degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

ตรวจสุขภาพ

ฉีดวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่

โปรแกรมอะไรที่เหมาะกับตัวเรา ?

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกโปรแกรม ได้แก่ อายุ เพศ ความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงอาชีพการงานหรือกิจกรรมที่ทำ

อายุ

  • วัยทำงานอายุ 18 - 35 ปี เลือกโปรแกรม B,C,E ที่ครอบคลุมการตรวจเช็คร่างกายทั่วไป หรือเลือกตรวจตามปัจจัยเสี่ยงของผู้รับการตรวจ และเลือกรายการตรวจสุขภาพเสริมเพิ่มเติม เช่น ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วตรวจมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติม เป็นต้น
  • วัยทำงานอายุ 35 - 60 ปี เหมาะกับโปรแกรม Advance, Premium, Platinum และเลือกรายการตรวจสุขภาพเสริมเพิ่มเติม เช่น สารสัมพันธ์มะเร็ง ตรวจสมรรถภาพหัวใจ ตรวจสุขภาพตา และอื่นๆ
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
  • อายุ 60 ปีขึ้นไป เลือกโปรแกรมที่มีรายการตรวจอย่างละเอียด เช่น โปรแกรม Platinum และเลือกรายการตรวจสุขภาพเสริมเพิ่มเติมตามปัจจัยเสี่ยงของผู้รับการตรวจ
ผู้หญิง
  • อายุ 30 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจเต้านมโดยแพทย์ และอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเต้านมทุกปีโดยแพทย์หรือตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม
  • ในผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรืออายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ (PAP Smear, Liquid Based Cytology)
  • อายุ 55 ปีขึ้นไป ควรตรวจความหนาแน่นกระดูก (Bone Densitometry)
ผู้ชาย
  • อายุ 30 ปีขึ้นไป ตรวจค้นหาความผิดปกติของต่อมลูกหมากโดยแพทย์ เพื่อป้องกันต่อมลูกหมากอักเสบ ต่อมลูกหมากโต และมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากโดยแพทย์ และตรวจเลือดหาสารสัมพันธ์มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) ปีละ 1 ครั้ง

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

  • ประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว เช่น โลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน ซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ ฝุ่นควัน PM 2.5
  • พฤติกรรมการกิน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เครียด ไม่ออกกำลังกาย ควรเลือกโปรแกรมที่ครอบคลุมการตรวจเช็คโรคที่อาจเกิดจากความเสี่ยงเหล่านี้ และเลือกรายการตรวจสุขภาพเสริมเพิ่มเติมได้


รายการตรวจ

ค่าปกติ*

ดัชนีมวลกาย

คือเกณฑ์ที่นิยมใช้วินิจฉัยโรคอ้วน

สูตร = น้ำหนัก(กิโลกรัม) ÷ ส่วนสูง(เมตร)2

ถ้ามากกว่า 24.9 ถือว่ามีภาวะโรคอ้วน

BMI ; Body Mass Index

18.5 - 22.9

ความดันโลหิต

คือค่าความดันของเลือดในหลอดเลือดแดง จะวัดในขณะที่หัวใจบีบตัวและคลายตัว

Blood Pressure

> 90 / 60 - < 140 / 90 mmHg


ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

ดูภาวะโลหิตจาง รูปร่างเม็ดเลือดแดงในโรคธาลัสซีเมีย ปริมาณเกล็ดเลือด ปริมาณและชนิดของเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติอาจเกิดจากการติดเชื้อ และตรวจหามะเร็งเม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดแดง : Hb ; Hemoglobin

12 - 18 gm/dl

เม็ดเลือดขาว : WBC ; White Blood Cell ;

5,000 - 10,000 cell/ml

เกล็ดเลือด : Platelet Count

140,000 - 400,000 platelets/mm3

น้ำตาลในเลือด

คือระดับน้ำตาลหรือกลูโคสในเลือด หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ตรวจเพื่อค้นหาโรคเบาหวาน

FBS ; Fasting Blood Sugar

70 - 100 mg/dl

ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือด

คือระดับน้ำตาลสะสมในเลือดตลอดระยะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เป็นน้ำตาลที่มากเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งจะไปจับกับเม็ดเลือดแดงจนมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

HbA1C ; Hemoglobin A1C

<5.7%

ไขมันโคเลสเตอรอล

ถ้าสูงเกินไป จะทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน เป็นสาเหตุของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ อัมพาตได้

Cholesterol

150 - 200 mg/dl

ไขมันไตรกลีเซอไรด์

ถ้าสูงเกินไป อาจเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจหรือเส้นเลือดสมองตีบ

Triglyceride

30 - 150 mg/dl

ไขมันความหนาแน่นสูง (ดี)

ช่วยนำโคเลสเตอรอลจากเนื้อเยื่อต่างๆ กลับไปย่อยสลายที่ตับ ผู้ที่มีระดับ HDL สูง ช่วยลดโอกาสเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

HDL ; High Density Lipoprotein

ชาย ≥ 40 mg/dl

หญิง ≥ 50 mg/dl

ไขมันความหนาแน่นต่ำ (ไม่ดี)

ถ้าสูงมาก จะไปเกาะผนังหลอดเลือดทำให้ตีบแคบ การไหลเวียนเลือดและความยืดหยุ่นของหลอดเลือดไม่ดี เสี่ยงเกิดโรคเส้นเลือดตีบตัน

LDL ; Low Density Lipoprotein

≤ 100 mg/dl

การทำงานของไต

ตรวจดูความสามารถของไตในการขับถ่ายของเสีย และตรวจหาภาวะไตเสื่อม ไตวาย

BUN ; Blood Urea Nitrogen

7 - 18 mg/dl

Creatinine

ชาย 0.6 - 1.17 mg/dl

หญิง 0.51 - 0.95 mg/dl

อัตราการกรองของไต

คือปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที เพื่อตรวจเช็คประสิทธิภาพการกรองของไตว่ามีปัญหาหรือไม่

eGFR ; estimated Glomerular Filtration Rate

≥90 ml/min/1.73 m2

การทำงานของตับ

ตรวจดูเอนไซม์ในตับ หากสูงกว่าปกติแสดงว่าอาจมีอาการตับอักเสบ

SGOT ; Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase

15 - 37 mg/dl

SGPT ; Serum Glutamic Pyruvic Transaminase

ชาย 16 - 63 mg/dl

หญิง 14 - 59 mg/dl

Alkaline Phosphatase

46 - 116 mg/dl

Albumin

3.4 - 5 mg/dl

Globulin

1.5 - 3 mg/dl

กรดยูริก

เพื่อดูความเสี่ยงโรคเกาต์

Uric acid

ชาย 3.5 - 7.2 mg/dl

หญิง 2.6 - 6.2 mg/dl

ไทรอยด์ฮอร์โมน

ดูการทำงานของต่อมไทรอยด์


T3 ; Triiodothyronine

64 - 152 ng/dl

FT4 ; Free Thyroxine

0.7 - 1.48 ng/dl

TSH ; Thyroid Stimulating Hormone

0.5 - 5.0 mIU/ml

สารบ่งชี้มะเร็ง

มะเร็งต่อมลูกหมาก

PSA ; Prostate Specific Antigen

0 - 4.0 ng/ml

f-PSA ; free-PSA

0 - 0.5 ng/ml

มะเร็งลำไส้

CEA ; Carcinoembryonic Antigen

0 - 4.6 ng/ml

มะเร็งเต้านม

CA15 - 3

0 - 31.3 ng/ml

มะเร็งมดลูก

Beta-HCG ; Beta-Human Chorionic Gonadotropin

0 - 5.0 mIU/ml

มะเร็งรังไข่

CA125

0 - 35 U/ml

มะเร็งตับอ่อน

CA19 - 9

0 - 37 U/ml

มะเร็งตับ

AFP ; Alpha-Fetoprotein

0 - 10 ng/ml

Ferritin

ชาย 30 - 400 ng/dl

หญิง 13 - 150 ng/dl

มะเร็งปอด

NSE ; Neuron-Specific Enolase

0 - 15.2 ng/ml

HGH ; Human Growth Hormone

ชาย < 5 ng/dl

หญิง < 10 ng/dl

หมายเหตุ *เป็นค่าปกติของการตรวจวิเคราะห์ที่ห้องปฏิบัติการของรพ.ขอนแก่นรามเท่านั้น เนื่องจากค่าผลตรวจบางรายการ จะขึ้นอยู่กับเครื่องตรวจและน้ำยาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์

*การวินิจฉัยค่าต่างๆ ผู้รับการตรวจสุขภาพ ควรฟังผลการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง


เบอร์โทร

โทร : 043-002-002 ต่อ 2504, 2505

เวลาทำการ

เปิดบริการ ทุกวัน 8.00 - 16.00 น.

สถานที่ตั้ง

อาคาร 1 ชั้น 2

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม
Terms And Conditions
Linea