degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

เกิดจากหมอนรองกระดูกที่เสื่อมตามอายุหรือจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม การได้รับบาดเจ็บจากการทำงานเล่นกีฬา อุบัติเหตุ ส่วนใหญ่พบที่หมอนรองกระดูกบริเวณเอว

คำแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

  1. บริหารกล้ามเนื้อส่วนคอหรือหลังให้แข็งแรงด้วยท่าบริหารที่เหมาะสม
  2. ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน
  3. หลีกเลี่ยงการแบก ยก ดึง ลากของหนัก
  4. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ทำให้อาการปวดกำเริบปรับท่าทางในการทำงาน หรือในกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม ดังนี้
    1. หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอเคลื่อน
      1. หลีกเลี่ยง การก้ม หรือเงยคอบ่อยๆ
      2. หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวคอในลักษณะที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่สะบัดคอแรงๆ
      3. พักคอเป็นระยะ ระหว่างการขับรถ ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ ไม่ควรให้ศีรษะอยู่ในท่าเดิมนานๆ
    2. หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน
      1. หลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้นหรือการนั่งเก้าอี้ต่ำควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงอย่างถูกวิธีคือนั่งให้ชิดขอบในของเก้าอี้โดยหลังไม่โก่งและให้หลังชิดพนักพิง
      2. อย่าก้มลงหยิบของ ควรย่อเข่าลงนั่ง แล้วลุกด้วยกำลังขา
      3. หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง
  5. ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารให้รับประทานหลังอาหารทันที และดื่มน้ำตามมากๆ
  6. มาพบแพทย์ตามนัด หรือทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง

อาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์

  • มีอาการปวดมากขึ้นพักและรับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
  • มีอาการชา หรือแขนขาอ่อนแรงมากขึ้น
  • ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม