degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

นิ้วล็อค

โรคนิ้วล็อค เกิดจากเยื้อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้วที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้วอักเสบ หนาตัวและบวมขึ้น ทำให้งอและเหยียดนิ้วมือได้ไม่ดี รู้สึกเหมือนนิ้วถูกล็อคไว้

โดยอาการจะเริ่มจากปวดบริเวณโคนนิ้วมือ มีอาการสะดุดเวลาขยับนิ้ว งอนิ้ว และเหยียดนิ้ว

ใครเสี่ยงนิ้วล็อค ?

  • เกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ใช้งานนิ้วในท่างอมากเกินไป เช่น พนักงานออฟฟิศใช้นิ้วมือพิมพ์คีย์บอร์ด ขยับเมาส์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ กลุ่มคนที่ใช้คอมพิวเตอร์เล่นเกม หรือคนที่ใช้สมาร์ทโฟนทั้งวัน
  • ผู้ที่ใช้แรงกำมือเยอะ ใช้งานมืออยู่ในท่าเกร็งบ่อยๆ คนทำอาหาร แม่บ้าน งานช่าง เป็นต้น

อาการ

ระยะที่ 1 ปวด ตึงบริเวณโคนนิ้วมือ

ระยะที่ 2 มีอาการสะดุดเวลากำหรือเหยียดนิ้วมือ แต่ยังเหยียดนิ้วได้เอง

ระยะที่ 3 กำมือแล้วเกิดอาการล็อค ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้เอง ต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งมาช่วยง้างออก

ระยะที่ 4 ไม่สามารถกำมือได้สุด หรือไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ และอาจมีข้อนิ้วมืองอผิดรูปร่วมด้วย

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการหิ้ว ดึง หยิบจับของที่มีน้ำหนักมากเกินไป ควรใส่ถุงมือหรือใช้การอุ้ม ใช้รถเข็นแทน
  • ไม่ควรบิดผ้าแรงๆ เพราะจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นบวมเป็นจุดเริ่มต้นของนิ้วล็อค
  • พักและยืดกล้ามเนื้อมือเป็นระยะ เมื่อต้องใช้มือทำงานต่อเนื่องนานๆ หรือต้องกำมือ เกร็งมือมากๆ

การรักษา

มีหลายวิธี ขึ้นกับอาการและความรุนแรงของโรค ได้แก่ รับประทานยา ดามนิ้ว ทำกายภาพบำบัด ฉีดยา ผ่าตัด

การดูแลและบริหารกล้ามเนื้อด้วยตัวเอง

  1. พักการใช้งานในส่วนที่เกิดอาการ
  2. แช่มือในน้ำอุ่น 15-20 นาที
  3. แช่มือในน้ำเย็น 15 นาที หากมีอาการปวดบวมและระบมมาก
  4. ยืดเหยียดนิ้วมือขึ้นและลง 3-5 รอบ

1. นวดคลึงที่ฐานนิ้วที่เป็นคลึงวนเบาๆ 3-5 รอบ

2. ใช้หัวแม่มืออีกข้างรูดเข้าหาข้อตลอดความยาวของนิ้วที่มีปัญหา พร้อมกับงอนิ้วลง 10 ครั้ง/set ทำ 3-5 set

3. ใช้หัวแม่มืออีกข้างรูดออกจากข้อตลอดความยาวของนิ้วที่มีปัญหา พร้อมกับเหยียดนิ้วขึ้น 10 ครั้ง/set ทำ 3-5 set

4. ทำมือเป็นรูปปากเป็ด(นิ้วชิด) 10 ครั้ง/set 3-5 set

5. กางและหุบนิ้วทุกนิ้ว เป็นดอกไม้บานและหุบ 10 ครั้ง/set

6. กำและแบมือ 10 ครั้ง/set ทำ 3-5 set

การรักษานิ้วล็อคทางกายภาพบำบัด ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์
  • เลเซอร์กำลังสูง High Power Laser จะใช้ในกรณีที่มีอาการอักเสบของเอ็นและปลอกหุ้มเอ็นข้อนิ้วมือ ที่มีอาการปวดมาก หรือบวม โดยเลเซอร์จะช่วยลดกระบวนการอักเสบ ทำให้อาการปวดลดลง ลดการบวม กระตุ้นการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ ทำให้สามารถขยับมือ และใช้งานมือ และข้อนิ้วมือได้สะดวกขึ้น ช่วยฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

นักกายภาพบำบัดกำลังใช้เครื่อง High Power Laser

  • คลื่นกระแทก Radial Shock Wave จะใช้ในกรณีที่อาการอักเสบและอาการปวดลดลงแล้ว แต่เริ่มมีอาการติดของนิ้วมือ เคลื่อนไหวสะดุด โดยตัวคลื่นจะเข้าไปช่วย กระตุ้นการสร้างหลอดเลือดใหม่ ซ่อมแซม ซ่อมสร้างเนื้อเยื่อและเส้นเอ็น ส่งผลให้เยื้อหุ้มเอ็นอ่อนนุ่มขึ้น ทำให้สามารถเคลื่อนไหวนิ้วมือได้สะดวกขึ้น

นักกายภาพบำบัดกำลังใช้เครื่อง Radial Shock Wave




© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม