degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

ตรวจอัลตร้าซาวด์อันตรายจริงหรือไม่ ที่นี่มีคำตอบ

อัลตร้าซาวด์ทางสูตินรีเวช

การตรวจอัลตร้าซาวด์ - Ultrasound เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ปล่อยออกไปกระทบกับอวัยวะภายในร่างกาย แล้วคลื่นเสียงนั้นสะท้อนกลับมาเข้าเครื่องตรวจจับ แล้วแปลงมาเป็นรูปภาพ

ข้อดีของการตรวจอัลตร้าซาวด์คือ ไม่เจ็บปวด ไม่มีผลกระทบต่อผู้ป่วย มารดา และทารกในครรภ์

  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางสูติ ใช้ตรวจดูว่าตั้งครรภ์ในหรือนอกมดลูก ตั้งครรภ์แฝดหรือไม่ ดูเพศของทารกในครรภ์ คำนวณอายุครรภ์ ประเมินน้ำหนักตัวของทารก ตรวจความผิดปกติของทารก และรกหรือน้ำคร่ำ เป็นต้น
  • การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางนรีเวช ใช้ตรวจหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ ได้แก่ ถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกในมดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูก หรือก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน
สามารถตรวจได้ 2 ทาง
  1. ตรวจอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้อง จะต้องดื่มน้ำแล้วกลั้นปัสสาวะไว้ให้ได้ปริมาณมากพอสมควรก่อน เพื่อให้นํ้าในกระเพาะปัสสาวะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน จึงจะทำให้มองเห็นภาพมดลูก รังไข่ และพยาธิสภาพอื่นๆ ได้ดีขึ้น
  2. ตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด โดยแพทย์จะสอดหัวตรวจอัลตร้าซาวด์ที่มีความแตกต่างจากหัวตรวจทางหน้าท้องเข้าไปทางช่องคลอด ข้อดีคือหัวตรวจจะเข้าไปใกล้ตำแหน่งมดลูกและรังไข่ได้มากกว่าการตรวจทางหน้าท้อง แพทย์จึงสามารถมองเห็นภาพของมดลูกและรังไข่จากจอมอนิเตอร์ได้ชัดเจนกว่าและไม่ต้องรอเวลาในการกลั้นปัสสาวะ

โดยทั่วไปแพทย์จะเลือกตรวจทางหน้าท้องบริเวณท้องน้อยก่อน โดยเฉพาะในสตรีที่อายุยังน้อยหรือยังไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อน หรือพิจารณาตามความสะดวกของผู้ป่วย

เมื่อไรที่ควรตรวจ ?

  • มีอาการปวดในบริเวณท้องน้อย
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • กรณีตรวจพบก้อน การตรวจอัลตร้าซาวด์จะให้รายละเอียดของก้อนได้ว่าเป็นเนื้อตันหรือเป็นถุงน้ำ
  • ติดตามดูความเปลี่ยนแปลงของรอยโรค
  • ตรวจสุขภาพประจำปี


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม