degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

โรคงูสวัด เป็นโรคผื่นผิวหนังที่มีความเจ็บปวดร่วมด้วย มีอาการปวดตามแนวของผื่น อาการปวดมักพบบ่อย และรุนแรงในผู้สูงอายุ

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อไวรัส Varicella–zoster virusเป็นเชื้อตัวเดียวกันกับโรคอีสุกอีใส แต่เป็นคนละโรคกับโรคเริม

ดังนั้นคนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้วเมื่อภูมิต้านทานอ่อนแอจึงกลายเป็นโรคงูสวัดนั่นเอง

อาการ

มีอาการคล้ายไข้หวัดนำก่อนประมาณ 2-3 วัน ได้แก่ มีไข้ หรืออาจไม่มีไข้ อาจปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ปวดท้อง อ่อนเพลียผู้ป่วยจะมีอาการปวดลึกๆ และแสบร้อนบริเวณผิวหนังเหมือนเป็นอาการเตือน หลังจากนั้น 1-5 วัน มีผื่นแดงขึ้นบริเวณที่ปวดแล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใส อาจจะมีอาการคัน ชา ทนการรับสัมผัสไม่ได้แม้เพียงแค่ใส่เสื้อผ้า มากกว่าครึ่งของผื่นโรคงูสวัดจะเกิดขึ้นบริเวณลำตัว แต่ก็พบได้ที่ใบหน้า ดวงตาและใบหูได้เช่นกัน

การติดต่อ

ติดต่อจากการสัมผัสหรือตุ่มพองของโรค

การรักษา

ให้ยาต้านไวรัสภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดผื่นจะทำให้ผื่นหายเร็วขึ้น ลดอาการเจ็บปวดและภาวะแทรกซ้อน ยาที่ใช้ได้แก่ Famciclovir, Valayclovir, Acyclovir

การปฏิบัติตัว

  1. รักษาแผลให้สะอาด รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์
  2. ในระยะที่ตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่แผล ควรทำความสะอาดด้วยการอาบน้ำตามปกติ ไม่ควรอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนเนื่องจากจะทำให้ตุ่มพุพองแตกง่าย
  3. ในรายที่เป็นบริเวณใบหน้า หรือจมูกอาจจะมีโอกาสลุกลามเข้าตาจะต้องปรึกษาจักษุแพทย์
  4. ไม่ควรเป่าน้ำมนต์หรือน้ำสกปรกมีสิ่งเจือปนเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน

อาการสำคัญที่ควรรีบกลับมาพบแพทย์ทันที

มีไข้ ปวดแสบมากบริเวณผื่น งูสวัดลุกลามเข้าตา หรือเป็นงูสวัดมากกว่า 2 รอยโรค

การป้องกันโรคงูสวัด

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแล้ว โดยสามารถลดโอกาสการเกิดโรคงูสวัด หรือหากติดเชื้อจะลดความรุนแรงของโรคและอาการปวดหลังการติดเชื้อ แนะนำให้ฉีดในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี


© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม