degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

ตัวแปรต่างๆ ที่ควรรู้ในใบรายงานตรวจสุขภาพ

การทำงานของอวัยวะระบบต่างๆ ของคนเปรียบเสมือนการทำงานของเครื่องจักร หรือรถยนต์ที่ต้องได้รับการตรวจสภาพการใช้งานอย่างสม่ำเสมอว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายหรือไม่ เพื่อทำการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ฉะนั้นในแต่ละปี ควรจะมีการตรวจสุขภาพเพื่อค้นหาโรคที่อาจไม่มีอาการแสดงออกในระยะแรก ถ้าตรวจพบความผิดปกติได้เร็วก็จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในการตรวจสุขภาพแต่ละครั้ง เราจะตรวจดูอะไรบ้าง ?

รายการตรวจ

วัตถุประสงค์/ประโยชน์

ตรวจร่างกายโดยแพทย์

PE

เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียด ตรวจดูลักษณะและอวัยวะต่างๆ
เช่น ปอด หู คอ จมูก การเต้นของหัวใจ ชีพจร ปกติหรือไม่

ความดันโลหิต

Blood Pressure

ความดันของเลือดในหลอดเลือดแดง ซึ่งจะวัดในขณะที่หัวใจบีบตัวและหัวใจคลายตัว
ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 mmHg.ถือว่ามีความดันสูงกว่าปกติ ควรตรวจซ้ำ
และถ้ายังสูงต่อเนื่อง ถือว่ามี “ โรคความดันโลหิตสูง ”

เอกซเรย์ทรวงอก

Chest X-ray

เพื่อตรวจดูสภาพปอด เยื่อหุ้มปอดและหัวใจและกระดูกช่องอก
ค้นหาความผิดปกติ เช่น วัณโรค เนื้องอก โรคถุงลมโป่งพองและหัวใจโต

ความสมบูรณ์ของเลือด

CBC

เพื่อตรวจดูความเข้มข้นของเม็ดเลือด บ่งบอกภาวะโลหิตจาง
ดูรูปร่างของเม็ดเลือดแดง (ธาลัสซีเมีย) ปริมาณเกล็ดเลือด ปริมาณและชนิดของเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ
อาจเกิดจากการติดเชื้อ และเพื่อตรวจหามะเร็งในเม็ดเลือด

ระดับน้ำตาลในเลือด

FBS

เพื่อค้นหาโรคเบาหวาน

ระดับไขมันในเลือด

(โคเลสเตอรอล)

Cholesterol

เพื่อดูระดับไขมันโคเลสเตอรอล ว่าสูงเกินไปหรือไม่
หากสูงจะทำให้หลอดเลือดตีบ หรืออุดตัน เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
อัมพาต อัมพฤกษ์ได้

ระดับไขมันในเลือด

(ไตรกลีเซอไรด์)

Triglyceride

เพื่อตรวจหาไขมันในเส้นเลือดที่อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจตีบ เส้นเลือดสมองตีบ
การรับประทานอาหารแป้ง ของหวานมากเกิน ร่วมกับขาดการออกกำลังกาย และผู้ที่ดื่มเหล้า
มีผลทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง

ไขมันความหนาแน่นสูง

HDL

เป็นอนุภาคไขมัน “ชนิดดี” มีคุณสมบัตินำโคเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อต่างๆ กลับไปย่อยสลายที่ตับ
ผู้ที่มีระดับ HDL ต่ำจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าผู้ที่มีระดับ HDL สูง

ไขมันความหนาแน่นต่ำ

LDL

เป็นไขมันที่ไม่ดี ถ้ามีปริมาณมากจะมีความเสี่ยงโรคหัวใจสูง

การทำงานของไต

BUN,Creatinine

เป็นการวัดระดับสารเคมีในเลือดเพื่อดูความสามารถของไตในการขับถ่ายของเสีย
และการตรวจหาภาวะไตเสื่อม ไตวาย

การทำงานของตับ

SGOT,SGPT

เพื่อตรวจหาปริมาณเอนไซม์ในตับว่าผิดปกติหรือไม่
หากสูงกว่าปกติแสดงว่าอาจมีอาการตับอักเสบ

การทำงานของตับอย่างละเอียด

Alkaline Phos. ,

Bilirubin

เพื่อตรวจหาความผิดปกติของตับ เช่น ดีซ่าน ท่อน้ำดีอุดตัน

ระดับกรดยูริกในเลือด

Uric acid

กรดยูริกสูงทำให้เกิดโรคเกาต์ ซึ่งเป็นโรคข้ออักเสบ
และอาจก่อให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

ตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ

Urinalysis

ตรวจความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ จากโรคเบาหวาน โรคไตอักเสบ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

ตรวจอุจจาระ

Stool Exam.

ตรวจหาความผิดปกติของทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย หาเชื้อพยาธิ

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ

EKG

ค้นหาความผิดปกติของหัวใจ เช่น การเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต
และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน

U/S Upper Abdomen

ตรวจดูอวัยวะภายในช่องท้องส่วนบนว่าผิดปกติหรือไม่ ได้แก่ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี ตับอ่อน ไต
และเส้นเลือดขนาดใหญ่


© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม