degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

อาการบาดเจ็บยอดฮิตของเหล่านักวิ่งทั้งมืออาชีพ และมือใหม่ก็คือ เจ็บเข่า

วิ่งอย่างไร? ให้“เซฟ”เข่า

วิ่งอย่างไรให้เซฟเข่า

การวิ่ง เป็นการออกกำลังกายที่ดี และทำได้ง่าย แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ และอาการบาดเจ็บยอดฮิตของเหล่านักวิ่งทั้งมืออาชีพ และมือใหม่ก็คือ เจ็บเข่า

วิ่งอย่างไร? ให้ “เซฟ”เข่า
  1. ควบคุมน้ำหนักตัว น้ำหนักตัวที่มาก จะทำให้มีแรงกระแทกที่เข่ามากตามไปด้วย และคนที่น้ำหนักตัวมากไป ยังเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้นอีกด้วย โดยน้ำหนักตัวที่เหมาะสม คำนวณได้จากดัชนีมวลกาย BMI (ไม่ควรเกิน 25 เหมาะกับการวิ่งและถนอมข้อต่อ ข้อเข่า)
  2. เลือกรองเท้าวิ่ง ควรเลือกให้เหมาะกับขนาด และรูปเท้า รองเท้ามีพื้นรับแรงกระแทกเพียงพอ โดยเฉพาะคนเท้าแบน (สามารถปรึกษาแพทย์กรณี เกี่ยวกับรูปทรงเท้าของตัวเอง และการใช้อุปกรณ์หรือแผ่นยางเสริมรองเท้า)
  3. หมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขา และกล้ามเนื้อสะโพกให้แข็งแรง จะช่วยลดภาระการทำงานของข้อเข่าได้ ท่าฝึกกล้ามเนื้อขา ได้แก่ Squat, Leg Extension, Hip Abduction เป็นต้น
  4. วอร์มอัพก่อนวิ่ง อบอุ่นร่างกาย ด้วยการวิ่งเหยาะๆ หรือเดินเร็วก่อนออกวิ่งเต็มที่ เพื่อปรับตัวกล้ามเนื้อ และอัตราการเต้นของหัวใจ
  5. บริเวณที่วิ่ง พื้นควรเสมอกัน ไม่เอียงหรือหักเลี้ยวมากเกินไป ไม่ควรวิ่งขึ้น-ลงเนิน ลักษณะพื้นถ้าเป็นพื้นดินหรือพื้นยางสังเคราะห์จะดีมาก
  6. อย่าวิ่งหักโหม เช่น รีบเพิ่มความเร็วกระทันหัน หรือวิ่งเร็วเกินไป ก็เป็นสาเหตุการเจ็บเข่าได้
  7. ปรับท่าวิ่ง ลองปรับท่าวิ่งดังนี้
    • ไม่ก้าวเท้ายาวเกินไป สังเกตได้คือ วิ่งแล้วเท้านำหน้าเข่า (วิ่งลงส้นในขณะที่เข่ายังเหยียดอยู่) เพราะจะทำให้แรงกระแทกขึ้นมาถึงเข่าได้เต็มๆ แก้ไขโดยให้ก้าวขาสั้นๆ ถี่ๆ จะช่วยลดแรงกระแทกที่เข่าได้
    • อย่ายกขาสูง เพราะจะทำให้เข่าต้องงอมาก ถ้าวิ่งระยะไกลจะเจ็บเข่าได้
    • โน้มตัวไปข้างหน้า ประมาณ 15 องศา แต่หลังยังต้องตรง ไม่ก้มหัว จะช่วยลดแรงกระแทกต่อเข่า
    • อย่าวิ่งลงส้นเท้า ให้วิ่งลงปลายเท้าหรือกลางเท้า ช่วยลดการบาดเจ็บที่เข่า
    วิธีลงเท้าขณะวิ่ง
  8. ข้อแนะนำ และข้อควรระวัง
    • วิ่งแบบไม่ต้องแข่งกับคนอื่น วางแผนการวิ่งให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของเราเอง
    • ถ้ามีภาวะข้อเข่าเสื่อมอย่างชัดเจน ควรออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นแทนการวิ่ง
    • ถ้าเกิดอาการบาดเจ็บ ควรงดวิ่ง ให้ออกกำลังกายประเภทอื่น ที่มีแรงกระแทกน้อยแทน เช่น โปรแกรมเสริมสร้างกล้ามเนื้อเฉพาะส่วน ว่ายน้ำ เดิน ปั่นจักรยาน เป็นต้น
    • ถ้าอาการเจ็บเข่าไม่ดีขึ้น หรืออาการรุนแรงมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ได้แก่ แพทย์กระดูกและข้อ แพทย์เวชศาสตร์การกีฬา เพื่อรักษาและฟื้นฟูอาการบาดเจ็บให้หายขาดก่อน แล้วค่อยกลับมาวิ่ง


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม