degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed
label

โรคเกาต์ เป็นภาวะที่มีกรดยูริกในเลือดสูง และมีการตกผลึกของกรดยูริกภายในข้อและอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบของข้อ อาจจะมีนิ่วในไตได้ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคเกาต์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า โดยผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปีมีความเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มอื่น ส่วนผู้หญิงจะพบได้เมื่ออายุมากกว่า 50 ปีหรือช่วงวัยหมดประจำเดือน

โรคเกาต์เป็นโรคเรื้อรัง แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็นแรกๆ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และรับประทานยาติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ

การสังเกตอาการ

  • มีอาการอักเสบบริเวณหลังข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า หัวแม่เท้า ข้อเข่า หรือข้ออื่นๆ อาการเป็นๆ หายๆ
  • ถ้าได้รับการกระตุ้นจากสาเหตุต่างๆ ข้อที่อักเสบจะบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว ผิวหนังบริเวณข้อที่อักเสบ จะมีลักษณะแห้งและบวมแดงเป็นมัน อาจมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ถ้าไม่ได้การรักษา การอักเสบจะถี่ขึ้น จำนวนวันที่อักเสบนานขึ้น เป็นหลายข้อพร้อมกัน และกลายเป็นอักเสบเรื้อรัง ทำให้ข้อผิดรูปและข้อเสียอย่างถาวรได้
  • ผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิดนิ่วในไตได้ร้อยละ 20 และมีโอกาสไตวายได้ประมาณร้อยละ 10

การตรวจวินิจฉัย

  • เจาะน้ำในข้อเพื่อตรวจกรดยูริก
  • เจาะเลือดตรวจกรดยูริก ค่าปกติในผู้ชายจะน้อยกว่า 7 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ส่วนในผู้หญิงน้อยกว่า 6 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ผู้ป่วยที่เจาะเลือดแล้วพบว่ากรดยูริกสูงแต่ไม่มีอาการอักเสบของข้อ ก็อาจจะไม่ได้เป็นโรคเกาต์ซึ่งไม่ต้องรักษา แต่หากมีอาการและอาการแสดงของโรคเกาต์ ถึงแม้ว่ากรดยูริกในเลือดไม่สูงก็ต้องรักษาแบบโรคเกาต์

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันและรักษาโรคเกาต์

  1. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก สัตว์ปีก ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ของหมักดอง ถั่วเมล็ดแห้ง แตงกวา ถั่วงอก ยอดผักทุกชนิด และหน่อไม้
  2. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์
  3. ยาลดความดันโลหิตสูงบางชนิดทำให้กรดยูริกในเลือดสูง
  4. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยในการขับถ่ายกรดยูริก
  5. ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียดต่อการทำงาน
  6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  7. การรักษาโรคเกาต์ ให้ลดการใช้งานของข้อที่อักเสบและมีอาการปวด โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้ยารักษาโรคเกาต์ปริมาณกรดยูริก (มิลลิกรัม) ในอาหารชนิดต่างๆ เทียบจากอาหาร 100 กรัม
มีกรดยูริก มากกว่า 150 mg
มีกรดยูริก ปานกลาง 50-150 mg
มีกรดยูริก น้อยมาก-15 mg

ตับ

อาหารทะเล

ผัก

ไต

ปลากะพง

ผลไม้ทั่วไป

กึ๋น

ปู

นม

สมอง

ผลไม้เปลือกแข็ง

เนยเหลว

ปลาซาร์ดีน

ดอกกะหล่ำ

เนยแข็ง

ปลาไส้ตัน

ถั่วลันเตา

ไข่

น้ำซุปเนื้อ

ผักโขม

ข้าว

น้ำสกัดเนื้อ

สะตอ

ธัญพืช

ซุปไก่น้ำข้น

ข้าวโอ๊ต

เจลลาติน

น้ำเกรวี่

ข้าวที่ไม่ขัดจนขาว

เมล็ดพืช

ไข่ปลา

หน่อไม้

น้ำตาล

ยีสต์


วุ้น

เห็ด


อ้อย

ถั่วดำ



ถั่วแดง




แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม