degrees call-center-agent ambulance stethoscope hours-phone-service wifi-connection-signal-symbol drink-water water-heater bowl-in-a-microwave freezer wardrobe computer cutlery table sofa newspaper cd-player television bathroom-furniture toilet patient-in-hospital-bed hospital-bed

ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลขอนแก่น ราม ให้บริการดูแลรักษาโรคและการบาดเจ็บของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ รวมถึงกระดูกแตกหัก ด้วยทางเลือกการรักษาทั้งแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด โดยทีมศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่มีความชำนาญ และเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้การรักษามีความแม่นยำ และปลอดภัย

ภาวะกระดูกผิดปกติแต่กำเนิดในเด็ก

  • เท้าปุก เท้าผิดรูป
  • ขาโก่ง เดินผิดปกติ
  • กระดูกสันหลังผิดรูป กระดูกสันหลังคด

กระดูกสันหลัง ไขสันหลัง และเส้นประสาท

สะโพกและเข่า

  • ข้อเสื่อม หรือข้อถูกทำลายจากโรคต่างๆ เช่น โรครูมาตอยด์ โรคหนังแข็ง
  • ข้อสะบ้าเคลื่อนหรือหลุด
  • เข่าเสื่อม ขาโก่ง ขากาง
  • ข้อสะโพกเสื่อม
  • โรคกระดูกหัวสะโพกตายเนื่องมาจากการขาดเลือดไปเลี้ยง
  • เข่า หรือสะโพกแตกจากอุบัติเหตุ

มือ ข้อมือ แขน ข้อศอก และหัวไหล่

  • หัวไหล่หลุด เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด
  • ข้อต่อหัวไหล่บวมและอักเสบ
  • โพรงฝ่ามือกดทับเส้นประสาท
  • ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ
  • ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ หรือนิ้วล็อค
  • ปวดตามข้อนิ้ว ข้ออักเสบ

เท้าและข้อเท้า

  • นิ้วเท้าเอียง เนื้องอกปมประสาทที่เท้า เท้าผิดรูป
  • เอ็นร้อยหวายอักเสบ เส้นเอ็นอักเสบ
  • กระดูกข้อเท้าเสื่อม
  • ปวดส้นเท้า รองช้ำ กระดูกส้นเท้างอก
  • เจ็บฝ่าเท้า กระดูกเท้าหรือนิ้วเท้าแตกหัก
  • ปัญหาผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณเท้า และส้นเท้า

คลินิกเวชศาสตร์การกีฬา

  • กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้อฉีกขาด
  • เอ็นข้อศอกอักเสบ ข้อไหล่หลุดซ้ำซาก เอ็นหัวไหล่ขาด
  • เอ็นไขว้หน้าข้อเข่าขาด หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด
  • ข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง
  • ให้คำปรึกษาการออกกำลังกายที่เหมาะสม ป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และตรวจเช็คสมรรถภาพร่างกายนักกีฬา

โรคกระดูกพรุน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มวลกระดูกลดลงซึ่งทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่

  • อายุมากขึ้น
  • พันธุกรรม
  • ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น ฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชายที่ลดลงในช่วงวัยทอง ฮอร์โมนไทรอยด์สูง
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วจากโหมออกกำลังกาย หรืออดอาหาร
  • ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟเป็นประจำ
  • ขาดวิตามินดี หรือแคลเซียม
  • ใช้สเตียรอยด์เกินขนาด
  • มีโรคประตัว เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคตับ โรคไต รูมาตอยด์
  • ใส่เฝือก ตัดเฝือก
  • ผ่าตัดรักษาโพรงข้อมือกดรัดเส้นประสาท หรือพังผืดข้อมือกดรัดเส้นประสาท : Carpal Tunnel Syndrome
    1. วิธีที่ 1 ผ่าตัดแบบเปิดแผลบริเวณฝามือ
    2. วิธีที่ 2 ผ่าตัดแบบส่องกล้องแผลเล็ก : Endoscopic Carpal Tunnel Release ; ECTR
  1. เปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน มี 2 แบบ
    • ข้อเข่าเทียมแบบซีกเดียว : Unicompartmental Knee Arthroplasty
    • ข้อเข่าเทียมแบบสองซีก : Bicompartmental Knee Arthroplasty
  2. เปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบเต็มข้อ : Total Knee Replacement ; TKR
  • ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม มี 2 แบบ
    • เปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบบางส่วน : Bipolar Hemiarthroplasty
    • เปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบทั้งหมด : Total Hip Replacement ; THR
  • ตรวจความหนาแน่นของกระดูก : Bone Densitometry เพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
  • รักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยารับประทานหรือยาฉีดบำรุงกระดูก


เบอร์โทร

โทร : 043-002-002 ต่อ 1400, 1404

เวลาทำการ

เปิดบริการ ทุกวัน 8.00-20.00 น.

สถานที่ตั้ง

อาคาร 1 ชั้น G


แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

© 2024 โรงพยาบาลขอนแก่นราม
Terms And Conditions
Linea