ไข้หวัดใหญ่ - Influenza
อาการที่พบได้บ่อยในโรคไข้หวัดใหญ่
- ไข้สูง บางครั้งหวานสั่น
- ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
- เจ็บคอ ไอ คันจมูก น้ำมูกไหล
- อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกเเน่นท้อง
ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อหรือไม่…??
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ติดต่อได้ง่าย จากการไอ จาม และพูดคุยกันในระยะใกล้ๆ กับคนที่เป็นโรคนี้ หากเกิดในเเด็กหรือผู้สูงอายุจะมีอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนมากหรือบางรายอาจเสียชีวิตได้
วิธีป้องกัน
- การล้างมือ หมั่นล้างมืออยู่เสมอเป็นการกำจัดเชื้อโรคได้ง่ายๆ
- การใส่หน้ากากอนามัย จะเป็นการป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสได้
- เลี่ยงพื้นที่แออัด หลีกเลี่ยงที่คนหนาแน่น แอดัด หรือพื้นที่ปิด
- การฉีดวัคซีนป้องกัน ช่วยให้มีภูมิคุ้มกัน
ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
บุคคลที่สามารถรับวัคซีนได้ต้องมีอายุครบ 6 เดือนขึ้นไป หรือผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสียง ผู้ที่ทีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ โรคปวด โรคตับ โรคไต โรคเลือด ควรได้รับวัคซีนฉีดป้องกันไข้หวัดใหญ่
ทำไมต้องฉีดวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ทุกปี…??
- สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีองค์การอนามัยโลกจะคาดการณ์สายพันธุ์ที่จะระบาดและผลิตวัคซีนออกมาในแต่ละปีเพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันไข้หวัด ใหญ่
- หลังฉีดวัคซีน 2 สัปดาห์ จะเกิดภูมิคุ้มกันโรคและมีอายุได้นาน 6-12 เดือน
- ถ้าไม่ได้รับวัคซีนหลังจากระยะ 1 ปีถึงแม้เป็นเชื้อตัวเดิมก็จะป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้
- หากติดเชื้อร่วมกันเชื้อโควิด 19 (COVID-19) จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย
- ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H1N1)
- ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H3N2)
- ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล VICTORIA
- ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ตระกูล YAMAGATA
ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
- อายุ 50 ปีขึ้นไป / เด็กอายุ 6 เดือน - 18 ปี
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคไต โรคหัวใจ โรคเบาหวาน
- บุคคลที่อาศัยหรือทำงานในสถานพยาบาล
- หญิงมีครรภ์
การรักษาไข้หวัดใหญ่
ปัจจุบันมียารักษาไข้หวัดใหญ่ คือ Oseltamivir หรือ Tamiflu ซึ่งผู้ป่วยจะได้ประโยชน์มากที่สุด หากได้ใช้ยานี้รักษาภายใน 2วันแรกที่ตรวจพบว่าเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลา ของการเป็นและลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ลดการระบาดของโรคได้