degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed


โรคกระดูกสันหลังเสื่อม

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม มักเกิดในผู้มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปเกิดได้บ่อยในกระดูกสันหลังระดับคอและระดับเอวเกิดจากการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของเนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆรวมถึงกระดูกสันหลังด้วยทั้งนี้กระดูกสันหลังผ่านการใช้งานมานานจะส่งผลให้กระดูกหมอนรองกระดูก เส้นเอ็น กระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพ หรืออาจเกิดจากการเล่นกีฬา อุบัติเหตุ ภาวะที่มีกระดูกคดงอผิดรูปแต่กำเนิด หรือกระดูกสันหลังติดเชื้อ เช่นวัณโรค

สาเหตุ

  1. การทำงานมากกว่าปกติ การเล่นกีฬา การใช้งานหลังอย่างหนัก ก้มๆเงยๆ น้ำหนักตัวมาก อ้วนกล้ามเนื้อหลังและท้องไม่แข็งแรงและจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน
  2. กลุ่มผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปกระดูกสันหลังมักมีการงอกของกระดูกเพิ่มขึ้นมีการเสื่อมของกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆ และอาจมีปัจจัยเสริมจากโรคที่พบร่วมด้วย เช่น โรคหัวใจโรคเบาหวาน ซึ่งจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
  3. ปัจจัยอื่นๆ เช่น พันธุกรรมผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่ใช้เป็นประจำ เช่น ยาสเตียรอยด์อาหาร น้ำหนักตัว ความแข็งแรงของร่างกาย

อาการ

ปวดหลัง ปวดคอเป็นๆ หายๆ อาการมักเป็นเรื้อรังอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่าทาง ขณะทำกิจกรรมต่างๆอาการปวดจะเสียวร้าวลงมาที่สะโพก คอ ไหล่ แขน มือ น่อง เท้าหรือนิ้วอาการปวดร้าวนี้เกิดจากเส้นประสาทที่ไขสันหลังถูกกดทับจากการที่มีกระดูกเสื่อม อาจมีกระดูกสันหลังผิดรูป เช่น หลังคด โก่ง หรือข้อกระดูกเคลื่อน

การรักษา

  1. การรักษาด้วยยา ยาแก้ปวดทั่วไป ยาแก้ปวดต้านอักเสบยาคลายกล้ามเนื้อ
  2. กายภาพบำบัดสามารถลดอาการปวดได้ เช่น การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังการฝึกใช้กล้ามเนื้อหลังอย่างถูกวิธี รักษาอาการปวดด้วยคลื่นเสียงด้วยความร้อน
  3. การผ่าตัดตามความรุนแรงของอาการเจ็บปวดมีอาการกล้ามเนื้อขาลีบ ชา อ่อนแรงหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

การปฏิบัติตัว

ทำกิจกรรมในที่เหมาะสม ไม่ใช้งานหลังที่หนักหรือต่อเนื่องนานเกินไปหลีกเลี่ยงก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก พบแพทย์ตามนัดทำกายภาพสม่ำเสมอ และใช้ยาแก้ปวดให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะติดยาแก้ปวด

อาการที่ควรมาพบแพทย์

มีอาการปวดหลังเรื้อรังทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เป็นๆ หายๆหรือมีอาการจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมีอาการจากการกดของเส้นประสาทปวดหลังร่วมกับอาการของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รู้สึกแขนขาอ่อนแรง ชา กังวลในอาการมีปัญหาเดินเกร็ง ท่าเดินผิดปกติ การใช้งานมือไม่คล่องเหมืนเดิม


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม