degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

ให้บริการครอบคลุมตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยอาการ การรักษา การให้ยา รวมถึงการฉีดวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้ โดยแพทย์เฉพาะทางสาขาโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกัน

โรคภูมิแพ้เกิดจากร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป แล้วกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน และมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากผิดปกติ ภายหลังเมื่อได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ภูมิคุ้มกันดังกล่าวก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการ

  • เป็นที่ตา เรียกว่า เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ : Allergic conjunctivitis
  • เป็นที่จมูก เรียกว่า โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ : Allergic rhinitis หรือโรคแพ้อากาศ
  • เป็นที่หลอดลม เรียกว่า โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด : Asthma
  • เป็นที่ผิวหนัง เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ : Atopic dermatitis
  • เป็นที่ระบบทางเดินอาหาร เรียกว่า โรคแพ้อาหาร : Food allergy

อาการภูมิแพ้หืดหอบที่พบได้บ่อย

  • คัดจมูก เป็นหวัดบ่อยครั้ง
  • คันที่เพดานปาก
  • น้ำมูกไหล จามบ่อย คัดจมูก คันคอ
  • มีผื่นคันที่ผิวหนัง หรือเป็นผื่นลมพิษ โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เคืองตา น้ำตาไหล
  • หอบหืด
  • ไอ โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • แพ้อาหาร หรือแพ้ยา
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

ถ้ามีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งควรรีบมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุ และให้การรักษาอย่างทันท่วงทีก่อนที่อาการจะลุกลาม และกลายเป็นอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรงที่เรียกว่า อนาไฟแลกซิส Anaphylaxis คือมีอาการบวมของใบหน้าและระบบทางเดินหายใจ หากรักษาไม่ทันอาจช็อคและเสียชีวิตได้

  • งดยาแก้แพ้ก่อนวันนัด 7 วัน
  • ยาบางชนิดอาจมีส่วนผสมของยาแก้แพ้ เช่น ยาแก้หวัด ยาลดน้ำมูก ยาแก้คัน ต้องงดก่อนมาทดสอบประมาณ 7 วัน
  • ยาสเตียรอยด์ชนิดทาผิวหนัง ก็มีผลกดปฏิกิริยาการทดสอบ ควรงดก่อนเช่นกัน
  • ในกรณีที่ใช้ยาพ่นต่างๆ เช่น พ่นจมูก หรือยาพ่นสูด ยังสามารถใช้ได้ตามปกติ ไม่ต้องงด
  • ไม่ต้องงดน้ำงดอาหารก่อนมาทดสอบ

Specific IgE : ตรวจสารก่อภูมิแพ้ด้วยวิธีตรวจเลือด
มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าวิธี Skin Test ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำการทดสอบทางผิวหนังได้

Skin Test : ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง
โดยการสะกิดผิวหนังโดยใช้ปลายเข็มเพื่อให้น้ำยาที่ต้องการทดสอบซึมลงสู่ผิวหนัง รอ 15 นาที ถ้าผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดใด จะเกิดปฏิกิริยา นูน บวม แดง บริเวณนั้นๆ โดยทั่วไปสามารถทดสอบได้ทุกเพศทุกวัย แต่ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน และในผู้สูงอายุ อาจให้ผลลบลวงได้ เพราะความไวของผิวหนังน้อย

skin Test

เป็นการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ เพื่อให้ทราบว่าผู้ป่วยแพ้สารชนิดใด ทำได้ 3 วิธี

  1. การเจาะเลือด : Specific IgE
  2. การทดสอบแบบแปะผิวหนัง : Patch Test
  3. การทดสอบทางผิวหนัง : Skin Test
โดยทั่วไปแล้วนิยมวิธีการ ทดสอบทางผิวหนัง เพราะมีความแม่นยำสูง ทำได้ง่ายรวดเร็ว และให้ผลทันที

คือใช้วัคซีนที่เตรียมจากสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ มากระตุ้นให้ร่างกายของผู้ป่วยสร้างภูมิต้านทานต่อสิ่งที่แพ้ขึ้น โดยวิธีฉีดเข้าใต้ผิวหนังทีละน้อยๆ ในระยะ 2-3 เดือนแรก จะฉีดสัปดาห์ละครั้ง โดยฉีดที่แขนสลับข้างกัน และค่อยๆ เพิ่มปริมาณของวัคซีนทีละน้อยตามลำดับ

หลังจากฉีดได้ขนาดสูงสุดแล้ว จะค่อยๆ เพิ่มระยะห่างของการฉีดวัคซีนออกไปจนถึงฉีดแค่เดือนละครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นคงระดับสูงอยู่ได้ตลอดเวลา และควรฉีดเดือนละครั้งต่อเนื่องไปนาน 3 ปี จึงจะพิจารณาหยุดฉีดได้

ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีนภูมิแพ้ครบ 3 ปีขึ้นไป จะมีระดับภูมิคุ้มกันที่ยาวนานอย่างต่อเนื่องไปอีกหลายสิบปีจนเกือบตลอดชีวิตหลังหยุดฉีด

infographic SkinTest


ข้อดีของการฉีดวัคซีนภูมิแพ้

  • เป็นการรักษาที่ต้นเหตุ คือแก้ไขที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีความผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการทุกระดับตั้งแต่แพ้น้อยจนถึงแพ้มาก หรือผู้ที่รักษาด้วยยา หรือวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผลดี หรือผู้ที่ใช้ยาแล้วมีผลข้างเคียงของยามาก หรือผู้ป่วยไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารที่ตนเองแพ้ได้ ตลอดจนผู้ที่ไม่อยากใช้ยาบ่อยๆ
  • ผู้ที่เป็นโรคหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ การฉีดวัคซีนจะช่วยให้อาการของโรคเหล่านี้ทุเลาลง สามารถลดการใช้ยาถึงหยุดใช้ยาได้ (ขึ้นกับระดับความรุนแรงเริ่มต้นของผู้ป่วย)
  • ผู้ที่มารับการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ อาการจะดีขึ้นประมาณร้อยละ 70-90 ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของการมาฉีด ชนิดของสารก่อภูมิแพ้ และขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย

การปฏิบัติตัวหลังได้รับวัคซีนภูมิแพ้

  • ต้องนั่งพักให้แพทย์ดูอาการ และสังเกตการบวมบริเวณที่ฉีดทุกครั้ง อย่างน้อย 30 นาที
  • ห้ามออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก หลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เนื่องจากจะทำให้สารก่อภูมิแพ้ที่ฉีดมีโอกาสดูดซึมไปทั่วร่างกายมากขึ้น อาจทำให้เกิดอาการแพ้ทั่วร่างกายได้
  • หลังฉีด 24 ชั่วโมง ให้สังเกตการบวมหรือผื่นแดงบริเวณที่ฉีด และบันทึกไว้ และก่อนฉีดวัคซีนทุกครั้ง ควรรายงานแพทย์ว่ามีการบวม แดงบริเวณที่ฉีดครั้งที่แล้วหรือไม่ ขนาดเท่าใด และมีอาการผิดปกติอย่างอื่นหรือไม่ เพื่อแพทย์จะได้สั่งขนาดวัคซีนที่จะฉีดให้พอเหมาะ ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ได้
  • ผู้ป่วยควรดูแลรักษาสุขภาพทั่วไปให้ดี โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกประเภท และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ดี ภายหลังได้รับการกระตุ้นจากวัคซีน ซึ่งจะทำให้อาการโรคภูมิแพ้ดีขึ้นได้มากและเร็ว


เบอร์โทร

โทร : 043-002-002 ต่อ 2240, 2239

เวลาทำการ

เปิดบริการ ทุกวัน เวลา 8.00-20.00 น.

สถานที่ตั้ง

อาคาร 2 ชั้น 2

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม
Terms And Conditions
Linea