degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

โรคเกาต์ เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูง และตกตะกอนอยู่ตามข้อทำให้ข้ออักเสบ ถ้าตกตะกอนในไตทำให้เป็นนิ่วหรือไตวายได้

กินอย่างไร เมื่อเป็นโรคเกาต์ ?

โรคเกาต์ เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงและตกตะกอนอยู่ตามข้อทำให้ข้ออักเสบ ถ้าตกตะกอนในไตทำให้เป็นนิ่วหรือไตวายได้ ผู้ชายมีโอกาสเป็นเกาต์มากกว่าผู้หญิง

อาการโรคเกาต์ได้แก่ อักเสบบวมแดงที่หลังข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า ข้อเข่าหรือข้ออื่นๆ มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว อาการเป็นๆ หายๆ ถ้าไม่รักษาอาการอักเสบจะเป็นถี่ขึ้น นานขึ้น เป็นหลายข้อพร้อมกันและอักเสบเรื้อรังจนทำให้ข้อผิดรูปอย่างถาวรได้

ค่าปกติของกรดยูริกในเลือดผู้ชายน้อยกว่า 7 มิลลิกรัม% ในผู้หญิงน้อยกว่า 6 มิลลิกรัม% อย่างไรก็ตามแม้ว่ากรดยูริกในเลือดไม่สูงแต่หากมีอาการของโรคเกาต์ก็ต้องได้รับการรักษาแบบโรคเกาต์

กินไก่หรือสัตว์ปีกบ่อยๆ จะทำให้เป็นโรคเกาต์ ?

จริงๆ แล้วการกินไก่หรือสัตว์ปีกเป็นประจำไม่ได้ทำให้คนปกติกลายเป็นโรคเกาต์ได้ แต่จะมีผลกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเกาต์อยู่แล้วแต่อาการยังไม่แสดง หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเกาต์ถ้าทานเยอะจนเกินไป

นอกจากนี้ยังมีอาหารชนิดอื่นที่ทำให้โรคเกาต์กำเริบได้ ซึ่งถ้าผู้ป่วยรู้จักหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดก็จะมีส่วนช่วยในการควบคุมอาการของโรคได้

ควรงดอาหารหรือกินอะไรได้บ้างในผู้ป่วยโรคเกาต์ ?

เนื่องจากกรดยูริกเกิดจากการเผาผลาญสารพิวรีนในอาหาร ดังนั้นอาหารที่มีสารพิวรีนสูงจึงทำให้คนที่เป็นโรคเกาต์มีอาการกำเริบได้

ตัวอย่างกลุ่มอาหารแบ่งตามปริมาณสารพิวรีน

  • อาหารที่มีพิวรีนสูง ควรงดหรือทานให้น้อยที่สุด ได้แก่ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ปลาดุก ปลาซาดีน ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ น้ำต้มกระดูก ซุปก้อน ไข่ปลา เห็ด ถั่วดำ ถั่วแดง กระถิน ชะอม สะเดา ยอดมะพร้าวอ่อน
  • อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง เลือกทานได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ได้แก่ ปลากระพงแดง ปลาหมึก ปู เนื้อหมู เนื้อวัว ถั่วลิสง ถั่วลันเตา ใบขี้เหล็ก ดอกกะหล่ำ ผักโขม สะตอ หน่อไม้ ข้าวโอ๊ต
  • อาหารที่มีพิวรีนน้อยหรือไม่มีเลย สามารถทานได้ทุกวัน ได้แก่ ผักและผลไม้ทั่วไป ปลาน้ำจืด นมและผลิตภัณฑ์จากนม เนย ไข่ ข้าว ขนมปัง ธัญพืช เจลลาติน น้ำตาล

นอกจากนี้ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการสร้างยูริกในเลือดสูงมาก และดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยในการขับกรดยูริก


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม