ส่องกล้องทางเดินหายใจส่วนล่าง Bronchoscopy
การส่องกล้องทางเดินหายใจส่วนล่าง หรือการส่องกล้องตรวจหลอดลม เป็นการตรวจดูกล่องเสียง หลอดลมคอ และหลอดลม โดยส่องกล้อง Flexible fiber optic bronchoscope ผ่านทางจมูก หรือปาก ผ่านไปยังกล่องเสียง และหลอดลม เพื่อตรวจดูลักษณะผิวภายในหลอดลม และยังสามารถตัดเนื้อเยื่อออกมาเพื่อตรวจดูลักษณะของเซลล์ โดยใช้เครื่องมือเล็กๆ ผ่านช่องของกล้อง และสามารถใช้น้ำเกลือล้างภายในหลอดลม (Bronchial washing) เพื่อนำน้ำที่ได้ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
![]() |
![]() |
กล้อง Flexible fiber optic bronchoscope
ประโยชน์ของการส่องกล้องทางเดินหายใจส่วนล่าง
- เพื่อดูก้อนเนื้องอก ดูการอุดกั้น ตำแหน่งเลือดออก หรือสิ่งแปลกปลอมในท่อหลอดลม
- เพื่อช่วยวินิจฉัยมะเร็งหลอดลม วัณโรคปอด และความผิดปกติอื่นๆ
- เพื่อนำเอาสิ่งแปลกปลอม เช่น ก้อนมะเร็ง หรือก้อนเนื้องอก เสมหะที่อุดตันและสารคัดหลั่งออกจากหลอดลม
- เพื่อรักษาภาวะถุงลมปอดรั่ว โดยวิธีการฉีด Glu injection เข้าไปอุดรูรั่ว
การเตรียมตัวเพื่อการส่องกล้องทางเดินหายใจส่วนล่าง
- งดน้ำและอาหารเป็นเวลา 6 – 12 ชั่วโมงก่อนตรวจ เพื่อป้องกันการสำลักเศษอาหารเข้าสู่หลอดลม
- ให้พาญาติมาด้วย และหลังจากส่องกล้องห้ามขับรถเอง
- ต้องเอกซเรย์ทรวงอก และตรวจเลือดก่อน หรืออาจมีการเอกซเรย์ระหว่างการส่อง และหลังส่องกล้องตรวจหลอดลมตามความเหมาะสม
- การตรวจจะให้ยาชาเฉพาะที่พ่นทางจมูกและปากเพื่อกดรีเฟล็กซ์การกลืน ผู้ป่วยจะรู้สึกขมๆ ในคอและอาจรู้สึกไม่สุขสบายระหว่างการตรวจ จากนั้นจะได้รับยานอนหลับทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
- ระหว่างตรวจผู้ป่วยจะได้รับการให้ออกซิเจนตลอดเวลาเพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ
- หากใส่ฟันปลอมให้ถอดออก
- ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น มีเลือดออกหลังทำการตัดชิ้นเนื้อ