degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

โปรแกรมตรวจสุขภาพพรีเมียม สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน


หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว ทำไมไม่เหมือนเดิม ? เมื่อหายจากการติดเชื้อโควิดแล้ว มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่รู้สึกว่าอาการผิดปกติบางอย่างไม่หายไป หรือมีอาการใหม่เกิดขึ้น เป็นอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หายใจไม่อิ่ม ไอ ปวดข้อ นอนไม่หลับ ซึ่งอาการที่หลงเหลืออยู่นี้เรียกว่า ภาวะ “โควิดระยะยาว Long COVID-19” โดยมีโอกาสเกิดขึ้น 30-50% ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว

ซึ่งอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย ตั้งแต่ระบบหายใจ ระบบประสาท และสมอง ระบบทางเดินอาหารหัวใจ และหลอดเลือด

อาการแต่ละอย่างอาจหายได้ช้าเร็วแตกต่างกันอาการบางอย่างอาจจะดำเนินต่อไปในระยะยาว ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเรื้อรังหรือรุนแรงขึ้นเป็นอันตรายได้ เช่น อาการเหนื่อยง่าย สมองล้า หรือปัญหาด้านการหายใจ จากการมีแผลเป็น พังผืดในเนื้อปอด เป็นต้น

ดังนั้น หลังจากหายป่วยแล้ว ถ้ามีโอกาสควรเข้ารับการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของแพทย์ และหมั่นสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ฟื้นตัว และกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้เร็วขึ้นนอกจากนี้ ผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19

ควรตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้รู้เท่าทันความผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม

แนะนำสำหรับ ผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19

  1. มีเชื้อลงปอด ปอดอักเสบ
  2. มีโรคประจำตัว
  3. มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  4. มีภาวะอ้วน
  5. สงสัยว่ามีอาการของ Long COVID ได้แก่
    • เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
    • ปวดศีรษะ มึนศีรษะ
    • หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม
    • เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น
    • ไอ เจ็บคอ มีไข้ มีผื่น
    • ปวดเมื่อยตามตัว กล้ามเนื้อไม่มีแรง
    • ผมร่วง ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น
    • ท้องเสีย ท้องอืด
    • สมองล้า ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ
    • วิตกกังวล ซึมเศร้า เครียด นอนไม่หลับ

หมายเหตุ - ราคาตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 ธ.ค. 2567

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม