degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

รักษาโรคซึมเศร้าด้วยเทคโนโลยี TMS

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนหนึ่ง รู้สึกเบื่อหน่ายและท้อแท้กับการรักษา เนื่องจากมีผลข้างเคียงจากยา เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ เหนื่อย ซึม เป็นต้น

ปัจจุบันจึงได้มีการนำเทคโนโลยี TMS มาใช้รักษาโรคซึมเศร้า ซึ่งมีความปลอดภัยและได้ผลดี ทำให้ลดปริมาณการทานยาจึงช่วยลดผลข้างเคียงจากยาได้ด้วย

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและทันท่วงที

TMS รักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างไร ?

เทคโนโลยีการรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า TMS ; Transcranial Magnetic Stimulation เป็นการส่งคลื่นแม่เหล็กเข้าไปกระตุ้นเซลล์สมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์ปกติและอารมณ์เศร้า ทำให้เกิดการหลั่งสารเคมีและปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติ จึงช่วยลดอาการซึมเศร้าได้

โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากยา ไม่ตอบสนองต่อยาหรือใช้ปริมาณยาที่สูงขึ้น หรือทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น

 รักษาโรคซึมเศร้าด้วยเทคโนโลยี TMS ช่วยลดผลข้างเคียงจากยา

ขั้นตอนการรักษา

เมื่อแพทย์ตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการแล้วมีคำสั่งรักษาด้วย TMS พยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่ทราบแผนการรักษาแล้ว จะนำหัวส่งสัญญาณแม่เหล็กมาวางที่ศีรษะผู้ป่วย ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่ง่าย ไม่ต้องเตรียมตัว ไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร และสามารถกลับมาทำเป็นครั้งๆ โดยไม่ต้องนอนรพ.

การรักษาใช้เวลาทำครั้งละ 15 - 30 นาที ความถี่ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 4 - 6 สัปดาห์ จำนวนครั้งต่อชุดการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ดังนั้นเพื่อให้ผลการรักษาที่ดี ควรทำการรักษาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์

นอกจากนี้ TMS ยังใช้รักษาโรคอื่นๆ ได้ อาทิ อาการปวดจากออฟฟิศซินโดรม โรคระบบประสาทและสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต ย้ำคิดย้ำทำ นอนไม่หลับ วิตกกังวล ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก พาร์กินสัน เป็นต้น

ผู้ที่สงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดอาจเสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้า การปรึกษาจิตแพทย์น่าจะดีกว่าการพูดคุยกับคนสนิท และหากไม่ต้องการกินยา ก็มีทางเลือกในการรักษา ได้แก่ การพูดคุยให้คำปรึกษา หรือการกระตุ้นสมองด้วย TMS เพื่อได้รับการดูแลจิตใจให้แข็งแรง และกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติดังเดิม


© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม