degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

เสียงกร๊อกๆแกร๊กๆ...สัญญาณเตือน..."ข้อเข่าเสื่อม"

ข้อเข่าเสื่อม และการป้องกัน

ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากกระดูกอ่อนของข้อเข่า หรือผิวข้อสึกกร่อน เมื่อไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกที่มาชนกันขณะรับน้ำหนักจึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวด

ถ้าเกิดอาการเรื้อรัง กระดูกจะมีการซ่อมแซมตัวเองจนเกิดเป็นกระดูกงอกขรุขระขึ้นภายในข้อ ก็จะทำให้การเคลื่อนไหวติดขัด และมีเสียงดัง

ในผู้ป่วยที่มีอาการมากแล้วจะมีแนวแกนขาผิดปกติ ขาอาจโก่งเข้าด้านในหรือบิดออกนอก และทำให้การรับน้ำหนักของข้อเข่าผิดปกติได

อาการแบบไหน ? สงสัยข้อเข่าเสื่อม

  • ปวดมากเมื่อคุกเข่า นั่งพับเพียบ ลุกนั่ง ขึ้นลงบันได และอาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพัก
  • เมื่อขยับข้อรู้สึกถึงการเสียดสี หรือมีเสียงในเข่าขณะเคลื่อนไหว
  • มีอาการฝืดขัดข้อเข่า โดยเฉพาะตอนเช้าและเมื่อหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน
  • ข้อเข่าติด เหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด
  • เข่าบวมแดงหรือโต มีน้ำภายในข้อจากการอักเสบ
  • กล้ามเนื้อขาลีบเล็กลงกว่าข้างปกติ
  • เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้นและเรื้อรัง จะพบข้อเข่าโก่ง หลวมหรือเบี้ยวผิดรูป

ใครบ้าง ? มีความเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อม

  • อายุมากขึ้น มักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • น้ำหนักตัวมาก ดัชนีมวลกาย BMI มากกว่า 23
  • ใช้ข้อเข่ามาก โดยเฉพาะการนั่งยองๆ พับเพียบ คุกเข่า
  • เคยได้รับบาดเจ็บที่เข่า
  • กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง
  • เกิดจากโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เกาต์

C:\Users\User\Desktop\รูปภาพ1.png

รูปหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

การรักษา

  • รักษาด้วยยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ และยากลุ่มสารอาหารเสริมสร้างกระดูก
  • ฉีดสารน้ำเลี้ยงไขข้อ
  • ทำกายภาพบำบัด เช่น ใช้ความร้อนลึก และบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า
  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เมื่อปวดมากและรักษาด้วยยาหรือทำกายภาพแล้วไม่ดีขึ้น หรือข้อเข่าผิดรูปจนใช้งานไม่ได้

การถนอมข้อเข่า

  1. ควบคุมน้ำหนักตัว เพราะเมื่อข้อเข่ารองรับน้ำหนักมากก็มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  2. อย่าใช้งานข้อเข่าหนักเกินไป เช่น การยกของหนัก การนั่งยองๆ ขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบนานๆ หรือบ่อยครั้ง หัวเข่าจะได้รับแรงกดทับสูงกว่าปกติ ทำให้มีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมได้มากขึ้น
  3. การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป หรือกีฬาที่ใช้แรงปะทะ อาจทำให้หัวเข่ารับน้ำหนักมาก หรือเกิดการยืดหดของเข่าถี่เกินไป เสี่ยงต่อข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน
  4. หมั่นบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง เพื่อช่วยลดภาระของข้อเข่า


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม