degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

เครื่องเลเซอร์กำลังสูง

เทคโนโลยีเลเซอร์เพื่อการรักษา ปวด บวม อักเสบ

เครื่องเลเซอร์กำลังสูง หรือ High Power Laser ; HPL เป็นเครื่องมือให้การรักษาด้วยแสงเลเซอร์กำลังสูง (Laser Class 4) เป็นแสงที่มีความยาวคลื่นเดียว ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มีความยาวคลื่นสม่ำเสมอที่ 980 nm และมีทิศทางแน่นอน สามารถทะลุผ่านผิวหนังและชั้นเนื้อเยื่อลงลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการรักษา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพของเนื้อเยื่อ (Biological effect) ใช้รักษาอาการปวดจากโรคของระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ

ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์สมัยใหม่ สามารถทำงานโดยไม่ก่อให้เกิดความร้อนที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อจนเกินขีดอันตราย แม้ว่าเลเซอร์จะมีกำลังสูง


รูปแสดงแสงเลเซอร์ความยาวคลื่น 980 nanometers


รูปแสดงแสงเลเซอร์ทะลุผ่านผิวหนังและเนื้อเยื่อลงลึก 5-10 ซม.


จุดเด่นของการรักษาด้วยเครื่อง HPL
  1. ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกอุ่นสบายขณะทำการรักษา เนื่องจากการรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง เป็นหัตถการการรักษาที่ไม่รุกล้ำเข้าสู่ร่างกาย ต่างจากการรักษาอาการปวดหรืออักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นบางวิธีที่จะต้องมีการรุกล้ำร่างกายทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บจากการรักษา เช่น การฝังเข็ม และการฉีดยา เป็นต้น
  2. เห็นผลทันทีหลังการรักษา เป็นจุดเด่นของการรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง ผู้ป่วยสามารถรู้สึกได้ถึงความแตกต่างของอาการอักเสบที่จะดีขึ้นทันทีอย่างน้อย 40-50% ภายหลังจากการรักษา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบชนิดเฉียบลัน
  3. การรักษาต่อครั้งใช้เวลาไม่นาน การใช้เครื่องเลเซอร์กำลังสูงจะช่วยย่นระยะเวลาในการรักษาแต่ละครั้ง เหลือเพียง 5-10 นาทีต่อจุดที่มีอาการปวดหรืออักเสบ
  4. แผนการรักษาใช้ระยะเวลาสั้น โดยทั่วไปแล้วอาการปวดหรืออักเสบตามกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ จะใช้เวลาในการรักษาหลายสัปดาห์จนกว่าจะเห็นผลที่ชัดเจนขึ้น แต่การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยลำแสงเลเซอร์จะช่วยให้การฟื้นตัวของเนื้อเยื่อรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการรักษาสั้นกว่ารูปแบบอื่นๆ ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บเฉียบพลันมักเห็นผลตั้งแต่ครั้งแรก ใช้เวลารักษาประมาณ 3–5 ครั้ง ขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรังจะใช้เวลารักษา มากกว่า 5 ครั้งโดยประมาณ
  5. เข้ารับการรักษาได้ทุกระยะ ทั้งกลุ่มเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน ไปจนถึงผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบเรื้อรัง แต่ที่เห็นผลได้ดีและชัดเจนที่สุดคือในกลุ่มเฉียบพลัน ถือเป็นข้อได้เปรียบของเครื่องเลเซอร์กำลังสูงเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ในการรักษาชนิดอื่นที่ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยกลุ่มเฉียบพลันได้

ผู้ป่วยที่เหมาะกับการรักษาด้วยเครื่อง HPL

กลุ่มที่ 1 กลุ่มอาการปวด จากการบาดเจ็บของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น (Musculoskeletal pain) ทั้งระยะเฉียบพลัน และระยะเรื้อรัง เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นข้อไหล่อักเสบ ข้อศอกอักเสบ ข้อมืออักเสบ นิ้วล็อค พังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม ปวดเอว ปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อน บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดปวดในระยะเฉียบพลันได้ดีมาก

<

กลุ่มที่ 2 กลุ่มอาการปวดและชาเส้นประสาท เช่น มือเท้าชาจากปลายประสาทอักเสบหรือเสื่อม เนื่องจากโรคเบาหวาน ผลแทรกซ้อนจากยาเคมีบำบัด โรคหลอดเลือดสมอง เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ (ปากเบี้ยวหน้าเบี้ยวครึ่งซีก) ปวดใบหน้าจากโรคประสาทสมองคู่ที่ 5 หรือโรคงูสวัด เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 กลุ่มโรคที่มีอาการบวม ฟกช้ำ ได้แก่ อาการบวมช้ำจากการบาดเจ็บ เลือดออกใต้ผิว แขนบวมหลังผ่าตัดเต้านม ต่อมน้ำเหลืองอุดตัน และภาวะบวมน้ำเหลือง

กลุ่มที่ 4 แผลจากสาเหตุต่างๆ แผลเบาหวาน แผลกดทับ (ในกรณีผู้ป่วยเป็นแผล แผลนั้นต้องเลือดหยุดไหลแล้วจึงจะสามารถรักษาแผลได้ด้วยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง โดยขณะรักษาจะมีการทำความสะอาดแผลก่อน ซึ่งระยะเวลาในการรักษาสามารถทำได้ทุกวัน เพื่อลดการอักเสบและเพื่อให้เกิดการซ่อมแซมซ่อมสร้างเนื้อเยื่อให้ประสานงานได้เร็วขึ้น)


ข้อควรระวัง & ข้อห้าม ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพก่อนเข้ารับบริการ
  1. ผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน มีปัญหาด้านการรับความรู้สึก มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
  2. ผู้ป่วยมีครรภ์ ห้ามใช้เลเซอร์บริเวณท้องหรือหลัง
  3. ผู้ป่วยที่มีแผลที่ยังมีเลือดไหล
  4. ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ Pacemaker
  5. ผู้ป่วยที่ใช้สเตียรอยด์ปริมาณมาก ผลการรักษาด้วยเลเซอร์จะต่ำลงในระหว่างการรักษา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะใส่อุปกรณ์ แว่นป้องกันแสงเลเซอร์ให้แก่ผู้ป่วยทุกท่าน

สำหรับท่านที่สนใจหรือมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ แผนกกายภาพบำบัด โรงพาบาลขอนแก่นราม

โทร. 043-002-002 ต่อ 7781, 7782 เพื่อรับคำแนะนำและนัดหมายเวลาก่อนเข้ารับบริการ

ยินดีให้คำปรึกษาฟรี

กภ.กุลญาณ์ภาส์ เคนคำภา

กภ.นภิสา ธรานนท์

กภ.สาวิตรี ห่วงรัตน์

กภ.ปณิตา ธรรมนิธิศ

กภ.พิรุณวรรณ สิริวชิรชัย

กภ.ณัฐมล สาตมุณี




© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม