มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงไทย พบมากในกลุ่มอายุ 35-60 ปี และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประเทศ
สาเหตุ?
- สาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกคือ การติดเชื้อ HPV (Human papilloma virus)
ปัจจัยเสี่ยงอื่นที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ HPV
- ปัจจัยเสี่ยงทางนรีเวช
- การมีคู่นอนหลายคน
- การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย
- การตั้งครรภ์หรือมีลูกหลายคน
- การมีประวัติเป็นกามโรค
- การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
- การไม่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย
- สตรีที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาต
- สตรีที่แต่งงานกับชายที่เคยมีภรรยาคนก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก
- ผู้ชายที่เคยเป็นกามโรค
- ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
- ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
- การสูบบุหรี่
- ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การติดเชื้อไวรัสเอดส์ กินยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
มะเร็งปากมดลูกจะไม่เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่จะพบเซลล์ปากมดลูกผิดปกติแบบค่อยเป็นค่อยไปจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งปากมดลูก ดังนั้นจึงเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองความผิดปกติตั้งแต่ยังไม่มีอาการ
เชื้อ HPV คืออะไร ?
เชื้อ HPV เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้ทั้งในผู้หญิง และผู้ชาย ติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่ชนิดที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมีประมาณ 15 สายพันธุ์ แบ่งเชื้อ HPV เป็น 2 กลุ่มคือ
1. HPV ชนิดกลุ่มความเสี่ยงสูง
คือ HPV ที่ทำให้เกิดรอยโรคที่ปากมดลูก ซึ่งพบว่าเป็นสายพันธุ์ 16 และ 18 มากที่สุด ร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจาก 2 สายพันธุ์นี้
2. HPV ชนิดความเสี่ยงต่ำ
คือเชื้อที่ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ (genital warts) ได้แก่ สายพันธุ์ 6 และ 11
อาการของผู้ติดเชื้อ HPV
สตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วมีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ง่าย ซึ่งบางส่วนอาจหายไปได้เอง และบางส่วนการติดเชื้อจะยังคงอยู่ทำให้เกิดรอยโรคของมะเร็งปากมดลูก ซึ่งการติดเชื้อ HPV ที่ปากมดลูก จะไม่มีอาการอะไรให้เห็นชัดเจน นอกจากจะตรวจหาเชื้อที่ปากมดลูกหรือตรวจหาเซลล์ผิดปกติที่ปากมดลูก (Pap smear) เท่านั้น
ซึ่งการติดเชื้อรุนแรง หรือคงอยู่นานจะก่อให้เกิดรอยโรคที่ปากมดลูก ถ้าไม่ได้รับการตรวจพบ และรักษาก็จะดำเนินโรคเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
การตรวจ Pap smear คืออะไร ?
เป็นการตรวจคัดกรองเซลล์มะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง โดยตรวจดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกที่เป็นสัญญาณเริ่มต้นของการเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันมี 2 วิธี
1. วิธีมาตรฐาน - Conventional Pap smear
โดยใช้อุปกรณ์ป้ายเก็บเซลล์เยื่อบุปากมดลูก แล้วป้ายลงบนแผ่นสไลด์แก้วก่อนส่งไปย้อมสี และส่งตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
2. วิธีใหม่ - Liquid Based Cytology
ใช้อุปกรณ์ป้ายเยื่อบุปากมดลูกออกมาเก็บในขวดน้ำยารักษาสภาพเซลล์ แล้วนำเซลล์เยื่อบุปากมดลูกมาตรวจสอบบนแผ่นสไลด์อีกครั้งทำให้อ่านผลได้ชัดเจนและแม่นยำมากขึ้น
จะป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร ?
มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงสาเหตุ หรือลดปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ HPV ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และปัจจุบันสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้โดยการฉีดวัคซีน (HPV vaccine) โดยจะการลดการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีอยู่ในวัคซีนได้ (16,18) ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณร้อยละ 70
ฉีดวัคซีนแล้วต้องตรวจอีกหรือไม่ ?
วัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV จากสายพันธุ์อื่นนอกจากสายพันธ์ 16,18 ได้ ดังนั้น จึงต้องมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสม่ำเสมอทุกปีด้วยวิธีการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
วัคซีนจะได้ประโยชน์สูงสุดในสตรีที่ไม่เคยติดเชื้อ HPV มาก่อน คือฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์ ช่วงวัยรุ่นตั้งแต่อายุ 9-26 ปี จะมีการตอบสนองจากวัคซีนโดยสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงสุด
แต่ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า วัคซีนอาจจะป้องกันการติดเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ และวัคซีนยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงในสตรีอายุ 35-45 ปีด้วย โดยระดับภูมิคุ้มกันสูงประมาณร้อยละ 70 ของสตรีอายุ 16-23 ปี
อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยประการใดควรปรึกษาสูติ-นรีแพทย์ก่อน จะเป็นการดีที่สุด เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนยังคงต้องดำเนินการค้นคว้าวิจัยและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง
แพ็กเกจคลอดเหมาจ่าย
แพ็กเกจ คลอดธรรมชาติ
แพ็กเกจคลอดเหมาจ่าย
แพ็กเกจ ผ่าตัดคลอด
โปรแกรมคลอดสิทธิข้าราชการ
สำหรับข้าราชการ & ครอบครัว
โปรแกรมตรวจสุขภาพหญิง
โปรแกรมหญิง Women (Advance, Premium, Platinum)
ตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
โปรแกรมตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
คุกกี้และความเป็นส่วนตัว
เมื่อคลิก “อนุญาตคุกกี้ทั้งหมด” หมายความว่าผู้ใช้งานยอมรับที่จะเปิดการใช้งานคุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อเปิดใช้คุณสมบัติของโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำการตลาดและการโฆษณา รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลการใช้งานกับพาร์ทเนอร์โซเชียลมีเดีย