degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

ปวดประจำเดือน

คืออาการปวดบริเวณท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกรานในช่วงที่มีเลือดประจำเดือน มักเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตามรอบของการมีประจำเดือนของคุณผู้หญิง

ปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้ปวดประจำเดือน ได้แก่

  • มีประจำเดือนครั้งแรกอายุน้อยกว่า 12 ปี
  • การไม่มีลูกทำให้รังไข่ทำงานตลอด จะมีรอบประจำเดือนมากกว่าคนที่มีลูกซึ่งได้หยุดพักช่วงตั้งครรภ์ไปถึง หลังคลอดช่วงหนึ่ง
  • ประจำเดือนออกมากและนาน
  • มีเนื้องอกมดลูก
  • ใส่ห่วงอนามัย
  • ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • สูบบุหรี่ อ้วน

การรักษาและการปฏิบัติตัว

  • แบบไม่ต้องใช้ยา ได้แก่ ออกกำลังกายเพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย เล่นโยคะ การนวด ฝังเข็ม ประคบน้ำอุ่นบริเวณท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน
  • แบบใช้ยา
    • ยาพาราเซตามอล ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกเพราะมีความปลอดภัยสูง รับประทานขนาด 500–1,000 มิลลิกรัม (1-2 เม็ด) ทุก 4–6 ชั่วโมง ในช่วง 24–48 ชั่วโมงแรกของการเป็นประจำเดือน
    • ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ได้แก่ ยาพอนสแตน ขนาด 250–500 มิลลิกรัมรับประทาน 3 เวลาหลังอาหาร (เช้า กลางวัน เย็น) / ยาไอบูโพรเฟนขนาด 200–400 มิลลิกรัม รับประทาน 3 เวลาหลังอาหาร (เช้า กลางวัน เย็น) นาน 2–3 วัน

อาการสำคัญที่ควรมาพบแพทย์

หากใช้ยาที่กล่าวมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม