครอน ไนลอนและอะไครลิก เช่น ออร์ลอนมีน้อย
- กาวและกระดาษ
- สารกันเสียในผลิตผลจากนม
- ในการวาดภาพ
- พลาสติกที่ใช้ในการทำกระดุม เครื่องประดับ รองเท้า
- กระบวนการถ่ายรูป และล้างรูป
- สารกันเสียในเครื่องสำอาง เช่น แชมพู น้ำยาเคลือบเล็บ น้ำยาแต่งผม ยาสีฟัน ยาระงับกลิ่น ยาระงับการระเหยของเหงื่อ
- น้ำยาดองสัตว์ (Formalin) การอบหรือรม เช่น อบห้องที่ใช้เพาะเชื้อรา
- น้ำยาดับกลิ่นและฆ่าเชื้อโรค เช่น ในการทำความสะอาดเครื่องมือในช่างตัดผม
- น้ำยาทำความสะอาดพรม หน้าต่าง ห้องน้ำ
- น้ำยาขัดมัน ขัดรองเท้า ขัดฟื้น
- ในยา เช่น น้ำยาบ้วนปาก ในเฝือก น้ำยาล้างไต หูด วัคซีน ยาฉีดบางอย่าง
- เซลลูโลสเอสเตอร์
- ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ทาสี หมึกพิมพ์
- สารใช้ในการซักแห้ง
ชันสน (Colophony, Rosin, ยางสน)
ชันสนเป็นยางสนที่ได้จากต้นสนและไม้ประเภทสน มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ กรดอะบิเอติก (Abietic acid) ใช้กันมากในปัจจุบันพบใน
- ผ้ายางปิดแผล พลาสเตอร์ ผ้ายางพันสายไฟฟ้า เทปติดกระดาษ
- พลาสติก กระดาษ
- เป็นสารอิมัลสิไฟเออร์ (Emulsifyer) ในสบู่ น้ำมันเครื่อง สารทำความสะอาด ยาง
- สารขัดมันใช้กับสายไวโอลีน ยาขัดเฟอร์นิเจอร์ แวกซ์
- เครื่องสำอาง เช่น สีทาขนตาและขนคิ้ว ลิปสติก Mascara, Eye shadow, Rouge
- สารในการอุดฟัน หรือพิมพ์ฟัน
- ในกาว หมึกพิมพ์
- ใช้เป็นสารกันลื่นในนักเล่นยิมนาสติก และสควอช
- ในอุตสาหกรรม การบัดกรี
ข้อสังเกต
- ถ้ามีประวัติแพ้เครื่องสำอางและชันสน ให้สังเกตว่าแพ้สิ่งต่อไปนี้หรือไม่ ได้แก่ Mascara ลิปสติก Eye shadow, Rouge
- มีผื่นอักเสบที่มือ (Hand eczema) ให้พิจารณาการสัมผัสสิ่งต่อไปนี้หรือไม่ ได้แก่ เครื่องเทศ น้ำหอม สารแต่งกลิ่นและรส กระดาษ ช่างไม้ (ขี้เลื่อยไม้)
- พบมรการแพ้ข้ามกลุ่ม (Cross-react) กับบาลซั่มของเปรู (Balsam of Peru) ได้
บาลซั่มของเปรู
เป็นยางใสหอมที่สกัดจากไม้ ใช้เป็นสารที่ทดสอบการแพ้น้ำหอม พบได้ในเครื่องสำอาง สบู่ แชมพู โคโลญน์ ครีมกันแดด โลชั่น ยาดับกลิ่นตัว น้ำยาหลังการโกนหนวด (After-shaves) กระดาษ กระดาษชำระ ยาทา ยาอมแก้ไอ ยาเหน็บทวาร สารอุดฟัน และควรหลีกเลี่ยงสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจทำให้แพ้ได้จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่แพ้
- ส้ม มะนาว องุ่น
- สารแต่งกลิ่นในขนมปัง ขนมเค้ก หรือเบเกอรี่ต่างๆ
- หมากฝรั่ง ลูกกวาด
- ชา กาแฟ บุหรี่ ที่มีกลิ่นหอม
- ไอศกรีม โคล่า
- เครื่องเทศต่างๆ
ลาโนลิน แอลกอฮอลล์
Lanolin alcohol จัดเป็น Fatty alcohol หรือแอลกอฮอล์ไขมันที่สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ ทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ (emulsifier) โดยไปจับเกาะกับน้ำได้ดี ไม่ทำให้ผิวแห้งอย่างแอลกอฮอล์ทั่วไป มักพบใน pharmaceutical และ cosmetic formulations
ผลิตภัณฑ์ยา (Pharmaceuticals) ได้แก่ ครีมทาสเตียรอยด์ ยารักษาริดสีดวง แชมพูยา
ผลิตภัณฑ์คอสเมติก เครื่องสำอางและอุปกรณ์อาบน้ำ (Cosmetics/toiletries)
ได้แก่ ครีมทามือ ครีมให้ความชุ่มชื้น (Moisturizers, Protective creams)
ครีมกันแดด (Sunscreens)
Glossy lipsticks, Makeup removers, Powders, Eye makeup
Hairspray, Shaving creams
Baby oils, diaper lotions
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Industrial)
ได้แก่ Printing ink ,Furniture and shoe polishers, Textile finishers Lubricants, cutting fluids, Paper, Leather
ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า “Lanolin-Free”
ยางและยางสังเคราะห์
ยางธรรมชาติได้จากการกรีดต้นยาง ยางสังเคราะห์โดยใช้สารจากปิโตรเลียม ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ ซึ่งต้องเติมสารหลายอย่างเข้าไป ซึ่งสารนี้เองที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ คือ
- ไธยูแรม (Thiurams)
- เมอร์แคปโทเบนโซไธอะโซล (Mercaptobenzothiazole)
- กวานิดีน (Guanidine)
- ไดไธโอคาร์บาเมต (Dithiocarbamate)
ซึ่งเป็นสารประกอบที่มีกำมะถันอยู่ด้วยจะเป็นตัวเร่ง (Accelerator) ในการเชื่อมโยงของโมเมกุลโพลีเมอร์ (Vulcanization) ซึ่งทั้งหมดสามารถพบใน
- ใช้ทำรองเท้า ถุงมือ
- ถุงยางอนามัย ยางรัด หน้ากากยาง จุกนมเด็ก
- อีลาสติกแบนเดจ (Elastic bandage) Brassiere cup หมวกสวมว่ายน้ำ ของเล่นเด็กที่ทำจากยาง
- วัสดุทางการแพทย์ที่ทำจากยาง เช่น สายสวนปัสสาวะ
- อุปกรณ์ในการล้างไต
- น้ำมันขี้ผึ้ง จาระบี
- เทปกาว
- น้ำยาในการล้างรูป
- ผงซักฟอก
- ยาฆ่าหมัดและเห็บในสัตว์
นอกจากสารตัวเร่งแล้วยังมีพวกแอนติออกซิเดนต์เพื่อป้องกันออกซิเดชัน ที่ใช้คือกลุ่มพีพีดี (PPD, paraphenylenediamine สารที่ใช้ทดสอบคือพีพีดีผสม หรือเรียกในปัจจุบันว่า ยางดำผสม (Black rubber mix)
อิพอกซีเรซิน
อิพอกซีเรซิน คือเรซินที่เป็นโมโนเมอร์มีน้ำหนักโลเลกุลต่ำ สารสำคัญ คือ บิสฟีนอลเอ (Bisphenol A) วัตถุประสงค์ คือ ใช้ทำให้สารแข็ง ทำให้วัตถุนั้นทนทาน ดังนั้นจึงพบในการประกอบอาชีพหลายชนิด ได้แก่
- ใช้เป็นสารเคลือบเงา (Iacquers) เช่น เคลือบรูป เรือ รถ
- ใช้เป็นสารป้องกันกระแสไฟฟ้า (Electric insulator)
- สารเกาะติด (Adhesive) ซึ่งใช้กันมากในกาวที่ใช้ติดไม้ ติดโลหะ ยาง พลาสติก พีวีซี แก้ว เสื้อผ้า รองเท้า ใช้ทั้งในรถ เครื่องบิน เรือ
- ถุงมือชนิดไวนิล (Vinyl)
- ในการก่อสร้าง ใช้กับพื้นบ้าน อุดรอยแยกของอิฐ
- ใช้เป็นสารให้คงตัว และคงความยืดหยุ่น และความเหนียว (Plasticizer) ในอุตสาหกรรมพลาสติก
- อื่นๆ เช่น การซ่อมแซมโบราณวัตถุ เครื่องปะดับ ถ้วยชาม สารตรึงเนื้อเยื่อในการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน หมึกพิมพ์ สีทา วัสดุในทางทันตกรรมซึ่งทำให้เกิด Burning mouth syndrome
4-tert-butylphenolformaldehyde resin, PTBP
4-tert-butylphenol formaldehyde resin เป็นกาวที่ใช้สำหรับการติดเครื่องหนัง ยาง หรือ โลหะ พบได้ใน
- รองเท้า กระเป๋า เข็มขัด สายหนังรัดข้อมือ
- เทปกาวติดเครื่องตรวจคลื่นหัวใจ
- น้ำมันเครื่อง
- กล่อง
- ผ้าอ้อม น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อ
- กระดาษทำสำเนา
- Fiberglass
- น้ำยาล้างฟิล์ม เฟอร์นิเจอร์ กาว
- หมึก (Ink)
- ยาฆ่าแมลง
- กาวต่อเล็บ ต่อฟัน
- ไม้อัด
- กายอุปกรณ์เทียม
น้ำหอม
น้ำหอมผสม (Fragrance mix) ซึ่งใช้ทดสอบถึงน้ำหอมที่สังเคราะห์มีส่วนประกอบอยู่ 8 ตัว คือ Cinnamic aldehyde, Cinnamic alcohol, Isoeugenol, Oak moss, Eugenol, Geraniol, Hydroxycitonellae และ Alpha-amylcinnamic aldehyde อย่างละร้อยละ 1 ซึ่งพบทำให้เกิดการแพ้ได้บ่อย
น้ำหอมพบมีผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์หลายชนิด ตั้งแต่เครื่องสำอาง สบู่ แชมพู โคโลญน์ ครีมกันแดด โลชั่น ยาดับกลิ่นตัว น้ำยาหลังการโกนหนวด (After-shaves) ยาระงับเหงื่อ ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ลิปสติก กระดาษ กระดาษชำระไปถึงยาฆ่าแมลง น้ำหอมจะผสมอยู่ในแอลกอฮอล์ แต่ปัจจุบันนี้มีในรูปของครีมและสเปรย์ ซึ่งนิยมกันมาก
ให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเหล่านี้ที่เขียนไว้ข้างผลิตภัณฑ์
- Geraniol
- geraniol alcohol
- geranyl alcohol
- Cinnamaldehyde
- cinnamic aldehyde
- cinnamal
- cassia aldehyde,3-phenylacrolein
- Hydroxycitronellal
- citronellal hydrate
- lilyl aldehyde
- muguet synthetic
- oxydihydrocitronellal
- Eugenol
- Allylguaiacol
- 4-hydroxy-3-methoxyallylbenzene
- 2-methoxy-4-allylphenol
- Cinnamyl alcohol
- cinnamic alcohol
- 3-phenylallyl alcohol
- Isoeugenol
- ,2-methoxy-4-(1-propenyl)phenol
- 4-propenylguaiacol
- Amylcinnamaldehyde
- amyl cinnamal
- jasmine aldehyde
- -phenylacrolein
- 2-benzylideneheptana
- Oak moss
- oakmoss oil or extract
- oakmoss absolute resin
- 4-hydroxy-3methoxypropenylbenzene
- oakmoss concrete
นิกเกิล
เป็นธาตุที่อยู่ในโลหะผสมเพื่อทำให้แข็ง ดังนั้นจึงพบตั้งแต่ใน
- ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ และเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กกล้า เหรียญเงิน กุญแจ
- ของใช้ส่วนตัว และเครื่องประดับตั้งแต่ นาฬิกา แว่นตา กิ๊บ หัวเข็มขัด กระดุมยีนส์ ตะขอเสื้อชั้นใน ซิป ที่ดัดขนตา สร้อยคอ ตุ้มหู เข็มเย็บผ้า เข็มกลัด ด้ามปากกา
- อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ ข้อเทียม เข็มฉีดยาหรือเจาะเลือด
- ผงซักฟอก
- การประกอบอาชีพและอุตสาหกรรม พบในช่างโลหะ ช่างแบตเตอรี่ ช่างชุบโลหะ ในน้ำมันเครื่อง
- อาหาร เช่น
- ถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วงอก เกาลัด สปิแนช
- หน่อไม้ฝรั่ง แครอท เห็ด หอมแดง มะเขือเทศ ข้าวโพด
- หอยนางรม
- ชา การแฟ โกโก้ ช็อกโกแลต โฮลวีท (Whole wheat) เจลลาติน (Gelatin)
- อาหารกระป๋อง
- เบียร์ ไวน์
- อาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดที่ปรุงในเครื่องครัวที่ทำด้วยเหล็กกล้าที่ไม่เป็นสนิม
เท็กซ์ไทร์ ดายน์ มิกซ์
เป็นสีย้อมทางเคมีผสม พบได้ใน น้ำหอม สีย้อมผม-ผ้า-พลาสติก-ไหมพรม กระดาษ ดอกไม้ไฟ โพลีเอสเตอร์ หรือไนล่อน
ให้หลีกเลี่ยงสีย้อมที่มีส่วนผสมเหล่านี้ที่เขียนไว้ข้างผลิตภัณฑ์
- Ethanol,2,2’-[[3-methyl-4-[(4-nitrophenyl)azo] phenyl] imino]bis
- 2,2’-[[3-methyl-4-[(4-nitrophenyl)azo]phenyl] imino]bisethanol
- 2-[(2-Hydroxy-ethyl)-[3-methyl-4-(nitro-phenylazo)-phenyl]-amino]- ethanol
- 4'-((6-Hydroxy-m-tolyl) azo)acetanilide
- 4-(2-Hydroxy-5- methylphenylazo) acetanilide
- 4-Acetamido-2'-hydroxy-5'- methylazobenzene
- Acetamide, N-(4((2-hydroxy-5- methylphenyl) azo)phenyl)-
- Acetamine Yellow CG
- Acetate Fast Yellow G
- Acetoquinone Light Yellow
- Acetoquinone Light Yellow 4JLZ
- Altco Sperse Fast Yellow GFN New
- Amacel Yellow G
- Artisil Direct Yellow G
- Artisil Yellow 2GN
- Artisil Yellow G
- Atrisil Direct Yellow G
- BRN 0753492
- C.I. 11855
- C.I. 3/11855
- C.I. Disperse Yellow 3
- C.I. Solvent Yellow 77
- CCRIS 169
- CI 11855
- CI Solvent Yellow 14 Cytembena
- CI Solvent Yellow 77
- CI Solvent Yellow 92
- CI Solvent Yellow 99
- Calcosyn Yellow GC
- Calcosyn Yellow GCN
- Celliton Discharge Yellow GL
- Celliton Fast Yellow G
- Celliton Fast Yellow GA
- Celliton Fast Yellow GA-CF
- Celliton Yellow G
- Cellutate Yellow GH
- Celutate Yellow GH
- Cibacet Yellow 2GC
- Cibacet Yellow GBA
- Cibacete Yellow GBA
- Cilla Fast Yellow G
- Diacelliton Fast Yellow G
- Disperse Fast Yellow G
- Disperse Yellow 3
- Disperse Yellow G
- Disperse Yellow Z
- Dispersive Yellow 3T
- Dispersol Fast Yellow G
- Dispersol Printing Yellow G
- Dispersol Yellow A-G
- Durgacet Yellow G
- Durosperse Yellow G
- Eastone Yellow GN
- Esteroquinone Light Yellow 4JL
- Estone Yellow GN
- Fenacet Fast Yellow G
- Fenacet Yellow G
- Genacron Yellow G
- Hispacet Fast Yellow G
- Hisperse Yellow G
- Interchem Acetate Yellow G
- Interchem Disperse Yellow GH
- Interchem Hisperse Yellow GH
- Intraperse Yellow GBA
- Intrasperse Yellow GBA Extra
- Kayalon Fast Yellow G
- Kayaset Yellow
- Kca Acetate Fast Yellow G
- Microsetile Yellow G
- Miketon Fast Yellow G
- N-(4-((2-Hydroxy-5- methylphenyl)azo) phenyl) acetamide
- Nacelan Fast Yellow CG
- Novalon Yellow 2GN
- Nyloquinone Light Yellow 4JL
- Nyloquinone Yellow 4J
- Ostacet Yellow P2G
- Palacet Yellow GN
- Palanil Yellow G
- Pamacel Yellow G-3
- Perliton Yellow G
- Reliton Yellow C
- Resiren Yellow TG
- Safaritone Yellow G
- Samaron Yellow PA3
- Serinyl Hosiery Yellow G
- Seriplas Yellow GD
- Serisol Fast Yellow GD
- Setacyl Yellow 2GN
- Setacyl Yellow G
- Setacyl Yellow P-2GL
- Silotras Yellow TSG
- Supracet Fast Yellow G
- Synten Yellow 2G
- Synton Yellow 2G
- Terasil Yellow 2GC
- Terasil Yellow GBA Extra
- Tertranese Yellow N-2GL
- Tuladisperse Fast Yellow 2G
- Vonteryl Yellow G
- Vonteryl Yellow R
- Yellow Z
- Yellow reliton G
- Zlut disperzni 3
- Zlut disperzni 3 [Czech]
- Zlut rozpoustedlova 77
- Zlut rozpoustedlova 77 [Czech]
- 2-(Ethyl(4-((4- nitrophenyl)azo)phenyl)amino)ethanol
- 4-Nitro-4'-(ethyl(2- hydroxyethyl)amino)azobenzene
- Acetamine Scarlet B
- Acetate Fast Scarlet B
- Acetoquinone Light Scarlet BLZ
- Amacel Scarlet GB
- C.I. 11110
- C.I. Solvent Red 14
- Calcosyn Brilliant Scarlet BN
- Celliton Discharge Scarlet B
- Celliton Red B
- Celliton Scarlet B
- Celliton Scarlet BA-CF
- Celliton sacrlet B (6CI)
- Celutate Scarlet BH
- Cibacet Scarlet 2B
- Cibacet Scarlet BRN
- Cibacet Scarlet BS
- Cibacete Scarlet BRN
- Cilla Scarlet B
- Diacelliton Fast Scarlet B
- Diacelliton Scarlet B
- Disperse Red 1
- Disperse Red Zh
- Disperse Scarlet B
- Disperse Scarlet Zh
- Dispersive Ruby Zh
- Dispersol Fast Scarlet B
- Dispersol Scarlet B
- Durgacet Scarlet B
- EINECS 220-704-3
- Eastone Scarlet BG
- Eniacyl Scarlet B
- Fenacet Scarlet B
- Interchem Acetate Scarlet B
- Interchem Disperse Scarlet BH
- Interchem Hisperse Scarlet BH
- Kayalon Fast Scarlet B
- Microsetile Scarlet B
- Miketon Fast Scarlet B
- Monocel Scarlet B
- NSC 57019
- Nacelan Scarlet CSB
- Neosetile Scarlet B
- Nyloquinone Red N
- Reliton Scarlet BA
- Reltion Scarlet B
- Safaritone Scarlet B
- Scarlet reliton BA
- Serinyl Hoisery Scarlet BD
- Serisol Fast Scarlet BD
- Setacyl Scarlet 2BD
- Setacyl Scarlet B
- Setacyl Scarlet RNA
- Silotras Scarlet TSR
- Supracet Fast Scarlet B
- Tertranese Scarlet N-B
- C.I. Disperse Blue 124
- Serisol 2RD
- 2-(N-Ethyl-4-((5-nitrothiazol-2-yl)azo)-m-toluidino)ethyl acetate
- 2-(Ethyl(3-methyl-4-((5-nitro-2-thiazolyl)azo)phenyl)amino)ethanol
- C.I. Disperse Blue 106
- Ethanol, 2-(ethyl (3-methyl-4-((5-nitro-2-thiazolyl)azo)phenyl)amino)
บูเดสโซไนท
เป็นยาทาสเตียรอยด์ใช้รักษาโรคผิวหนังอักเสบ แต่ตัวมันเองพบว่าอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน พบว่ามีการแพ้สเตียรอยด์ตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันได้ดังต่อไปนี้
- Amcinonide
- Desonide
- Fluorocinolone acetonide
- Flucinonide
- Halcinonide
- Triamcinolone acetonide
- Hydrocortisone-17-butyrate
- Prednicarbate
- Methylprednisolone aceponate
ควาเทอเนียม 15
เป็นสารกันเสียมีชื่อต่างๆ ในท้องตลาดเป็น
- Dowicil 75, Dowicil 100, Dowicil 200, N-(3-chloroally) hexaminium chloride
- Chloroallyl methenamide chloride
- 1-(3-chloroally)-3, 5, 7 triaza-1-azonia-adamantane choloride
เป็นสารที่ปล่อยฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาได้ พบบ่อยในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเส้นผมและเครื่องสำอาง ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่อาจพบมีควาเทอเนียม 15
- เครื่องสำอาง เช่น Mascaras, Eyeliners, Eyeshadow, Blush
- แชมพู ครีมนวดปรับสภาพผม (hair conditioner)
- แป้งทาตัว
- สบู่
- ครีมทามือ ครีมทาหน้า โลชั่น ครีมโกนหนวด ครีมกันแดด
- แวกซ์ขัดพื้น น้ำยาขัดเงาพื้น
- เทปกาว
- น้ำยาในการทอผ้า น้ำยาในการผลิตโลหะ
- หมึก
นอกจากนี้ผู้ที่แพ้ควาเทอเนียม 15 อาจมีการแพ้ข้ามกลุ่มกับสารต่อไปนี้
- Diazolidinyl urea
- Formaldehyde
- Imidazolidinyl urea
- DMDM hydantion
- Bromonitropropane diol
ไทโซคอทอลไพวาเลท
เป็นสารกันเสียที่เริ่มใช้ทดแทนพาราเบนในเครื่องสำอาง สารตัวที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ คือ ไอ โส ไธ อะโซโลน 2 ตัว คือ 5-chloro-2-methyl-4-isothiazoline-3-one และ 2- methyl-4-isothiazoline-3-one ได้ผลดีต่อทั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย พบใน
- สบู่ แชมพู ครีมนวดปรับสภาพผม (hair conditioner) เจลแต่งผม
- ครีมหรือโลชั่นทาผิว ครีมกันแดด
- Mascaras
- ผงซักฟอก
- กระดาษห่ออาหาร กระดาษเช็ดตัวในเด็ก กระดาษชำระที่เปียก
- พบในอุตสาหกรรมกระดาษ
- เทปกาว
- น้ำมัน น้ำมันเครื่อง
- หมึกพิมพ์
อิมมิดาโซลิดินิลยูเรีย
ใช้เป็นสารกันเสียที่พบบ่อยในเครื่องสำอาง และยาที่ใช้ทางการแพทย์ต่างๆ โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า “Hypoallergic”
อิมมิดาโซลิดินิลยูเรียอาจพบในผลิตภัณฑ์เหล่านี้
- เครื่องสำอาง, Facial makeup (blushes)
- ครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นผิว
- แป้งทาหน้าหรือตัว
- ครีมกันแดด หรือ Sunless tanning
- Mascaras, Eye shadow, Eye liners
- แชมพู ครีมนวดปรับสภาพผม (hair conditioner)
- ยาระงับกลิ่นตัว
- ยาทาชนิดต่างๆ
- After shave
- แชมพูอาบน้ำสุนัข แมว
นอกจากนี้ผู้ที่แพ้อิมมิดาโซลิดินิลยูเรีย อาจมีการแพ้ข้ามกลุ่มกับสารต่อไปนี้
- Diazolidinyl urea
- Formaldehyde
- Quaternium 15
- DMDM hydantion
- Bromonitropropane diol
ไทโซคอทอลไพวาเลท
เป็นยาทาสเตียรอยด์ใช้รักษาโรคผิวหนังอักเสบ แต่ตัวมันเองพบว่าอาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน พบว่ามีการแพ้สเตียรอยด์ตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันได้ดังต่อไปนี้
- Cloprednol
- Cortisone
- Cortisone-21-acetate
- Hydrocortisone
- Hydrocortisone-21-acetate
- Hydrocortisone-17-abutyrate
- Fludrocortisone
- Methylprednisolone
- Methylprednisolone aceponate
- Methylprednisolone-21-acetate
- Prednisolone
- Prednisolone-21-acetate
- Prednicarbate
เมทิลไดโบรโม กูลตาโลไนไตร์
เป็นสารกันเสียที่มีส่วนผสมของโบรไมด์ ที่ใช้ในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ในห้องน้ำ พบว่าเป็นสาเหตุของการเกิดผื่นแพ้มากขึ้น
อาจพบในผลิตภัณฑ์เหล่านี้
- เครื่องสำอาง, Facial makeup
- ครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นผิวทาตัวและใบหน้า
- เบบี้โลชั่น
- ครีมกันแดด
- กระดาษเปียกทำความสะอาด
- แชมพู ครีมนวดปรับสภาพผม (hair conditioner)
- สบู่เหลว
- น้ำมันเครื่องจักร
- น้ำมันนวด
- กาว เทปกาว
คาบา มิกซ์
เป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าแมลง (Pesticides) หรือพบในกระบวนการผลิตยาง สามารถพบใน
- อุตสาหกรรมการผลิตยาง เช่น รองเท้า รองเท้าบู๊ท ถุงมือ ถุงยางอนามัย ยางรัด หน้ากากยาง จุกนมเด็ก อีลาสติกแบนเดจ (Elastic bandage) Brassiere cup หมวกสวมว่ายน้ำ ของเล่นเด็กที่ทำจากยาง Underwear elastic, Goggles, Wheel on equipment
- อาจพบในสบู่ แชมพู Adhesives, Anti-rust products
โคบอลต์
Cobalt chloride hexahydrate เป็นโลหะที่ให้สีน้ำเงินที่ใช้ในผลิตภัณฑ์โลหะหรือโลหะอื่นๆ ที่ใช้ทำอัลลอยด์ (metal alloys) มักพบผสมร่วมกับโลหะนิกเกิล หรือโครเมี่ยม ทำให้เกิดการแพ้ร่วมกันได้ของทั้งสามโลหะ พบได้ใน
- ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ และเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กกล้า เหรียญเงิน กุญแจ ตะปู หมุด เครื่องครัว ช้อนส้อม
- ของใช้ส่วนตัว และเครื่องประดับ นาฬิกา แว่นตา กิ๊บ หัวเข็มขัด กระดุมยีนส์ ตะขอเสื้อชั้นใน ซิป ที่ดัดขนตา สร้อยคอ ตุ้มหู เข็มเย็บผ้า เข็มกลัด ด้ามปากกา แม็กเนต
- อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ ข้อเทียม สารเคลือบฟัน เข็มฉีดยาหรือเจาะเลือด ยาวิตามินบี 12 สีน้ำเงินที่ใช้สัก (tattoo)
- ผงซักฟอก ซีเมนต์ น้ำมันเครื่องในการชุบโลหะ
- การประกอบอาชีพและอุตสาหกรรม พบในช่างโลหะ ช่างแบตเตอรี่ ช่างชุบโลหะ ในน้ำมันเครื่อง ก้อนอิฐ ซีเมนต์ ถ้วยชามเซรามิค สีทาบ้านทาถ้วยชามที่ให้สีน้ำเงิน สีสเปรย์สีน้ำเงิน หมึกพิมพ์ สีย้อมที่ให้สีน้ำตาลอ่อน
- พบได้ในอาหาร เช่น
- เนื้อสัตว์ นม ตับ ไต หอยนางรม หอยกาบ หอยแครง
- แอปริคอร์ท ถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วงอก กระหล่ำปลี เกาลัด กานพูล สปิแนช
- ชา กาแฟ โกโก้ ช็อคโกแลต เบอรี่
- อาหารกระป๋อง
- เบียร์ ไวน์
คอมโพสิเต มิกซ์
เป็นสารที่สกัดจากพืชตระกูล Astraceae พบได้ในเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหนังและเส้นผม ยาลดการอักเสบ ทิงเจอร์ น้ำยาบ้วนปาก ยาอมสมุนไพร
ให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเหล่านี้ที่เขียนไว้ข้างผลิตภัณฑ์
- Achillea
- Achillea millefolium
- Arnica
- Arnica flower
- Arnica latifolia
- Arnica montana
- Blue chamomile oil
- Caswell No. 167E
- Chamomile
- Common tan
- Common yarrow
- FEMA No. 2273
- Feverfew
- Flores arnicae
- German chamomile
- German chamomile extract
- Leopard’s bane
- Matricaria chamomilla L.
- Matricaria oil
- Milfoil
- Mountain arnica
- Mountain tobacco
- Oil of matricaria
- Wild chamomile oil
- Wolf’s bane
- Yarrow
- Yarrow herb
- EPA Pesticide Chemical Code 128853
ไดอะโซลิดินิลยูเรีย
ใช้เป็นสารกันเสียที่พบบ่อยในเครื่องสำอางและยาที่ใช้ทางการแพทย์ต่างๆ อาจพบในผลิตภัณฑ์เหล่านี้
- เครื่องสำอาง, Facial makeup (blushes)
- ครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นผิว
- แป้งทาหน้าหรือตัว
- ครีมกันแดด หรือ Sunless tanning
- Mascaras, Eye shadow, Makeup removers
- แชมพู ครีมนวดปรับสภาพผม (hair conditioner)
- ยาระงับกลิ่นตัว
- ยาทาชนิดต่างๆ
- สบู่, Cleansers, ผงซักฟอก
- แชมพูอาบน้ำสุนัข แมว
นอกจากนี้ผู้ที่แพ้อิมมิดาโซลิดินิลยูเรีย อาจมีการแพ้ข้ามกลุ่มกับสารต่อไปนี้
- Diazolidinyl urea
- Formaldehyde
- Quaternium 15
- DMDM hydantion
- Bromonitropropane diol
น้ำหอม
น้ำหอมผสม (Fragrance mix) ซึ่งใช้ทดสอบถึงน้ำหอมที่สังเคราะห์มีส่วนประกอบอยู่ 6 ตัว คือ Coumarin, Lyral, Citronellol, Farnesol, Citral, a-Hexylcinnamicaldehyde
ซึ่งพบทำให้เกิดการแพ้ได้บ่อย
น้ำหอมพบมีผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์หลายชนิด ตั้งแต่เครื่องสำอาง สบู่ แชมพู โคโลญน์ ครีมกันแดด โลชั่น ยาดับกลิ่นตัว น้ำยาหลังการโกนหนวด (After-shaves) ยาระงับเหงื่อ ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ลิปสติก กระดาษ กระดาษชำระไปถึงยาฆ่าแมลง น้ำหอมจะผสมอยู่ในแอลกอฮอล์ แต่ปัจจุบันนี้มีในรูปของครีมและสเปรย์ ซึ่งนิยมกันมาก
ให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเหล่านี้ที่เขียนไว้ข้างผลิตภัณฑ์
- 2H-1-Benzopyran-2-one
- Coumarin [NF X]
- Tonka bean camphor
- 1,2-Benzopyrone
- 2-Oxo-1,2-benzopyran
- 2-Propenoic acid, 3-(2-hydroxyphenyl)-, delta-lactone
- 2-Propenoic acid, 3-(2-hydroxyphenyl)-delta-lactone
- 2H-1-Benzopyran, 2-oxo-
- 2H-1-Benzopyran-2-one
- 2H-Benzo(b)pyran-2-one
- 3-(2-Hydroxyphenyl)-2-propenoic delta-lactone
- 5,6-Benzo-alpha-pyrone
- 5-17-10-00143 (Beilstein Handbook Reference)
- AI3-00753
- BRN 0383644
- Benzo-alpha-pyrone
- CCRIS 181
- Caswell No. 259C
- Cinnamic acid, o-hydroxy-, delta-lactone
- Coumarin
- Coumarinic anhydride
- Coumarinic lactone
- Cumarin
- EINECS 202-086-7
- Trimethyl dodecatrienol
- EPA Pesticide Chemical Code 127301
- Rattex
- Tonka bean camphor
- cis-o-Coumaric acid anhydride
- cis-o-Coumarinic acid lactone
- o-Coumaric acid lactone
- o-Hydroxycinnamic acid lactone
- o-Hydroxycinnamic lactone (มีต่อ)
- 4-(4-Hydroxy-4-methylpentyl)-3-cyclohexene-1-carboxaldehyde
- BRN 2046455
- EINECS 250-863-4
- 3-Cyclohexene-1-carboxaldehyde, 4-(4-hydroxy-4-methylpentyl)-
- 4-(4-Hydroxy-4-methylpentyl) cyclohex-3-enecarbaldehyde
- 3-Cyclohexene-1-carboxaldehyde, 4-(4-hydroxy-4-methylpentyl)-
- 2,6-Dimethyl-2-octen-8-ol
- 3,7-Dimethyl-6-octen-1-ol
- 4-01-00-02188 (Beilstein Handbook Reference)
- AI3-25080
- BRN 1721507
- CCRIS 7452
- Cephrol
- Citronellol (ex. Java citronella oil) (natural)
- Citronellol (natural)
- EINECS 203-375-0
- Elenol
- FEMA No. 2309
- NSC 8779
- Rhodinol
- Rodinol
- 2,6,10-Dodecatrien-1-ol, 3,7,11-trimethyl-
- 3,7,11-Trimethyl-2,6,10-dodecatrienol
- 3,7,11-Trimethyl-2,6,10-dodecatrien-1-ol
- ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่เขียนว่า “Fragrance-Free”
ฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน
พบมีผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้ (wood products)
ให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเหล่านี้ที่เขียนไว้ข้างผลิตภัณฑ์
- Formaldehyde, phenol polymer
- Paraformaldehyde, formaldehyde, phenol polymer
- Paraformaldehyde, phenol polymer
- Phenol formaldehyde resin
- Phenol, formaldehyde polymer
- Phenol, polymer with formaldehyde
- Phenol-formaldehyde resin
ฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน
(P-tert-butylphenol formaldehyde resin)
บีพีเอฟเรซิน (BPF resin, Paratertiarybity phenol formaldehyde resin) ใช้เป็นสารเกาะติดมีสีน้ำตาลเหนียวมากและติดเร็ว
- ใช้ยึดหนัง เช่น รองเท้า สายนาฬิกา เข็มขัด กระเป๋าถือ หมวก
- ใช้ติดยาง เช่น ยางของกระจกรถยนต์
- อาจจะสัมผัสเมื่อใช้เรซินนี้ในการแก้ไขซ่อมแซมอุปกรณ์ในบ้าน
- พบในวัสดุทางการแพทย์ เช่น เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) กายอุปกรณ์เทียม (Prosthesis)
- อาจสัมผัสสารนี้ในอาชีพที่ทำไฟเบอร์กลาสส์ (Fiberglass) โรงหล่อ การผลิตรถยนต์ หมึก กาว ช่างซ่อมรองเท้า
N-Isopropyl-N-phenyl-4-phenylenediamine, IPPD
เป็น Rubber additives หรือ แอนติออกซิเดนต์ เพื่อป้องกันออกซิเดชันที่ใช้ คือ กลุ่ม ไอพีพีดี (IPPD) สามารถพบในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยาง
- การทำรองเท้า รองเท้าบู๊ท ถุงมือ
- ถุงยางอนามัย ยางรัด หน้ากากยาง จุกนมเด็ก
- อิลาสติกแบนเดจ (Elastic bandage) Brassiere cup หมวกสวมว่ายน้ำ ของเล่นเด็กที่ทำจากยาง Underwear elastic, Goggles, Wheel on equipment
อาจมีการแพ้ข้ามกลุ่มกับ ยาย้อมสีผม สีย้อมผ้าได้
พาราเบน (Paraben mix)
เป็นสารที่ใช้เป็นสารกันเสีย ซึ่งป้องกันเชื้อราได้มากกว่าเชื้อแบคทีเรีย การได้รับพาราเบนอาจได้รับจาก
- จากเครื่องสำอาง ซึ่งพบบ่อยที่สุด
- ยาทา ยาฉีด เช่น ยาปฏิชีวนะ Kenacort A ยาชา รังสีที่ใช่ในการรักษา วิตามิน ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ อินซูลิน และเฮพาริน
- อาหาร เช่น น้ำสลัด มายองเนส มัสตาด ซอสพริก ขนมปัง เบเกอรี่ต่างๆ และอาหารแช่แข็ง
พาราเบนมักจะไม่ทำให้เกิดผื่นในผิวหนังปกติ แต่จะทำให้เกิดผื่นในภาวะที่มีการบุบสลายของผิวหนังที่เรียกว่า Paraben paradox ดังนั้น จะพบการแพ้พาราเบนจากยาทามากกว่าจากเครื่องสำอาง และบางครั้งคนที่แพ้พาราเบนสามารถใช้โลชั่นที่มีพาราเบนทาบนผิวหนังปกติได้
ยาทาสเตียรอยด์ที่ไม่มีพาราเบนและสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่แพ้พาราเบน ได้แก่ Diprosone, Betnovate, Dermovate, Topicorte, Esperson, Aristocort ASesquiterpene lactone mix
พบในพืชหลายชนิด มีองค์ประกอบของ alantolactone, dehydrocostus lactone, and costunolid คนที่แพ้ Sesquiterpene lactone mix อาจมีการแพ้ พืช ละอองเกสรดอกไม้ ชา เครื่องสำอาง ครีม โลชั่น หรือยาทาที่ทำจากพืชหรือสมุนไพร
ให้หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเหล่านี้ที่เขียนไว้ข้างผลิตภัณฑ์
- Alantolactone
- CAS RN: 546-43-0
- EINECS 208-899-3
- Costunolide
- Costus Lactone
- CAS RN: 553-21-9
- Dehydrocostunolide• Dehydrocostus Lactone
- CAS RN: 477-43-0
ให้หลีกเลี่ยงพืชในตระกูลเหล่านี้
- Arnica
- Artichoke
- Bitterweed
- Boneset
- Broomweed
- Burdock
- Capeweed
- Chamomile
- Champaca of perfumery
- Chicory
- Chrysanthemum
- Cocklebur
- Cosmos
- Costus of perfumery
- Cotton thistle
- Encelia
- Feverfew
- Fireweed
- Fleabane
- Gayule
- Hampweed
- Ironweed
- Laurel
- Leafcup
- Lettuce
- Liverwort
- Marguerite
- Marigold
- Marsh elder
- Mugwort
- Oxeye
- Parthenium
- Pyrethrum
- Ragweed
- Sagebrush
- Sneezeweed
- Sow thistle
- Star thistle
- Stinkwort
- Sunflower
- Tansy
- Tulip tree
- Whitewood of commerce
- Wormwood and yarrow
* ราคาตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธ.ค. 2567
ค่าบริการ และค่าใช้จ่ายต่างๆ
บริการสุขภาพอื่น ๆ
ติดต่อเรา
193 ถ.ศรีจันทร์ ต.ในเมือง
อ.เมือง จ.ขอนแก่น
40000
ขอบคุณที่จองแพ็กเกจกับโรงพยาบาลขอนแก่นราม
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ที่หมายเลขโทรศัพท์ 043-002-002 ต่อ 1011, 1012
คุกกี้และความเป็นส่วนตัว
เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย