degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

จะทำอย่างไรถ้าไม่อยากให้กระดูกมีสภาพเหมือนไม้ผุเก่าๆ เปราะบางและแตกหักง่าย ป้องกันไว้ ก่อนจะสายเกินแก้

กระดูกพรุน ทำให้หลังค่อม ?

257449 P4 Gd34 856

กระดูกพรุน Osteoporosis คือการมีความหนาแน่นและมวลกระดูกลดน้อยลง กระดูกจะมีสภาพเหมือนไม้ผุเก่าๆ เปราะบางและแตกหักง่าย หากเกิดการแตกหักของกระดูกส่วนสำคัญอย่างกระดูกสันหลังก็อาจพิการได้

สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

เกิดจากร่างกายมีการสลายกระดูกมากกว่าสร้างกระดูก อาจเพราะปริมาณแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอต่อการสร้างกระดูก หรืออาจมีความผิดปกติของเซลล์กระดูก ปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน เช่น อายุ การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน กรรมพันธุ์ โรคและการเจ็บป่วย การใช้ยาบางชนิด พฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตประจำวัน

อาการของโรคกระดูกพรุน

ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมักทราบว่าตนป่วยเมื่อมีอาการแสดงไปแล้ว แต่ก็มีอาการที่ควรใส่ใจสังเกตเพื่อป้องกันรักษาได้ทันดังนี้

    • กระดูกข้อมือ แขน สะโพก และกระดูกสันหลังแตกหักได้ง่ายแม้ถูกกระแทกแบบไม่รุนแรง
    • ความสูงลดลง หลังค่อม หรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง
    • อาจมีอาการปวดหลังเรื้อรังด้วย

การรักษาโรคกระดูกพรุน

วิธีรักษาจะเป็นการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก โดยการใช้ยา การเพิ่มฮอร์โมน ดูแลสุขภาพและบำรุงกระดูก

การป้องกันโรคกระดูกพรุน

  • กินอาหารแคลเซียมสูง เช่น นม เนยแข็ง ปลาไส้ตัน กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียวเข้ม
  • ไม่ทานโปรตีนหรือดื่มคาเฟอีนมากเกินไปเพราะไตจะขับแคลเซียมออกมากกว่าปกติ
  • การทานเกลือหรือโซเดียมหรือดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปการดูดซึมของแคลเซียมจะลดลง
  • ออกกำลังกายแบบถ่วงหรือต้านน้ำหนักเป็นประจำ เช่น ยกน้ำหนัก เดิน วิ่ง เต้นแอโรบิค กระโดดเชือก
  • รับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้าเย็นช่วยสังเคราะห์วิตามินดีกระตุ้นการสร้างกระดูก
  • น้ำหนักให้ตัวเหมาะสม คนผอมมีมวลกระดูกน้อยเสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้
  • งดสูบบุหรี่เพราะทำให้แคลเซียมละลายจากกระดูก
  • ระวังการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้นานเพราะเร่งขับแคลเซียมออก
  • หมั่นตรวจสุขภาพ และความพร้อมของร่างกายอยู่เสมอ

ท่านมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ?

การตรวจโดยใช้เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก Bone densitometry สามารถตรวจเพื่อทราบความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ เป็นวิธีที่มีความถูกต้องแม่นยำสูง ใช้ตรวจวิเคราะห์กระดูกส่วนต่างๆ ได้ทั้งร่างกาย

เครื่องจะทำงานวิเคราะห์ค่าความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูก องค์ประกอบของธาตุในกระดูก และองค์ประกอบของเนื้อเยื่อ โดยใช้หลักการดูดรังสีเอกซ์ วิเคราะห์และประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ ทำการสแกนร่างกายในครั้งเดียวแล้วแสดงค่าเปรียบเทียบกันในแต่ละภาพ

ในเวลาเดียวกัน วิธีการตรวจ คือนอนนิ่งๆ ใต้เครื่องตรวจ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที ไม่ใช้ยา ไม่เจ็บปวด และไม่มีอันตรายแต่อย่างใด แพทย์จะสามารถตรวจพบภาวะกระดูกพรุนเพื่อวางแผนการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของโรค



แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม