degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed


หมอนรองกระดูก คืออะไร?

หมอนรองกระดูก คือเนื้อเยื่อที่ลักษณะด้านนอกเป็นเหมือนพังผืดเหนียวๆ ซ้อนกันเป็นวงรอบหลายๆชั้น และด้านในนุ่มๆ คล้ายวุ้น พบในบริเวณส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ที่วางพาดยาวไปตั้งแต่คอ อก จนถึงเอว

มีหน้าที่ และความสำคัญอย่างไร?

ทำหน้าที่เป็นข้อต่อในการขยับของกระดูกสันหลัง และรับแรงกระแทกเมื่อทำกิจกรรม เช่น นั่ง ยืน กระโดด บิดตัว เอนหลัง เหมือนกับเป็น “โช้คอัพ” ให้กับกระดูกสันหลังของเรา ของนอกจากนี้ยังคอยปกป้องไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนที่อีกด้วย

มีอาการอย่างไร?

เมื่อกระดูกสันหลังได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง หรือหมอนรองกระดูกเริ่มเสื่อมสภาพ ของเหลวภายในหมอนรองกระดูกอาจไหลทะลักออกมา แล้วไปกดทับเส้นประสาทรอบๆ จนทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นได้ สัญญาณของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ

  • อาจมีอาการชาในบริเวณที่ปวด
  • บางครั้งอาการปวดอาจร้าว หรือเจ็บแปลบไปถึงต้นขา น่อง หรือเท้าได้
  • บริเวณเอว หลังช่วงหลัง หรือคอรู้สึกไร้เรี่ยวแรง ขยับลำบาก
  • กล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง เอว อก ต้นขา น่องขา หรือหลังเท้าอ่อนแรง
  • หากอาการรุนแรง อาจรู้สึกชาไปถึงรอบอวัยวะเพศ รอบก้น และการขับถ่าย หรือปัสสาวะลำบาก
  • ปวดบริเวณเอว คอ อก หรือหลังช่วงล่าง เหมือนไฟฟ้าช็อต ปวดๆ หายๆ มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

พฤติกรรมเสี่ยง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
  2. ก้ม เงย บ่อย หรือมากเกินไป
  3. ยกของหนักซ้ำๆ ท่าเดิมๆ และไม่ระมัดระวัง
  4. ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนบ่อยๆ เช่น เขตก่อสร้าง
  5. อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป
  6. อยู่ในช่วงวัยชรา หรืออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  7. สูบบุหรี่จัด
  8. ขาดกาออกกำลังกายเป็นประจำ

วิธีรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เป็นอยู่ อาจเริ่มจากการทานยาเพื่อลดความปวด และการอักเสบ จากนั้นจึงทำกายภาพบำบัด และอาจฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด

ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร?

  1. ไม่ยกของหนัก หรือยกของท่าเดิมๆ มากเกินไป
  2. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุกๆ 2-3 ชั่วโมง
  3. หมั่นออกกำลังกาย ทำกายบริหารเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องให้แข็งแรง

หากมีอาการปวดหลังรุนแรง และปวดขาร่วมด้วย อาจเป็นอาการหมองรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม